ส่วนที่ ๓ วิธีพิจารณาวินิจฉัย การลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์

ส่วนที่ ๓

วิธีพิจารณาวินิจฉัย

การลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์

———————

     วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ เป็นวิธีปฏิบัติการในคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ มีข้อควรศึกษา ๖ ประเด็น คือ.-

           ๑. ข้อควรทราบเกี่ยวกับการอุทธรณ์

           ๒. การดำเนินการในชั้นต้น

           ๓. วิธีการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์

           ๔. การปฏิบัติเมื่อมีอุปสรรค

           ๕. คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์

           ๖. ข้อพิเศษ

๑. ข้อควรทราบเกี่ยวกับการอุทธรณ์

     ๑. ผู้มีอำนาจพิจารณา

           – คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ๔ อันดับ

     ๒. กรณีที่ให้อุทธรณ์

           (๑)  คำวินิจฉัยชั้นต้น (ยกฟ้องหรือลงโทษ)

           (๒)  คำสั่งลงนิคหกรรมโทษครุกาบัติ ตามข้อ ๑๖ (๒) ข.

     ๓. ผู้มีสิทธิอุทธรณ์

           (๑)  โจทก์หรือจำเลย

           (๒)  พระภิกษุผู้ถูกสั่งลงนิคหกรรม

     ๔. ปัญหาที่ให้สิทธิอุทธรณ์ ตามข้อ ๔๑ คือ

           (๑)  ปัญหาข้อเท็จจริง

           (๒)  ปัญหาพระวินัย

     ๕. หลักของคำอุทธรณ์

           (๑)  ให้ระบุข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างอิงไว้โดยย่อ

           (๒)  ข้อพระวินัยที่ยกขึ้นอ้างอิงให้แสดงไว้โดยชัดเจน

           (๓)  ข้อพระวินัยนั้น ต้องเป็นข้อพระวินัยที่ได้ยกว่ากันมาแล้วในชั้นต้น จะยกเอาข้ออื่นมาอุทธรณ์มิได้

๒. การดำเนินการในชั้นต้น

     การดำเนินการในชั้นต้น ตามความในข้อ ๔๑ วรรค ๒ และข้อ ๔๒ เป็นการดำเนินการของผู้ยื่นอุทธรณ์คณะผู้พิจารณาชั้นต้น และคู่กรณีอีกฝ่ายอื่น ให้ปฏิบัติดังนี้.-

     ๑. ผู้ยื่นอุทธรณ์

           (๑)  ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้น

           (๒)  ยื่นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันรับทราบคำวินิจฉัย

           (๓)  ให้ส่งสำเนาอุทธรณ์นั้นตามจำนวนที่จะแจ้งให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งด้วย

     อนึ่ง ในการอุทธรณ์คำสั่งตามข้อ ๑๖ (๒) ข. ให้ปฏิบัติตามนี้โดยอนุโลม

     ๒. หน้าที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้น

           (๑)  ให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแก้อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับ 

           (๒)  ให้รีบส่งอุทธรณ์ไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ โดยผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

             (ก) ส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่งมิได้เพราะหาตัวไม่พบหรือหลบหนีหรือจงใจจะไม่รับ

             (ข) ได้รับคำแก้อุทธรณ์แล้ว

             (ค) พ้นกำหนดวันแก้อุทธรณ์แล้ว

           ๓. หน้าที่ผู้แก้อุทธรณ์

             (๑) ต้องรีบทำคำแก้อุทธรณ์

             (๒) ต้องส่งคำแก้อุทธรณ์ไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นต้นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับสำเนาอุทธรณ์

๓. วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคกรรมชั้นอุทธรณ์

     ในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์นั้น ได้มีบัญญัติข้อ ๔๓ กำหนดให้คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์มีอำนาจพิเศษ ๔ อย่างคือ.-

           ๑. ถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนด ให้คำวินิจฉัยยกคำอุทธรณ์นั้นเสีย

           ๒. ถ้าเห็นสมควรสืบพยานเพิ่มเติมในปัญหาใดหรือในกรณีใด ให้อำนาจ

             (๑) เรียกพยานมาสืบเอง

             (๒) สั่งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นสืบให้

           ๓. ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้นปฏิบัติไม่ถูกต้อง

             (๑) ให้สั่งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นปฏิบัติการใหม่ให้ถูกต้อง

             (๒) แล้วให้ส่งสำเนาคืนไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์

           ๔. ในกรณีที่จำเลยหลายรูป ถูกวินิจฉัยให้ลงนิคหกรรมในความผิดฐานเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน แต่จำเลยอุทธรณ์รูปเดียว

             (๑) ถ้าวินิจฉัยกลับ หรือแก้โดยไม่ลงนิคหกรรมหรือลดนิคหกรรม และ

             (๒) ให้พิจารณาถึงรูปที่มิได้อุทธุทธรณ์ด้วย

๔. การปฏิบัติเมื่อมีอุปสรรค (๔๔)

     ๑. จำเลยถึงมรณภาพ ให้ยุติการพิจารณา

     ๒. จำเลยพ้นจากความเป็นพระภิกษุ ให้ยุติการพิจารณา เว้นแต่ในกรณีความผิดครุการบัติ

๕. คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์

     ๑. การทำคำวินิจฉัย (๔๕)

           (๑)  ตามแบบวินิจฉัยชั้นต้น (บางตอน)

           (๒)  และให้เพิ่ม

             (ก) ชื่อ ฉายา นามสกุล อายุ พรรษา สำนัก และสังกัดของผู้อุทธรณ์

             (ข) คำวินิจฉัยให้ยืน ยก แก้ หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นต้น

     ๒. การอ่านคำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ (๔๖)

           (๑) ให้อ่านคำวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า

           (๒) ผู้อ่านคำวินิจฉัย

             (ก) คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์อ่านเองหรือ

             (ข) ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นอ่าน

           (๓)  ให้นำข้อ ๓๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม     

     ๓. คำวินิจฉัยถึงทีสุด (๔๘)

           (๑)  โจทก์หรือจำเลยมิได้ฎีกา

           (๒)  ชั้นฎีกาสั่งให้ยกฎีกานั้นเสีย

           (๓)  ชั้นฎีกาสั่งยุติการพิจารณาตามข้อความในข้อ ๕๑

     กรณีใดคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว ให้ปฏิบัติตามวิธีบังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรมต่อไป

๖. ข้อพิเศษ (๔๗)

     วิธีการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ นอกจากที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๓ นี้ ให้นำความในส่วนที่ ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม.

Views: 4