หมวด ๓
การปกครองคณะสงฆ์
—————————
พระสงฆ์ ๒ คณะ คือ คณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต ชื่อว่า คณะสงฆ์ ในหมวดนี้ และตรงกับคำว่า คณะสงฆ์ไทย ในมาตรา ๔๔ คำว่า การปกครอง หมายถึงการดำเนินกิจการทั้งมวลของคณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม การปกครองคณะสงฆ์ จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการอันเหมาะสม บทบัญญัติเรื่องนี้มี ๔ มาตรา คือ
๑๙. มาตรา ๒๐ ระเบียบการปกครอบคณะสงฆ์
๑) หลักการจัด
(๑) ให้ตราเป็นกฎมหาเถรสมาคม
(๒) จะออกเป็นข้อบังคับเป็นต้นมิได้
๒) แยกส่วน
(๑) ระเบียบการปกครองส่วนกลาง
(๒) ระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาค
๓) ระเบียบการปกครองส่วนกลาง
(๑) มีอำนาจปกครองพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร
(๒) เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม
๔) ระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาค
(๑) เขตปกครอง แยกเป็นชั้นตามมาตรา ๒๑
(๒) เจ้าคณะชั้นนั้น ๆ ผู้ปกครอง
๒๐. มาตรา ๒๑ เขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
๑) ชั้น
(๑) ภาค
(๒) จังหวัด
(๓) อำเภอ
(๔) ตำบล
๒) จำนวนและเขตปกครอง
(๑) ให้กำหนดโดยกฎมหาเถรสมาคม
(๒) จะกำหนดเป็นข้อบังคับเป็นต้นมิได้
๒๑. มาตรา ๒๒ ผู้ปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
๑) เจ้าคณะ
(๑) เจ้าคณะภาค
(๒) เจ้าคณะจังหวัด
(๓) เจ้าคณะอำเภอ
(๔) เจ้าคณะตำบล
๒) รองเจ้าคณะ
(๑) โดยฐานะเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะ มีอำนาจหน้าที่ตามที่เจ้าคณะมอบหมาย
(๒) เมื่อมหาเถรสมาคมเห็นสมควรให้มีได้
(๓) การกำหนดให้มีรองเจ้าคณะมิได้บังคับให้ตราเป็นกฎมหาเถรสมาคม
๒๒. มาตรา ๒๓ การแต่งตั้งถอดถอน
๑) พระอุปัชฌาย์
๒) เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๓) พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ
๔) ไวยาวัจกร
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ต้องกำหนดเป็นกฎมหาเถรสมาคม จะกำหนดเป็นอย่างอื่นมิได้
พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ ความกว้างอย่างยิ่งโดยตรง หมายถึง เจ้าคณะและรองเจ้าคณะตามความในมาตรา ๒๒ และหมายถึงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๔ อีกส่วนหนึ่งด้วย
มาตรานี้ ให้กำหนดเฉพาะการแต่งตั้งและการถอดถอนเท่านั้น มิได้ให้อำนาจโยกย้ายดังในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔