สมานิกาฉันท์ ๘

        “สมานิกาฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัยท่านเรียกว่า “สมานิกาคาถา” เป็นอนุฏฐภาฉันท์ “สมานิกา” แปลว่า “คาถาที่มีครุและลหุเท่ากับมาณวกคาถา” เป็นฉันท์ที่มี ๔ บาท ๆ ละ ๘ คำ วางรูปแบบปัฐยาวัตร เพราะมีบาทละ ๘ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๘” มีสูตรว่า “คฺลา สมานิกา รชา จ” แปลความว่า “คาถาที่มี ครุ ลหุ และ ร คณะ ช คณะ ชื่อว่า “สมานิกา”

        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำเอาสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาทั้ง ๔ บาท ๆ ละ ๘ คำเท่ากับฉันท์มคธ วางรูปแบบเดิม เพราะมีบาทละ ๘ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๘” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของบาทที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๔ ของบาทที่ ๒, คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบาทที่ ๓, และคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้