“ปิงคลวิปุลาฉันท์” หรือ“วิปุลลาฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ในวิสมวุตตินิเทศ ท่านเรียกว่า “ปิงคลวิปุลาคาถา” ซึ่งแปลว่า “วิปุลาของปิงคลมุนี” มีสูตรว่า “สเม โล สตฺตโม ยสฺสา วิปุลา ปิงฺคลสฺส สา” แปลว่า “คาถาที่พยางค์ที่ ๗ ในสมบาท เป็นลหุ ชื่อว่า“วิปุลาของปิงคลมุนี”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น โดยที่ปิงคลวิปุลาคาถา มีความกว้างขวาง จักยึดเอาตามแบบฉันทศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งในฉันทศาสตร์นั้นกำหนดไว้ว่า ปิงคลวิปุลาฉันท์ประกอบด้วย ลหุลอย ม ย คณะ ครุลอยและลหุลอย ย ช คณะ ครุลอย ๒ คำ ย ช คณะ และครุลอย และเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้