ส่วนที่ ๒
วิธีพิจารณาวินิจฉัย
การลงนิคหกรรมชั้นต้น
————————
อันวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคกรรมชั้นต้น เป็นวิธีที่พระสังฆาธิการทุกระดับ จะต้องศึกษาโดยละเอียด จึงกำหนดถวายความรู้เป็น ๗ ประเด็น คือ.-
๑. ผู้มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชั้นต้น
๒. กรณีที่ต้องแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์
๓. หลักปฏิบัติในการพิจารณาวินิจฉัยชั้นต้น
๔. การปฏิบัติเกี่ยวกับพยานหลักฐาน
๕. การปฏิบัติเมื่อมีอุปสรรค
๖. การพิจารณาวินิจฉัยชั้นต้น
๗. คำวินิจฉัยชั้นต้น
๑. ผู้มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชั้นต้น
คณะผู้พิจารณาชั้นต้น ดังกล่าวในหลักทั่วไปหรือในลักษณะ ๒ ซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครองสงฆ์ ๓ ตำแหน่ง มี ๗ อันดับ คือ.-
(๑) อันดับ ๑. – เจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัดเป็นหัวหน้าคณะ
(๒) อันดับ ๒. – เจ้าคณะอำเภอเป็นหัวหน้าคณะ
(๓) อันดับ ๓. – เจ้าคณะจังหวัดเป็นหัวหน้าคณะ
(๔) อันดับ ๔. – เจ้าคณะภาคเป็นหัวหน้าคณะ
(๕) อันดับ ๕. – เจ้าคณะใหญ่เป็นหัวหน้าคณะ
(๖) อันดับ ๖. – ๗. เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม
ทั้ง ๗ อันดับนี้ เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น
๒. กรณีที่ต้องแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์
ในบางกรณีต้องแต่งตั้งพระภิกษุ ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์ก่อน จึงดำเนินการได้เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีโจทก์มาแต่เดิม ตามข้อ ๒๘ กำหนดไว้ ๓ กรณี คือ.-
(๑) กรณีที่มีผู้กล่าวหาตามความในข้อ ๑๕ (๑)
(๒) กรณีที่มีผู้แจ้งความผิดตามความในข้อ ๑๖ (๑)
(๓) กรณีตามความในข้อ ๑๖ (๒) ก.
เมื่อแต่งตั้งโจทก์แทนสงฆ์แล้ว ให้ส่งสำเนาเอกสารเกี่ยวกับกรณีให้แก่ผู้ได้รับแต่งตั้ง เพื่อให้ดำเนินการได้
๓. หลักปฏิบัติในการพิจารณาวินิจฉัยชั้นต้น
การปฏิบัติในการพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมชั้นต้น ถือเป็นการปฏิบัติชั้นสำคัญ ต้องปฏิบัติโดยยึดหลัก ๒ ประการคือ.-
๑. ให้ทำในที่พร้อมหน้าโจทก์จำเลย
๒. ให้ทำเป็นการลับ
๑. ให้ทำในที่พร้อมหน้าโจทก์จำเลยนั้น.- ตามข้อ ๒๙ บังคับไว้ชัด โดยความคือสัมมุขาวินัย แต่เพื่อให้ความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ในเมื่อคู่กรณีไม่มาฟังการพิจารณา ได้กำหนดยกเว้นพิเศษใน ๓ กรณี คือ.-
(๑) มิได้แจ้งข้อขัดข้องเป็นหนังสือ
(๒) แจ้งข้อขัดข้อง แต่มิได้รับอนุญาต
(๓) มาแต่ก่อความไม่สงบขึ้น ถูกสั่งให้ออกไป
ในกรณีเช่นนี้ ให้ทำในที่ลับหน้าโจทก์จำเลยได้
๒. ให้ทำเป็นการลับนั้น.- ตามบัญญัติข้อ ๓๐ ห้ามมิให้ทำโดยเปิดเผย เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญต่อความมั่งคงแห่งพระพุทธศาสนา ได้กำหนดให้บุคคลให้บุคคลอยู่ในที่พิจารณาได้เฉพาะ
(๑) โจทก์จำเลย
(๒) พยานเฉพาะที่กำลังให้การ
(๓) ผู้ที่ได้รับเชิญมาเพื่อปฏิบัติการใด ๆ เกี่ยวกับการพิจารณา
(๔) พระภิกษุผู้จดบันทึกถ้อยคำสำนวน
เพื่อการนี้ให้คณะผู้พิจารณามีอำนาจพิเศษ
(๑) สั่งโจทก์หรือจำเลยหรือทั้งสองให้อยู่ในความสงบหรือให้ออกไปจากที่พิจารณา
(๒) ขออารักขาเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักร
๔. การปฏิบัติเกี่ยวกับพยานหลักฐาน
พยานหลักฐานเป็นส่วนประกอบรูปกรณีอันสำคัญ เพราะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย และเป็นมูลเหตุให้ได้รับความถูกต้องชอบธรรม บทบัญญัติในกฎนี้ พอจัดเป็นประเด็นได้ ๔ คือ.-
๑. การให้รวบรวมพยานหลักฐาน
๒. ลำดับสืบพยาน
๓. วิธีสืบพยาน
๔. การสืบพยานในกรณีพิเศษ
๑. การให้รวบรวมพยานหลักฐานนั้น บทบัญญัติข้อ ๓๑ กำหนดให้รวบรวมพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลย และฝ่ายที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นนำมาสืบ เป็นหลักฐานพิจารณาวินิจฉัย และให้อำนาจพิเศษไว้เพื่อการนี้ ๗ ประการ
(๑) แจ้งกำหนดพิจารณา
(๒) ออกหนังสือเรียกพยานบุคคลและบุคคลใด ๆ
(๓) ออกหนังสือเรียกพยานเอกสารหรือวัตถุสิ่งของ
(๔) ตรวจตัวผู้เสียหายและจำเลย ตรวจสถานที่วัตถุสิ่งของหรือสิ่งอื่นใด
(๕) แจ้งให้รวบรวมข้อเท็จจริง พยานหลักฐานหรือพฤติการณ์ในเขตอื่น
(๖) การทำบันทึกถ้อยคำสำนวน
(๗) การทำรายงานแต่ละครั้งรวมไว้ในสำนวน
ข้อพิเศษ
(๑) ถ้ามีเหตุสุดวิสัยเพียง ๒ รูป ก็ให้พิจารณาได้ แต่มิให้วินิจฉัย
(๒) ใน (๒) (๓) และ (๔) ขอเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรร่วมดำเนินการด้วยได้
๒. ลำดับการสืบพยานนั้น ตามความในข้อ ๓๒ กำหนดไว้ดังนี้.-
(๑) ให้สืบพยานโจทก์ก่อนพยานจำเลย
(๒) การระบุพยาน ให้คู่กรณีระบุบัญชีพยานก่อนวันนัดสืบพยาน ๑๕ วัน
(๑) การขอระบุพยานเพิ่ม
(๒) การงดสืบพยาน
(๓) การสืบพยานเพิ่มเติม
๓. วิธีสืบพยานนั้น ตามความในข้อ ๓๓ มีข้อควรทราบ คือ.-
(๑) ความหมายแห่งถ้อยคำพิเศษ (ซักถาม,ซักค้าน,ถามติง,)
(๒) ลำดับแห่งการใช้ถ้อยคำพิเศษ
(๓) วิธีสืบพยานแต่ละฝ่าย
(ก) ฝ่ายโจทก์
(ข) ฝ่ายจำเลย
(ค) ฝ่ายที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นนำมาสืบ
(๔) ข้อห้ามในการสืบพยาน
(ก) มิให้ถามนำให้พยานฝ่ายตนตอบ
(ข) มิให้ถามหมิ่นประมาทพยานหรือถามที่อาจทำให้พยานถูกฟ้อง
๔. การสืบพยานในกรณีพิเศษนั้น ตามความในข้อ ๓๔ กำหนดประเด็นได้ ๒ คือ.-
(๑) วิธีเดินเผชิญสืบ
– หมายถึงการยกคณะผู้พิจารณาชั้นต้นไปสืบ ณ ที่อื่นในเขตอำนาจของตน
– วิธีสืบพยานคงปฏิบัติตามปกติ
(๒) วิธีส่งประเด็นไปสืบ.-คือการส่งประเด็นไปให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นในเขตอื่นช่วยสืบให้ ได้กำหนดวิธีปฏิบัติดังนี้.-
(ก) การส่งเอกสาร ส่งเท่าที่จำเป็น
(ข) การแจ้งแก่โจทก์จำเลย
(ค) การไปฟังการสืบพยานของคู่กรณี
(ง) อำนาจและการปฏิบัติของผู้รับประเด็น
๕. การปฏิบัติเมื่อมีอุปสรรค
บทบัญญัติข้อ ๓๕ กำหนดไว้ ๗ ประการ คือ.-
๑. มีการฟ้องซ้อนในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอไว้จนกว่าศาลจะตัดสิน
๒. จำเลยเสียสุขภาพทางจิต รอจนกว่าจะหาย
๓. จำเลยมรณภาพ ให้เรื่องถึงที่สุด
๔. จำเลยพ้นจากความเป็นพระภิกษุ ถ้าฟ้องครุกาบัติให้ดำเนินต่อไปจนถึงที่สุด
๕. โจทก์ขอถอนเรื่อง ถ้าฟ้องครุกาบัติไม่ยุติการพิจารณา
๖. โจทก์ไม่มาตามนัดหมายให้ยุติการพิจารณาได้ เว้นแต่โจทก์จะชี้แจงข้อขัดข้องภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันสั่ง
๗. โจทก์เสียชีวิต ให้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นโจทก์แทน
ใน ๕. และ ๖. มีเงื่อนไข
(๑) ไม่ตัดสิทธิของโจทก์อื่นที่จะฟ้องเรื่องนั้น
(๒) ไม่ตัดสิทธิของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นที่จะดำเนินการต่อไป
๖. การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม
การพิจารณาวินิจฉัยนั้น พอกำหนดได้ ๒ คือ.-
๑. ให้วินิจฉัยสองสถาน
๒. ให้อำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรม
๑. ให้วินิจฉัยสองสถานนั้น ตามความในข้อ ๓๖ กำหนดให้ผู้พิจารณาชั้นต้นวินิจฉัยอย่างหนึ่ง คือ.-
(๑) ให้วินิจฉัย “ยกฟ้องของโจทก์” เพราะปรากฎว่า
(ก) จำเลยมิได้กระทำความผิด
(ข) การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
(ค) มีเหตุผลที่จำเลยไม่ต้องรับนิคหกรรม
(๒) ให้วินิจฉัย “ลงโทษจำเลย” เพราะปรากฎว่า
(ก) จำเลยได้กระทำความผิด
(ข) การกระทำของจำเลยเป็นความผิด
(ค) ไม่มีข้อยกเว้นโทษใด ๆ
๒. ให้อำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมนั้น ตามบทบัญญัติ ข้อ ๓๗ กำหนดให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมเป็น ๒ ลักษณะ คือ.-
(๑) วินิจฉัยการลงนิคหกรรมตามคำฟ้อง
(๒) วินิจฉัยการลงนิคหกรรมต่างจากคำฟ้องโดยให้วินิจฉัย
(ก) ตามสมควรแก่กรณี
(ข) ตามสิกขาบทที่ถูกต้อง
(ค) ตามความผิดนั้น
๗. คำวินิจฉัยชั้นต้น
การวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้กระทำต่อเมื่อได้ดำเนินการจนได้ข้อเท็จจริงแล้ว จึงทำการวินิจฉัยโดยยึดหลัก
(๑) การทำคำวินิจฉัย
(๒) การอ่านคำวินิจฉัย
(๓) คำวินิจฉัยถึงที่สุด
๑. การทำความวินิจฉัยนั้น ตามข้อ ๓๘ กำหนดข้อความสำคัญ ๑๑ อย่างคือ.-
(๑) ชั้นของคำวินิจฉัย
(๒) สถานที่วินิจฉัย
(๓) วัน เดือน ปี ที่วินิจฉัย
(๔) กรณีระหว่างผู้ใดเป็นโจทก์ผู้ใดเป็นจำเลย
(๕) เรื่องที่ยกขึ้นฟ้อง
(๖) ข้อหาของโจทก์
(๗) คำให้การของจำเลย
(๘) ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
(๙) เหตุผลในการพิจารณาวินิจฉัยทั้งในปัญหารข้อเท็จจริงและปัญหาพระวินัย
(๑๐) บทบัญญัติแห่งพระวินัยที่ยกขึ้นวินิจฉัย
(๑๑) คำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือให้ลงนิคหกรรม
๒. การอ่านคำวินิจฉัยนั้น ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นอ่านเองโดยมีบทบัญญัติข้อ ๓๙ กำหนด
(๑) ให้อ่านให้โจทก์จำเลยฟ้องตามที่กำหนด
(๒) ให้คู่กรณีลงชื่อรับทราบ
(๓) ถ้าไม่ยอมลงชื่อ ให้บันทึกไว้ท้ายคำวินิจฉัยและให้ถือว่าได้ทราบคำวินิจฉัยแล้ว
(๔) ถ้าแจ้งกำหนดอ่านให้แก่คู่กรณีมิได้
(ก) ให้แจ้งผู้ปกครองใกล้ชิดเพื่อแจ้งแก่คู่กรณี
(ข) ถ้าเป็นคฤหัสถ์ให้แจ้งไปยังภูมิลำเนา
ในกรณีที่คู่กรณีหรือฝ่ายใด ไม่มาคำฟังคำวินิจฉัยตามข้อ ๓๙ วรรค ๓-๔ กำหนดให้อำนาจพิเศษแก่คณะผู้พิจารณาชั้นต้น ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ทั้งกันปัญหาข้อโต้แย้ง
(๑) มิได้แจ้งเหตุขัดข้อง ให้อ่านคำวินิจฉัยได้ และให้ถือว่าได้รับทราบแล้ว
(๒) มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้อง ให้เลื่อนวันอ่าน
(๓) ในครั้งหลังจะแจ้งหรือไม่ก็ตาม ให้อ่านและให้ถือว่าได้รับทราบแล้ว
๓. คำวินิจฉัยที่สุดนั้น บทบัญญัติข้อ ๔๐ บังคับให้คำวินิจฉัยถึงที่สุด ๒ กรณี คือ.-
(๑) โจทก์หรือจำเลยมิได้อุทธรณ์
(๒) คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์สั่งยุติตตามข้อ ๔๔
กรณีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว ให้ปฏิบัติตามวิธีบังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรมต่อไป