หมวด ๗ บทกำหนดโทษ

หมวด  ๗

บทกำหนดโทษ

—————–

     คำว่า “โทษ” ในหมวดนี้ เป็นโทษทางอาญาต่างจากโทษทางพระวินัย โทษอาญาในหมวดนี้ อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับการฝ่าฝืนการนิคหกรรมและสละสมณเพศ เกี่ยวกับการที่เคยต้องอาบัติปาราชิก และเกี่ยวกับคณะสงฆ์บัญญัติไว้เพื่อป้องกันความเสื่อมเสียอันอาจเกิดขึ้นแก่คณะสงฆ์ และให้ความสะดวกแก่เจ้าคณะ เจ้าอาวาส และเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักร ที่จะช่วยอุปถัมภ์การคณะสงฆ์ มีบทบัญญัติ ๓ มาตรา คือ

     ๔๐. มาตรา ๔๒ โทษฐานฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

              ๑) หลักเกณฑ์ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

                    (๑) ฝ่าฝืนคำวินิจฉัยลงนิคหกรรมให้สึก (มาตรา ๒๖)

                (๒) ฝ่าฝืนคำสั่งมหาเถรสมาคมให้สละสมณเพศ (มาตรา ๒๗/๒)

                (๓) ฝ่าฝืนคำพิพากษาของศาลเมื่อถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย มาตรา ๒๘

               ๒) กำหนดโทษ

                (๑) จำคุกไม่เกินหกเดือน

                (๒) เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรเป็นผู้ดำเนินการตามกฎหมายแผ่นดิน

     ๔๑. มาตรา ๔๓ ความผิดฐานต้องอาบัติปาราชิกแล้ว

               ๑) หลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

                (๑) ต้องปาราชิกแล้ว เข้ารับการบรรพชาอุปสมบทโดยปิดบังความจริง

                (๒) ต้องปาราชิกแล้วไม่สละการแต่งกายแบบบรรพชิต

               ๒) กำหนดโทษ

                (๑) จำคุกไม่เกินหกเดือน

              (๒) เป็นอำนาจหน้าที่ทางราชอาณาจักรที่จะดำเนินการตามกฎหมาย

     ๔๒. มาตรา ๔๔ ฐานใส่ความคณะสงฆ์ไทย

              ๑) หลักเกณฑ์ ใส่ความคณะสงฆ์ไทย โดยลักษณะ

                    (๑) อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือ

                (๒) อันอาจก่อให้เกิดการแตกแยก

               ๒) กำหนดโทษ

                (๑) ปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือ

                (๒) จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ

                (๓) ทั้งจำทั้งปรับ

                (๔) เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรดำเนินการตามกฎหมาย

               ๓) คณะสงฆ์ไทย หมายถึง คณะมหานิกาย ๑ คณะธรรมยุต ๑ ที่เรียกว่า  เถรวาท หีนยาน หรือ ทักษิณนิกาย  คำว่า เถรวาท นิยมใช้

Views: 5