คำสั่งมหาเถรสมาคม
เรื่อง ให้ภิกษุสามเณรเรียนพระธรรมวินัย
พ.ศ. ๒๕๒๘[1]
———————-
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มหาเถรสมาคมออกคำสั่งมหาเถรสมาคมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ เรียกว่า “ คำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องให้ภิกษุสามเณรเรียนพระธรรมวินัย พ.ศ. ๒๕๒๘”
ข้อ ๒ คำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศให้ภิกษุสามเณรเรียนพระธรรมวินัย ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๑
ข้อ ๔ พระภิกษุมีพรรษายังไม่ถึง ๕ และสามเณรรูปใดที่ยังไม่มีวิทยฐานะเป็นนักธรรมชั้นใดชั้นหนึ่ง ให้เจ้าอาวาสกวดขันให้เรียนพระธรรมวินัย หรือเข้ารับการอบรมพระธรรมวินัยทุกรูป ถ้าภิกษุสามเณรรูปใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส หรือประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวส มีความผิดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
อนึ่ง ถ้าและเจ้าอาวาสรูปใดไม่กวดขันภิกษุสามเณรในวัดของตนย่อมมีความผิดฐานละเลยต่อหน้าที่
ข้อ ๕ ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสและเจ้าคณะเจ้าสังกัดทุกระดับจนถึงระดับจั้งหวัดร่วมกันจัดการโดยความอำนวยการของเจ้าคณะภาคเจ้าคณะสังกัด จัดให้มีการเล่าเรียนหรือการอบรมพระธรรมวินัย ในเขตตำบลทางปกครองคณะสงฆ์นั้น ๆ ในรูปแบบ ดังนี้
ก. วัดใดในเขตตำบลนั้น พอจัดตั้งโรงเรียนนักธรรมได้ ก็ให้จัดตั้งขึ้นและให้ภิกษุสามเณรในวัดอื่นมารวมเรียนด้วย
ข. ถ้าภิกษุสามเณรในเขตตำบลนั้น ไม่สามารถจะมาร่วมเรียนได้เพราะมีเหตุขัดข้องหลายประการก็ดี
วัดแต่ละวัดในเขตตำบลนั้นไม่อาจตั้นโรงเรียนนักธรรมได้ก็ดี ต้องจัดให้มีการอบรมพระธพรรมวินัย อนุโลมตามหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี
ข้อ ๖ การอบรมพระธรมวินัยตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๕ ข. ให้ดำเนินการดังนี้
ก. วัดใดอันท่านเจ้าอาวาสให้ความรับรองว่าจะจัดให้มีการอบรมพระธรรมวินัยให้แก่ภิกษุสามเณรในเขตเข้าพรรษา โดยเจ้าอาวาสจะเป็นผู้อบรมเอง หรือจะมอบหมายให้พระภิกษุรูปอื่นอบรมแทน ให้ถือว่าวัดนั้นมีการอบรมพระธรรมวินัยแล้ว หากภิกษุสามเณรในวัดอื่นจะมาร่วมรับการอบรมด้วยก็ได้ โดยความเห็นชอบของเจ้าอาวาสวัดนั้น
ข. ในเขตตำบลทางปกครองคณะสงฆ์ใด ไม่อาจตั้งบโรงเรียนนักธรรม หรือจัดให้มีการอบรมเฉพะวัดได้ ให้เจ้าอาวาสวัดในเขตตำบลนั้น พร้อมด้วยเจ้าคณะเจ้าสังฆ์กัดถึงระดับจังหวัด จัดให้มีการอบรมพระธรรมวินัยเฉพาะกิจขึ้นในเขตเข้าพรรษา โดยจัดรวมภิกษุสามเณรในวัดนั้นๆ ให้เข้ารับการอบรมร่วมกัน ณ วัดใดวัดหนึ่งที่เห็นสมควร และต้องมีจำนวนรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๕ รูป ในการอบรมนั้นให้อบรมในวันโกนวันพระหรือวันธรรมสวนะ เว้นวันปาฏิโมกข์ วันละ ๓ ชั่วโมง ให้เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล และเจ้าคณะอำเภอ ร่วมกันจัดให้มีกาอบรมพระธรรมวินัย อนุโลมตามหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี
ข้อ ๗ การอบรมพระธรรมวินัยตามข้อ ๖ ข. ทางคณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคมจะให้ความอุปถัภ์แก่ผู้ให้การอบรม คิดเป็นรายวันที่มีการอบรมเป็นกัปปิยภัณฑ์มูลค่าวันละ ๖๐ บาท
ข้อ ๘ ให้มีการทดสอบความรู้ในแบบตอบปัญหาที่เคยเรียกกันว่าสอบนวกะ อนุโลมตามหลักการสอบไล่นักธรรมสนามหลวง จะจัดให้มีการรวมที่จังหวัดแห่งเดียว หรือจะจัดแบ่งแต่ละอำเภอ แต่ละตำบล ให้เจ้าอาวาสเจ้าคณะผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้จะตกลงกัน แต่ถ้าจะแบ่งสอบแต่ละแห่ง ต้องมีผู้สมัครเข้าสอบไม่น้อยกว่า ๒๐ รูป
สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร จะแบ่งสอบแต่ละสำนักเรียน ก็ย่อมกระทำได้ โดยไม่กำหนดจำนวนผู้สมัครสอบ
ข้อ ๙ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภุมิภาค ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นผู้ออกข้อสอบ ส่วนการตรวจใบตอบของนักเรียน เจ้าคณะจังหวัดเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัดร่วมกันจัดการตรวจ อนุโลมตามแบบตรวจนักธรรมสนามหลวง
สำหรับนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร การออกข้อสอบก็ดี เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร หรือเจ้าสำนักเรียนนั้นๆ จะเป็นผู้ดำเนินการสุดแต่จะตกลงกัน
ข้อ ๑๐ ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัด ที่จะออกวุฒิบัตรให้แก่ภิกษุสามเณรผู้เข้าสอบไล่ได้ตามคำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ ส่วนในเขตกรุงเทพมหานคร จะเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร หรืเจ้าสำนักเรียนนั้นๆ สุดแต่จะตกลงกัน
ข้อ ๑๑ ให้เจ้าอาวาสและเจ้าคณะทุกระดับ จะพึงร่วมกันปฏิบัติภารกิจอันเป็นหน้าที่ตามที่กำหนอไว้ในคั่งมหาเถรสมาคมนี้ ให้สำเร็จไปด้วยดี หากมีปัญหาเกิดขึ้นในการที่จะปฏิบัติตามคำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ให้เจ้าคณะภาคเจ้าสั่งกัด หรือเจ้าคณะกรุงวเทพมหานคร เสนอเรื่องไปยังมหาเถรสมาคมผ่านสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม.
สั่ง ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์
(สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ประธานธรรมกรรมการมหาเถรสมาคม
[1] ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๕ : ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๘