หมวด ๑ วิธีปฏิบัติเบื้องต้น

หมวด ๑

วิธีปฏิบัติเบื้องต้น

———————

     ในหมวดนี้ กำหนดหลัก ๔ ประเด็นคือ

     ๑. ผู้ปฏิบัติในเบื้องต้น

     ๒. วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีโจทก์ฟ้องพระภิกษุ

     ๓. วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีผู้กล่าวหาพระภิกษุ

     ๔. วิธีปฏิบัติในกรณีที่พบเห็นพฤติการณ์หรือความผิด

๑. ผู้ปฏิบัติในเบื้องต้น

     ผู้มีอำนาจปฏิบัติในเบื้องต้น คือ.-

     (๑) ผู้พิจารณาเจ้าสังกัด

     (๒) ผู้พิจารณาเจ้าของเขต

๒. วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีโจทก์ฟ้องพระภิกษุ

     วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีโจทก์ฟ้องพระภิกษุนี้ มีหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติดังนี้.-

     ๑. ผู้มีสิทธิ์เป็นโจทก์.-ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้เสียหาย

     ๒. ผู้รับคำฟ้อง.-พระภิกษุผู้พิจารณา

     ๓. การยื่นคำฟ้อง.-ยื่นเป็นหนังสือ ถ้าจำเป็นมอบอำนาจให้คนอื่นยื่นแทนได้

     ๔. การรับคำฟ้อง.-ลงทะเบียนและออกใบรับหนังสือ แล้ว

          (๑) ตรวจลักษณะโจทก์

          (๒) ตรวจลักษณะคำฟ้อง

     ๕. การไม่รับคำฟ้อง.-

          (๑) ลักษณะโจทก์หรือคำฟ้องบกพร่อง

          (๒) บันทึกต่อท้ายแล้วแจ้งโจทก์

     ๖. ก่อนรับหรือไม่รับ.-เรียกโจทก์มาชี้แจงก่อนได้

     ๗. การปฏิบัติเมื่อรับแล้ว

          (๑)  ขั้นต้น.-ให้จำเลยมาชี้แจงสอบถามรายละเอียด จดบัทึกคำให้การและให้ลงชื่อไว้ด้วย

          (๒) ขั้นกลาง.-การปฏิบัติเมื่อจำเลยสารภาพหรือในกรณีความแพ่ง

                (ก) ถ้ารับสารภาพสมตามคำฟ้องสั่งของนิคหกรรมได้ แม้รับสารภาพเกินกว่าคำฟ้องก็อาจสั่งลงได้

                (ข) ถ้าเป็นความแพ่ง ควรชี้แนะเพื่อประนีประนอมกัน

           (๓) ขั้นสุดท้าย.-การปฏิบัติเมื่อจำเลยภาคเสธหรือปฏิเสธ

                 (ก) ส่งคำฟ้องพร้อมเอกสารประกอบต่อหัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้น

                 (ข) ต้องส่งผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

     ๘. การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้อง

          (๑)  หน้าที่โจทก์ ยื่นคำอุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน

          (๒)  หน้าที่ผู้ออกคำสั่งส่งคำอุทธรณ์พร้อมเรื่องเติมให้หัวหน้าคณะผู้พิจารณา ภายใน ๑๕ วัน

          (๓)  หน้าที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้น

                 (ก) วินิจฉัยให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน

                 (ข) ให้แจ้งแก่ผู้ออกคำสั่งเพื่อแจ้งแก่โจทก์ภายใน ๑๕ วัน

          (๔)  ผลการวินิจฉัยการอุทธรณ์

                 (ก) ผลต่อเนื่องเพราะให้รับคำฟ้องให้ผู้พิจารณารับคำฟ้องไว้ดำเนินการตามข้อ ๑๓

                 (ข)  ผลยุติเพราะไม่รับคำฟ้อง ให้ผู้พิจารณาสั่งจำหน่ายเรื่องเสีย

๓. วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีผู้กล่าวหาพระภิกษุ

     วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีผู้กล่าวหาพระภิกษุนั้น มี หลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้.-

     ๑. ผู้มีสิทธิกล่าวหา

           (๑)  พระภิกษุปกตัตตะและสามเณร

           (๒)  คฤหัสถ์ผู้นับถือพระพุทธศาสนา

     ๒. การยื่นคำกล่าวหา.-ให้ยื่นเป็นหนังสือ ให้ผู้อื่นยื่นแทนมิได้

     ๓. การรับคำกล่าวหา.- รับเข้าทะเบียนและออกใบรับ แล้ว

           (ก)  ตรวจลักษณะของผู้กล่าวหา

           (ข)  ตรวจลักษณะคำกล่าวหา

     ๔. การปฏิบัติเมื่อรับแล้ว

        – ปฏิบัติตามข้อ ๑๓ โดยแบ่งเป็น ๓ ขั้นดังในกรณีที่มีโจทก์ฟ้อง

     ๕. การไม่รับ

           (๑)  ถ้าเป็นลหุกาบัติ สั่งเองในทันที

           (๒)  ถ้าเป็นครุกาบัติ ขอความเห็นชอบจากคณะผู้พิจารณาชั้นต้นก่อนจึงสั่งได้

     ๖. ก่อนรับหรือไม่รับ.- ให้เรียกผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจงก่อนได้

๔. วิธีปฏิบัติในกรณีพบเห็นพฤติการณ์หรือความผิด

     ๑. ในกรณีที่ผู้พบเห็นไม่มีอำนาจ

           (๑)  การแจ้งความผิด

                (ก) ให้แจ้งเป็นหนังสือ

                (ข)  ให้แจ้งต่อผู้พิจารณา

           (๒)  การรับแจ้งความผิด.-รับเข้าทะเบียนแล้วตรวจลักษณะผู้แจ้งความผิด

           (๓)  การดำเนินการ

                (ก) ขั้นต้น.- ให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงรายละเอียด

                (ข) ขั้นกลาง.- การปฏิบัติเมื่อรับสารภาพหรือกรณีมีความแพ่ง เช่นกับกรณีที่มีโจทก์ฟ้อง

                (ค) ขั้นสุดท้าย.-การปฏิบัติเมื่อภาคเสธหรือปฏิเสธ เช่นกับกรณีที่มีโจทก์ฟ้อง

     ๒.กรณีที่ผู้พบเห็นมีอำนาจลงนิคหกรรม

           (๑)  เมื่อพบเห็นพฤติการณ์อันเป็นที่น่ารังเกียจสงสัย

                (ก) ขั้นต้น.- บันทึกพฤติการข้อเท็จจริง และอื่น ๆ แล้วให้พระภิกษุผู้ต้องสงสัยชี้แจง จดบันทึกคำให้การและให้ลงชื่อไว้

                (ข)  ขั้นกลาง.- การปฏิบัติเมื่อรับสารภาพหรือกรณีความแพ่ง ดังเช่นในกรณีที่มีโจทก์ฟ้อง

                (ค) ขั้นสุดท้าย.- การปฏิบัติเมื่อภาคเสธหรือปฏิเสธ ดังเช่นในกรณีที่มีโจทก์ฟ้อง

           (๒)  เมื่อพบเห็นการกระทำความผิดโดยประจักษ์ชัด

                (ก) ให้อำนาจปฏิบัติการโดยเด็ดขาด

                (ข)  ให้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาเฉพาะสั่งลงนิคหกรรมฐานครุกาบัติ