กาพย์จิตรลดา

        กาพย์จิตรลดา เป็นกาพย์ที่มีลักษณะเหมือนเถาวัลย์อันวิจิตร ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี มีบทบัญญัติว่า

สตฺตฏฺฐารสเม ฐาเน      เทฺว สรา สมกา สิยุํ

จุทฺทสเม ปญฺจวีสาย     เทฺว สรา สมกา สิยุํ

ยสฺมึ ลกฺขณมิทญฺเจ      จิตฺรลตาติ สา มตา

        แปลว่า “สระ ๒ ตัวในอักษรที่ ๗ กับที่ ๑๘ เสมอกัน และอักษร ๒ ตัวอยู่ในที่ ๑๔ กับที่ ๒๕ เสมอกัน หากลักษณะเช่นนี้มีอยู่ในกาพย์ใด กาพย์นั้นชื่อว่า “จิตรลดา”         ถือเอาความตามคาถาดังกล่าว ได้ความว่า กาพย์จิตรลดา บทหนึ่งมี ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค รวม ๒๘ คำ โดยคำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑๘ และคำที่ ๑๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒๕ เฉพาะคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป และไม่มีการบังคับอื่น ๆ  มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้

Hits: 0