กาพย์พรหมคีติ เป็นกาพย์ที่มีลักษณะดังเสียงขับร้องของพรหม (ไพเราะ) ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี มีบทบัญญัติว่า
ปญฺจเม อฏฺฐเม ฐาเน เทฺว สรา โหนฺติ เต สมา,
เอกาทสโสฬสสุ ฐิตา ทุเว สรา สมา,
พาวีสาย จ เตตฺตึส- อฏฺฐตฺตึสาสุ เต ตโย
สตฺตวีสาย ตึสาย ฐิตา เทฺว สมกา สิยุํ
ยสฺมึ ลกฺขณมิทญฺเจ พฺรหฺมคีติ ปวุจฺจติ
แปลว่า “สระ ๒ ตัว คือ ที่ ๕ กับที่ ๘, ที่ ๑๑ กับที่ ๑๖, ที่ ๒๒ กับที่ ๓๓ กับที่ ๓๘, ที่ ๒๗ กับที่ ๓๐ เสมอกัน หากกาพย์ใดมีลักษณะเช่นนี้ กาพย์นั้นชื่อว่า “พรหมคีติ”
จึงถือเอาความได้ว่า กาพย์พรหมคีติ บทหนึ่งมี ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค รวม ๔๔ คำ มีสัมผัสเป็นคู่ ๆ ดังกว่าวแล้ว เฉพาะคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
Views: 26