ส่วนที่ ๑ หลักทั่วไป

ส่วนที่ ๑

หลักทั่วไป

——————-

     ในส่วนนี้ มีหลักสำคัญ ๔ ประเด็น คือ.-

     ๑. การพิจาณาวินิจฉัยการลงนิคกรรม

     ๒. คณะผู้พิจารณาชั้นต้น

     ๓. คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์

     ๔. คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกา

๑. การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม

     ในข้อ ๒๓ กำหนดฐานแห่งอำนาจตุลาการทางคณะสงฆ์ เช่นเดียวกับศาลยุติธรรมทางราชอาณาจักร โดยบัญญัติศัพท์ว่า “การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคกรรม” จำแนกเป็น ๓ ชั้น คือ.-

     ๑. ชั้นต้น

     ๒. ชั้นอุทธรณ์

     ๓. ชั้นฎีกา

๒. คณะผู้พิจาณาชั้นต้น

     ในข้อ ๒๔ กำหนดผู้ใช้อำนาจตุลาการชั้นต้น โดยบัญญัตินามตำแหน่งว่า “คณะผู้พิจารณาชั้นต้น” ซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์คณะละ ๓ ตำแหน่งซึ่งผู้มีตำแหน่งสูงเป็นหัวหน้า จัดเป็น ๗ อันดับ ดังได้กล่าวในข้อ ๗ แห่งลักษณะ ๒ (ดูผังหน้าถัดไปประกอบ)

๓. คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์

     ในข้อ ๒๕ กำหนดผู้ใช้อำนาจตุลาการชั้นอุทธรณ์โดยบัญญัตินามตำแหน่งว่า “คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์” ประกอบด้วยพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์เจ้าสังกัด อันดับละ ๓ ตำแหน่ง ซึ่งผู้มีตำแหน่งสูงเป็นหัวหน้า จัดเป็น ๔ อันดับ คือ.-

     ๑. คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ อันดับ ๑

           (๑) เจ้าคณะภาค เป็นหัวหน้าคณะ

           (๒) เจ้าคณะจังหวัด

           (๓) รองเจ้าคณะจังหวัด

มีอำนจพิจารณาวินิจฉัยคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของชั้นต้น อันดับ ๑-๒

     ๒. คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ อันดับ ๒

           (๑) เจ้าคณะใหญ่ เป็นหัวหน้าคณะ

           (๒) เจ้าคณะภาค

           (๓) รองเจ้าคณะภาค

มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำสั่งหรือคำวิฉัยของชั้นต้น อันดับ ๓

     ๓. คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ อันดับ ๓

           (๑) เจ้าคณะใหญ่ เป็นหัวหน้าคณะ

           (๒) เจ้าคณะภาคในหนนั้น ๒ รูป (ซึ่งเจ้าคณะใหญ่คัดเลือก

มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของชั้นต้น อันดับ ๔

     ๔. คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ อันดับ  ๔  คือ มหาเถรสมาคม

มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำสั่งหรอคำวินิจฉัยของชั้นต้น อันดับ ๕

๔. คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกา

     ในข้อ ๒๖ กำหนดให้มหาเถรสมาคมเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการในชั้นฎีกา

     ในข้อ ๒๗ เป็นบทบัญญัติให้อำนาจมหาเถรสมาคมใช้อำนาจตุลาการในอันดับสูงสุดทุกกรณี โดยบัญญัติว่า “คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม ในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ไม่ว่าในกรณีใด ได้เป็นอันถึงที่สุด”

     หมายความว่า มหาเถรสมาคมจะมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยในชั้นต้น หรือในชั้นอุทธรณ์ ก็มีผลบังคับเช่นเดียวกับในชั้นฎีกา