ในบททั้ง ๖ ที่กล่าวมา ได้กล่าวถึงเครื่องประกอบกันเข้าเป็นภาษา คือสระและพยัญชนะ และหลักเกณฑ์ กล่าวคือฉันทลักษณ์ของกวีแต่ละประเภทไว้ทั้งหมด เหมือนได้บอกแผนที่ชี้ทิศทางเท่านั้น แต่ยังมิได้แนะนำวิธีการเดินทางให้ถึงจุดหมาย ดังนั้น ในบทนี้ จึงขอแนะนำวิธีการต่าง ๆ จนสามารถดำเนินการได้ ข้อแนะนำทั่วไป…
Category: ตำรากวีนิพนธ์
ลิลิต
ลิลิต เป็นชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับนิราศ โดยแต่งเป็นเรื่องราว กำหนดให้ใช้ร่ายและโคลงแต่งสลับกันไป โดยแยกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑) ลิลิตสุภาพ แต่งร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณนำ แล้วแต่งโคลงสุภาพสลับกันไปตามลำดับ ขึ้นต้นด้วยร่ายและจบลงด้วยโคลง …
กาพย์เห่กล่อมพระบรรทม
กาพย์เห่กล่อมพระบรรทม เป็นกาพย์ที่ใช้ในราชสำนักในสมัยโบราณ เป็นบทกล่อมเพื่อให้เคลิ้มหลับ หากจะนำมาแต่งใช้แบบทั่วไปก็ย่อมได้ เพราะมีการกล่อมลูกหรืออย่างอื่นอยู่โดยทั่วไป แบบเดิมใช้กาพย์ยานีเป็นหลัก แต่ในบางวรรคมีคำขาดบ้างเกินบ้าง นิยมขึ้นต้นด้วยคำว่า เห่เอ๋ย ทุกบทไป แล้วแต่งต่อจนจบ เมื่อจบบทหนึ่ง ขึ้น เห่เอ๋ย แล้วแต่งต่อไปอีกก็ได้…
กาพย์เห่
กาพย์เห่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กาพย์ห่อโคลง” เป็นกาพย์ที่แต่งเพื่อใช้เห่ในงานรื่นเริง เช่น กาพย์เห่เรือ ข้อกำหนด ให้แต่งโคลง ๔ สุภาพเป็นหลัก ๑ บท แล้วแต่งกาพย์ยานี ๑๑ ขยายความต่อไป…
โคลงขับไม้ของเก่า
โคลงขับไม้ของเก่า เป็นของที่ใช้มาเดิม โดยมีหลักดังนี้ ต้องนำโคลง ๔ กระทู้ ๑ คำ แต่งนำ แล้วเอาคำกระทู้ ๔ คำนั้น เป็นวรรคแรกของกาพย์ขับไม้ จะแต่งยาวเท่าใดก็ได้ มิได้กำหนด…
กาพย์ขับไม้ (โคลงห่อกาพย์)
กาพย์ขับไม้ เป็นกาพย์ที่ใช้ขับร้องประสานกับซอและไม้กรับ ซึ่งเป็นดนตรี โดยมีกาพย์ขับไม้คล้ายกาพย์สุรางคนางค์ ๒ บทนำ แล้วต่อด้วยโคลงขับไม้ (โคลง ๔) อีก ๒ บท มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
โคลงห่อกาพย์
โคลงห่อกาพย์ เป็นบทประพันธ์ชนิดผสมผสานระหว่างกาพย์ยานี ๑๑ กับโคลง ๔ สุภาพ โดยกำหนดให้เนื้อความของกาพย์ยานีและโคลงนั้นกลมกลืนกัน แม้ถ้อยคำที่ใช้ก็ให้ลงตัวกัน ใช้ฉันทลักษณ์เดิมของแต่ละอย่าง มีตัวอย่างดังนี้
กาพย์นาคบริพันธ์
กาพย์นาคบริพันธ์ เป็นกาพย์ที่มีสัมผัสเหมือนหางนาคตระหวัด แต่ว่าโดยตรงได้แก่กาพย์ฉบัง ๑๖ ซึ่งเพิ่มสัมผัสเข้าอีก ๑ แห่ง คือ คำที่ ๑-๒ หรือ ๓ แห่งวรรคสุดท้าย คำใดคำหนึ่ง ส่งสัมผัสไปยังคำที่…
บทที่ ๖ ว่าด้วยปกิณณกะ
ในบทนี้ จะกล่าวถึงคำกวีที่หลงเหลืออยู่บางชนิด ซึ่งใช้แบบฉันทลักษณ์ตามของเดิมนั้น หรือเพียงปรุงแต่งใหม่บ้าง กำหนดส่วนประกอบและตั้งชื่อใหม่ เป็นกวีเคยมีแต่โบราณ ไม่รวมเป็นก้อนกลุ่ม จึงเรียกว่า ปกิณณกะ มี ๗ ชนิด คือ กาพย์นาคบริพันธ์ โคลงห่อกาพย์…
สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘
“สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘” ไม่มีในคัมภีร์วุตโตทัย ไม่มีในฉันทศาสตร์ แต่พบมีที่ใช้หลายแห่ง โดยกำหนดดัดแปลงมาจากกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ กำหนดให้มีครุลหุเข้าถือว่าเป็นฉันท์ ฉันท์บทหนึ่งมี ๗ วรรค ๆ ละ ๔ คำ…
วสันตลีลาศฉันท์ ๑๔
“วสันตลีลาศฉันท์ ๑๔” ไม่มีในคัมภีร์วุตโตทัย ไม่มีในฉันทศาสตร์ และยังไม่เคยพบในที่ใด ข้าพเจ้าเห็นว่า เมื่อมีอินทรลีลาศ ๑๑ แทรกในฉันท์ ๑๑ จึงปรับปรุงฉันท์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันให้มีฉันท์ทั้ง ๒ แทรกในฉันท์ ๑๒ และฉันท์…