พระราชเมธี บรรยายเสริม

พระราชเมธี บรรยายเสริม

        ท่านเจ้าคณะพระสังฆาธิการทั้งหลาย คงทราบแล้วว่ามหาเถรสมาคม เป็นสถาบันหนึ่งในเมืองไทย เป็นสถาบันทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ชั้นสูงสุด คือเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ชั้นสูงสุด หมายถึงปกครองคณะสงฆ์ไทย สถาบันนี้ทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ไทย มิได้ทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์อื่นด้วย ผมขอเก็บความย้ำอีกทีหนึ่ง มหาเถรสมาคมนี้ โดยกฎหมายได้กำหนดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อปี ๒๔๔๕ แต่มหาเถรสมาคมคราวนั้นมิใช่สถาบันปกครองคณะสงฆ์ ตอนต้นเป็นเพียงที่ปรึกษาขององค์พระมหากษัตริย์ เมื่อสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชแล้ว เป็นที่ปรึกษาของสมเด็จพระสังฆราช เลิกล้มลงเมื่อมีกฎหมายคณะสงฆ์ ๒๔๘๔ กลับมีขึ้นอีกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ มีคราวนี้เป็นสถาบันปกครองคณะสงฆ์เป็นสถาบันที่มีความสำคัญ เหมือนกับสถาบันผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของชาติ สถาบันแห่งนี้ เป็นสถาบันรวมอำนาจ กระผมไว้เมื่อเช้าว่าอำนาจที่มีใช้ในการปกครองมี ๓ อำนาจ คือ

        – อำนาจนิติบัญญัติ

        – อำนาจบริหาร

        – อำนาจตุลาการ

        ทั้ง ๓ อำนาจนี้ กฎหมายฉบับก่อนเรี่ยราด แบ่งให้พระภิกษุแต่ละคณะ ๆ ดำเนินการถึง ๓ คณะ มาในกฎหมายฉบับนี้ให้รวมอยู่ในมหาเถรสมคมทั้งหมด หากจะถามว่า อะไรเป็นมหาเถรสมาคม ส่วนประกอบที่แท้จริงของมหาเถรสมาคม มีอยู่ ๓ คือ

        ๑. ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

        ๒. กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง

        ๓. กรรมการมหาเถรสมาคมโดยการแต่งตั้ง

        นี่องค์ประกอบที่สมบูรณ์ องค์ประกอบที่แท้จริง ถ้าจะแยกจะลองแยกให้ดู

        คำว่า มหาเถรสมาคม กับ คำว่า กรรมการมหาเถรสมาคม นั้น ให้ท่านทั้งหลายพึงเห็นต่างกัน คำว่า กรรมการมหาเถรสมาคม หมายถึงพระภิกษุซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง พระราชาคณะที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง เป็นกรรมการโดยการแต่งตั้ง ถ้าเฉพาะรูป เรียกว่า กรรมการมหาเถรสมาคม เฉพาะองค์สมเด็จพระสังฆราช หรือสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่พระสังฆราช หรือสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่พระสังฆราชนั้น เป็น ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม มหาเถรสมาคมมีส่วนประกอบที่เป็นหลักอยู่ ๓ ดังกล่าวมานี้

        ส่วนองค์พิเศษอีกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์สนันสนุนและส่งเสริม ด้านบุคคล คือเลขาธิการ ด้านสถาบัน คือสำนักเลขาธิการ อันนี้ ท่านทั้งหลายต้องแยกดูให้ดี ในมาตรา ๑๓ กำหนดองค์สนับสนุนมหาเถรสมาคมไว้ ๒ อย่าง อย่างที่ ๑ บุคคล ระบุว่า ให้อธิบดีกรมการศาสนา เป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม นี่เป็นองค์สนับสนุนอีกที่หนึ่ง อีกองค์ที่สอง ให้กรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ทั้ง ๒ องค์นี้ เป็นองค์สนับสนุนให้งานของมหาเถรสมาคมสำเร็จ เพราะมหาเถรสมาคมนั้น ประกอบด้วยหลัก ๓ องค์นี้คือ  ประธานกรรมการกับกรรมการทั้ง ๒ ประเภท ถ้าแยกกัน มหาเถรสมาคมก็เหมือนไม่มี คือมีก็ทำหน้าที่ไม่ได้ มีแต่ก็ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ต้องมีองค์สนับสนุน องค์สนับสนุนกำหนดไว้ในมาตรา ๑๓ อธิบดีกรมการศาสนา เป็นเลขาธิการ แล้วสถาบันหลักคือกรมการศานา เป็นสำนักเลขาธิการ แล้วสถาบันหลักคือกรมการศานา เป็นสำนักเลขาธิการ ไม่ได้เป็นสำนักงาน นะครับ ท่านใช้ว่า สำนักเลขาธิการ ความกว้างกว่าสำนักงาน เหตุที่ต้องกำหนดเช่นนี้ เพราะมหาเถรสมาคมนั้น มีหน้าที่มากมายเหลือเกิน หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติมาก แต่มหาเถรสมาคมจริง ๆ  ประกอบด้วยพระมหาเถระ ๑๕ รูป ปัจจุบันมีอายุเกินกว่า ๗๐ ขึ้น ไปประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นต่ำกว่า ๗๐ ถ้าไม่มีองค์ประกอบมาสนับสนุน ทำงานไม่ได้ ทำงานไม่ไหว มหาเถรสมาคมมาประชุมเป็นองค์ประกอบ ทำองค์ประกอบให้สมบูรณ์ เลิกประชุมแล้วต่างรูปต่างไป ไม่มีใครสนองงาน งานรูปกรรมการดำเนินได้ อยู่ที่ใคร ดังนั้น กฎหมายจึงบัญญัติให้อธิบดีกรมการศาสนามาเป็นเลขาธิการ เลขาธิการมหาเถรสมาคมคนเดียวก็ทำงานไม่ไหว จึงได้บัญญัติให้กรมการศาสนานั่นแหละ ทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม เพราะอะไร เพราะกรมนี้ เป็นกรมของรัฐบาล ทำหน้าที่ฝ่ายการศาสนาถวายพระเจ้าแผ่นดินโดยตรง ซึ่งกรมนี้ เมื่อออกกฎหมายคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ก็ถูกกำหนดให้เป็นสำนักงานเลขาธิการคณะสังฆมนตรีและให้เป็นสำนักเลขาธิการสังฆสภา มาคราวนี้ก็กถูก กำหนดให้ทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มหาเถรสมาคมจะทำอะไร กรมการศาสนาต้องเป็นผู้สนองงาน

        มีปัญหาอันหนึ่ง ซึ่งควรจะนำมาพูด คือ พระสังฆาธิการเคยพูดกันเสมอว่า ทำไมเอาคฤหัสถ์มาเป็นเลขาธิการ เอากรมการศาสนามาทำงานให้คณะสงฆ์ ทำไมไม่เอาพระเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม ทำไมไม่ให้พระตั้งสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคมเอง นี้เคยมีคนพูด อันนี้ ทางปฏิบัตินั้นทำไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติแต่ละฉบับ ต้องมีรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเป็นผู้ควบคุม นี้หลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ควบคุม เมื่อเขาควบคุม เขาก็จัดสรรเจ้าหน้าที่ จัดเจ้าหน้าที่มาทำไม มาคอยดูแลสอดส่องการปฏิบัติงานของการคณะสงฆ์ เพื่อจะได้ถวายการสนับสนุนอุปถัมภ์บำรุงการปฏิบัติงานของการคณะสงฆ์ มาช่วยแก้ไขข้อขัดข้องของการคณะสงฆ์ มาคอยสกัดกั้นในเมื่อคณะสงฆ์ประพฤติปฏิบัติในอันที่จะขัดขาวงต่อทางราชการด้วย นี้โดยหลักเขามีกรมการศาสนาอยู่แล้ว กรมการศาสนานี้ เป็นกรมของรัฐบาล มิใช่กรมของคณะสงฆ์ ทำหน้าที่สนองงานรัฐบาลอยู่เต็มตัว เขาจึงให้กรมนี้มาดู จะให้พระดูกันเอง ก็พวกเดียวกันให้ไม่ได้ คณะสงฆ์นี้เหมือนกับคนไปขออยู่บ้านท่าน ขออยู่บ้านทางราชอาณาจักร พระเจ้าแผ่นดินเป็นเจ้าบ้าน รัฐบาลเป็นผู้จัดกิจการภายในบ้านหลังใหญ่นี้ พุทธจักรเราไปขอาศัยบ้านอีกซีกหนึ่งของท่าน ถ้าจะเปรียบ เจ้าของบ้านท่านอนุญาตให้อาศัย อาศัยแล้วก็ให้ปกครองลูกหลานของตัวเอง จัดระบบเองแต่จะต้องไม่ขัดกับนโยบายของเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้าน ก็ให้คนมาเอื้ออำนายความสะดวก ไม่อย่างนั้น ไปกันไม่ได้ แล้วทีนี้ กรมการศาสนานั้น เมื่อเป็นสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ก็เป็นศูนย์ประสานงานกับคณะรัฐบาลได้ เป็นศูนย์ประสานงานกับมหาเถรสมาคม เป็นศูนย์ประสานงานกับเจ้าคณะในส่วนภูมิภาค เอากรมการศาสนาเป็นศูนย์กลาง สำหรับประสานงานระหว่างรัฐบาล กับประสานงานมหาเถรสมาคม ทั้งเจ้าคณะทุกชั้นในส่วนภูมิภาค ถ้าคณะสงฆ์ทำการปกครองตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องการอะไรบ้างจะให้รัฐบาลช่วย กราการศาสนาก็จะได้ทำหน้าที่ ฐานะเป็นกรมของรัฐบาล เอาข่าวนี้ไปบอกรัฐบาลได้ ดังเราจะเห็นได้ การที่อำนวยการทำงานตามกฎมหาเถรสมาคม ต้องขวนขวายตั้งงบประมาณแผ่นดินมา เพื่อทำงานคณะสงฆ์ปีละเกือบ ๒๐๐ ล้านเหมือนกัน ข้าราชการทุกส่วนที่อยู่ในกรมการศาสนา มาทำงานให้คณะสงฆ์ ก็กินเงินเดือนรัฐบาล เงินเดือนแผ่นดิน เพราะมาตรา ๑๓ นี้แหละ เป็นเหตุให้เอาคนของรัฐบาลมาใช้ได้ แล้วค่าจ้างรางวัลต่าง ๆ อยู่ที่รัฐบาลหมด คณะสงฆ์พียงเอามาใช้ ถ้าจะให้พระเป็นเลขาธิการเอง ให้พระจัดสำนักเลขาธิการเอง ศาสนสมบัติมีสัก ๒๐๐ ล้านบาท ไม่พอใช้ คณะสงฆ์ม้วนเสื่อไปนานแล้ว ทำงานไม่ได้ทำงานไม่ไหว กระผมมีโอกาสขอแถลงให้ทราบ เพราะมีคำที่ข้อนข้างจะหนาหูอยู่ มีพระสมัยใหม่คิดอย่างนั้น เดี๋ยวนี้รัฐบาลให้กฎหมายมาแล้ว แถมยังอุปถัมภ์บำรุงเรามาก เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาที่พระเอาเอาใช้เยอะ แล้วค่าจ้างรางวัลอยู่ที่รัฐบาลทั้งนั้น อุปกรณ์การทำงานของกรมการศาสนาเป็นของรัฐทั้งนั้นแต่มาทำให้คณะสงฆ์ รับใช้คณะสงฆ์ อันนี้ เป็นการดีอยู่มิใช่น้อยเพราะเหตุนี้ครับ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม จะเป็นอื่นจากกรมการศาสนาไปมิได้เลย แต่พระสงฆ์เราไม่ค่อยได้คิด ไม่ค่อยศึกษาหลักเกณฑ์ให้ดี ก็คิดแต่ว่า บางทีทางรัฐบาลเอาเปรียบ ที่จริงเขาไม่ได้เอาเปรียบเราเลย เขาช่วยทุกอย่าง การทำงานของเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา ตั้งแต่เสมียนขึ้นไป จนถึงเลขาธิการมหาเถรสมาคม เขาทำงานให้มหาเถรสมาคมทั้งหมด กรมการศาสนามี ๒ ส่วน ถ้าส่วนกรมทำงานให้รัฐบาล ถ้าส่วนสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ทำงานให้คณะสงฆ์ ตั้งแต่เสมียนตั้งแต่ภารโรงไปทีเดียวทำให้คณะสงฆ์เรา ขอให้เข้าใจด้วย ตอนนี้แยกได้ยาก บางตอนงานรัฐบาลด้วย งานคณะสงฆ์ด้วย อันนี้เราโปรดทราบ ถ้าหากไม่มีกรมนี้มาสนองงานตามมาตราที่ ๑๓ นี้แล้ว มหาเถรสมาคมทำงานลำบาก ที่ทำงานได้สะดวกอยู่ทุกวันนี้ เพราะอาศัยอำนาจของมาตรา ๑๓ นี้เอง ครับ

        ทีนี้ขอข้ามพูดมาตรา ๑๘ ย้ำอีก มาตรา ๑๘ บทบัญญัติมีว่า มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย เพื่อการนี้ให้มีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่งมหาเถรสมาคม ซึ่งไม่ขัดข้องหรือแย้งกับกฎหมายหรือพระธรรมวินัย ใช้บังคับได้ คำพูด ๓ บรรทัด แต่อันนี้ ถ้าจะตีความก็อมความได้กว้างขวาง ถ้าไม่มีตีความก็เหมือนว่า มหาเถรสมาคมไม่มีอะไรเลย คำแรกที่ว่า มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย หมายความว่ามหาเถรสมาคม จะต้องทำหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ และจะต้องปกครองต้องให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ข้อที่จะตีความคือการปกครองคำว่า ปกครอง คำเดียวมันกว้าง กฎหมายเก่า เขาแยกคำ ปกครอง ศึกษา เผยแผ่ สาธารณูปการ การวินิจฉัยอธิกรณ์ การบัญญัติสังฆาณัติ ในกฎหมายเก่า ปกครอง หมายถึงทำหน้าที่ปกครองอันเดียว แต่กฎหมายฉบับนี้ คำว่า ปกครอง อันนั้นรวมกิจการคณะสงฆ์ทั้งหมด คือการรักษาความเรียบร้อยดีงาม การรักษาความเรียบร้อยดีงาม คืออะไร คือการทำการปกครองอย่างหนึ่ง คือการทำงานเกี่ยวกับนิคหกรรมได้แก่การลงโทษอย่างหนึ่ง รวมทั้งการยกย่องที่ควนจะได้รับการยกย่อยด้วย การศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พุทธศาสนา การสาธารณูปการ การสาธารณสงเคราะห์ รวมอยู่ในคำว่า ปกครอง ทั้งนั้น

        เพราะฉะนั้น คำนี้ จึงตีความได้ว่า มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่รักษาความเรียบร้อยดีงามในคณะสงฆ์ มีอำนาจเรื่องการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พุทธศาสนา การสาธารณูปการ การสาธารณสงเคราะห์ โดยแยกลักษณะงานเป็น ๒ คือ

        (๑)  งานอำนวยการปกครอง ได้แก่การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปกครอง หรือกำหนดนโยบาย

          (๒)    งานธุรการทั่วไปในสำนัก

          จะเห็นงานในอำนาจหน้าที่นั่นกว้างเหลือเกิน เพื่อประโยชน์แก่การนี้ คือเพื่องานอันนี้เพื่อหลักเกณฑ์การทำงานอันนี้ ท่านให้อำนาจต่อไป ให้ตรากฎมหาเถรสมาคมได้ ให้ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่งได้ แต่มีข้อจำกัดว่าสิ่งเหล่านั้นต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัย ใช้เป็นกฎหมายในขบวนการปกครองคณะสงฆ์ได้ และขอท่านทั้งหลายได้ทราบว่า การปฏิบัติงานธุรการของมหาเถรสมาคมนี้ การทำจริง ๆ ใครทำ เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาเป็นผู้ทำ มหาเถรสมาคมท่านเพียงไปประชุมวินิจฉัยว่า เรื่องนี้จะให้ทำยังไง เรื่องนั้นให้ทำยังไง ฝ่ายผู้ทำงานถวาย เริ่มแต่เสมียนจนถึงอธิบดีเป็นผู้ทำ ขอให้คณะสงฆ์เราทราบธุรการของมหเถรสมาคม กรมการศาสนาเขาทำให้   

          สำหรับต่อไปนั้น เป็นเรื่องระเบียบเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ การปกครองคณะสงฆ์ในหมวดต่อไป ในหมวดนี้ ขอคุณมนูได้บรรยายต่อไป