“อปรวัตตฉันท์” หรือ“อปริวัตตฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ในอัทธสมวุตตินิเทศ ท่านเรียกว่า “อปรวัตตคาถา” ซึ่งแปลว่า “คาถาที่มีคณะอื่นจากคณะที่กล่าวในก่อน” เป็นคาถา ๔ บาท บาทคี่ ๑๑ คำ บาทคู่ ๑๒ คำ รวม ๔ บาท ๔๖ คำำ มีสูตรว่า “ยทิ นนรลคา นชา ชรา ยทิ จ ตทา, ปรวตฺตมิจฺฉติ” แปลว่า “คาถาที่มี น น ร คณะ ลหุลอยและครุลอย ในวิสมบาท ส่วนในสมบาทมี น ช ช ร คณะ ท่านปรารถนาว่า “อปรวัตตะ”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค รวม ๒๓ คำ เพราะรวมทั้งบทมี ๒๓ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๒๓” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้
Views: 9