
วิทยาพระสังฆาธิการ เป็นชื่อที่เรียกใหม่ แต่เดิมเรียกว่า การพัฒนาพระสังฆาธิการ เพราะเกิดมีขึ้นเพราะโครงการพัฒนาพระสังฆาธิการชั้นเจ้าคณะในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑๐ ซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ โดยจัดพิมพ์เป็น ๒ ภาค ภาค ๑ เป็นบทบัญญัติ ซึ่งจัดรวมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และบทบัญญัติอื่นไว้ในภาคเดียวกัน ภาค ๒ เรียกว่าภาคปฏิบัติการ ซึ่งรวมข้อแนะนำเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา พร้อมทั้งให้แนวปฏิบัติงานคณะสงฆ์ และตัวอย่างวิธีการปฏิบัติจริง
ต่อมา ได้เตรียมการแยกภาค ๑ และภาค ๒ จากกัน เพื่อจะจัดพิมพ์เป็น ๒ เล่ม โดยแยกเรื่องพระราชบัญญัติและบทบัญญัติอื่นไว้เป็นภาค ๑ และรวมข้อแนะนำเกี่ยวกับการคณะสงฆ์และวิธีปฏิบัติงานไว้เป็นภาค ๒ เฉพาะภาค ๒ นั้น ได้จัดพิมพ์ต่อมาหลายครั้ง และในภาคปฏิบัติการนี้ แยกตามลักษณะของเรื่องเป็น ๖ บท คือ
บทที่ ๑ ว่าด้วยองค์กรปกครองคณะสงฆ์
บทที่ ๒ ว่าด้วยพระสังฆาธิการ
บทที่ ๓ ว่าด้วยเลขานุการ
บทที่ ๔ ว่าด้วยงารสารบรรณ
บทที่ ๕ ว่าด้วยการประชุม
บทที่ ๖ ว่าด้วยการดำเนินกิจการคณะสงฆ์
ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ นี้ ได้เตรียมปรับปรุงเพื่อจัดพิมพ์ใหม่ แต่ระยะเวลากระชั้นชิด จึงเพิ่มเข้าเพียงบางอย่าง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนเรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาพระสังฆาธิการ เล่ม ๒” และจัดพิมพ์คู่กันกับเล่ม ๑ ส่วนเล่ม ๑ ได้เพิ่มบทบัญญัติต่าง ๆ มากอยู่ และเล่ม ๒ นี้ หากได้จัดพิมพ์ครั้งต่อไป จะเรียบเรียงวิธีการปฏิบัติงานคณะสงฆ์อื่น ๆ เข้าอีก
พระพรหมกวี (วรวิทย์)
ผู้รวบรวมและเรียบเรียง
สารบัญ
- ส่วนที่ ๑ องค์กรปกครองคณะสงฆ์ ตามพระราชบัญญัติ ร.ศ.๑๒๑
- ส่วนที่ ๒ องค์กรปกครองคณะสงฆ์ ตามพระราชบัญญัติ ฯ พุทธศักราช ๒๔๘๔
- ส่วนที่ ๓ องค์กรปกครองคณะสงฆ์ ตามพระราชบัญญัติ ฯ พ.ศ. ๒๕๐๕
- ส่วนที่ ๔ ความแตกต่าง แห่งองค์กรปกครองคณะสงฆ์
- ส่วนที่ ๕ อำนาจหน้าที่ ในองค์กรปกครองคณะสงฆ์
- ส่วนที่ ๖ การคณะสงฆ์
- ส่วนที่ ๗ สำนักงานเจ้าคณะ
- ส่วนที่ ๑ พระคณาธิการ
- ส่วนที่ ๒ พระสังฆาธิการ
- ส่วนที่ ๓ ความต่างแห่ง พระคณาธิการกับพระสังฆาธิการ
- ส่วนที่ ๔ คุณสมบัติพระสังฆาธิการ
- ส่วนที่ ๕ จริยาพระสังฆาธิการ
- ส่วนที่ ๑ ประเภทแห่งเลขานุการ
- ส่วนที่ ๒ คุณสมบัติของเลขานุการ
- ส่วนที่ ๓ หน้าที่ของเลขานุการ
- ส่วนที่ ๔ ประเภทวิชาเลขานุการ
- ส่วนที่ ๕ สำนักงานเจ้าคณะกับเลขานุการเจ้าคณะ
- ส่วนที่ ๖ ผู้บัญชาการ – ศูนย์รวมงาน และผู้ปกครอง
- ส่วนที่ ๑ หนังสือราชการ
- ส่วนที่ ๒ หนังสือราชการลับกับหนังสือราชการด่วน
- ส่วนที่ ๓ การปฏิบัติงานสารบรรณ
- ส่วนที่ ๔ ข้อควรศึกษาเกี่ยวกับงานสารบรรณ
- ส่วนที่ ๕ แบบหนังสือราชการ
- ส่วนที่ ๑ ลักษณะและวัตถุประสงค์
- ส่วนที่ ๒ องค์ประชุม
- ส่วนที่ ๓ การเตรียมการและวิธีการประชุม
- ส่วนที่ ๔ เอกสารการประชุม
- ส่วนที่ ๕ ศัพท์ที่ใช้เฉพาะในการประชุม
- ส่วนที่ ๖ แบบเกี่ยวกับการประชุม
บทที่ ๖ การดำเนินกิจการคณะสงฆ์
- ส่วนที่ ๑ เขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง
- ส่วนที่ ๒ เขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
- ส่วนที่ ๓ การแต่งตั้งผู้ปกครองคณะสงฆ์
- ส่วนที่ ๔ การแต่งตั้งผู้ปกครองวัด
- ส่วนที่ ๕ การพ้นจากตำแหน่ง พระสังฆาธิการและไวยาวัจกร
- ตอนที่ ๑ วิธีขอลาออกจากตำแหน่ง
- ตอนที่ ๒ วิธียกพระสังฆาธิการเป็นกิตติมศักดิ์
- ตอนที่ ๓ วิธีให้พระสังฆาธิการ ออกจากตำแหน่งหน้าที่
- ตอนที่ ๔ วิธีถอดถอนพระสังฆาธิการ
- ตอนที่ ๕ วิธีให้พระสังฆาธิการพัก และปลดจากตำแหน่งหน้าที่
- ตอนที่ ๖ วิธีตำหนิโทษและภาคทัณฑ์
- ตอนที่ ๗ วิธีร้องทุกข์
- ตอนที่ ๘ วิธีทัดทานคำสั่ง
- ตอนที่ ๙ วิธีให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดราษฎร์พ้นจากหน้าที่
- ตอนที่ ๑๐ วิธีให้เลขานุการเจ้าคณะ และเลขานุการรองเจ้าคณะพ้นจากหน้าที่
- ตอนที่ ๑๑ วิธีให้ไวยาวัจกรพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
- ส่วนที่ ๖ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ และส่งมอบงาน
- ส่วนที่ ๗ งานในหน้าที่พระอุปัชฌาย์ และงานทะเบียน
- ตอนที่ ๑ วิธีปฏิบัติก่อนให้บรรพชาอุปสมบท
- ตอนที่ ๒ วิธีนับอายุอุปสัมปทาเปกข์
- ตอนที่ ๓ วิธีตั้งฉายาอุปสัมปทาเปกข์
- ตอนที่ ๔ วิธีออกหนังสือสุทธิ
- ตอนที่ ๕ วิธีออกหนังสือสุทธิแทนหนังสือสุทธิเดิม
- ตอนที่ ๖ วิธีฝากสัทธิวิหาริกเข้าอยู่วัดอื่น
- ตอนที่ ๗ วิธีทำและส่งบัญชีสัทธิวิหาริก
- ตอนที่ ๘ วิธีทำทะเบียนสัทธิวิหาริก
- ตอนที่ ๙ วิธีทำทะเบียนพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด
- ส่วนที่ ๘ วิธีควบคุมและส่งเสริมการวัด
- ส่วนที่ ๙ การจัดศาสนสมบัติของวัด
- ส่วนที่ ๑๐ สมณศักดิ์