ภุชคสุสุสฏาฉันท์ ๙

        “ภุชคสุสุสฏาฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “ภุชคสุสุสฏาคาถา” จัดเป็นพรหมตีฉันท์ ฯ “พรหมตี” แปลว่า “ฉันท์ที่มีพยางค์มากกว่าอนุฏฐุภาฉันท์” “ภุชคสุสุสฏา” แปลว่า “คาถาที่มีปลายเหมือนหงอนนาคหนุ่ม” ภุชค
สุสุสฏาฉันท์ มีสูตรว่า “ภุชคสุสุสฏา นา โม”  แปลความว่า “คาถาที่มี น คณะ น คณะ และ ม คณะ ชื่อว่า “ภุชคสุสุสฏา”

        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำเอาสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาทั้ง ๔ บาท วางรูปตามแบบเดิม เพราะมีบาทละ ๙ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๙” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของบาทที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๗ ของบาทที่ ๒, คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบาทที่ ๓, และคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้