ส่วนที่ ๔ วิธีพิจารณาวินิจฉัย การลงนิคหกรรมชั้นฎีกา

ส่วนที่ ๔

วิธีพิจารณาวินิจฉัย

การลงนิคหกรรมชั้นฎีกา

————————–

     วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกานั้นเป็นวิธีปฏิบัติชั้นสูงสุด มีข้อที่ควรทราบ ๖ ประเด็น คือ.-

           ๑. ข้อควรทราบเกี่ยวกับการฎีกา

           ๒. การดำเนินการในชั้นต้น

           ๓. การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา

           ๔. คำวินิจฉัยชั้นฎีกา

           ๕. ข้อพิเศษ

๑. ข้อควรทราบเกี่ยวกับการฎีกา

     ๑. ผู้มีอำนาจพิจารณา

           – มหาเถรสมาคม

     ๒. ผู้มีสิทธิฎีกา

           (๑) โจทก์หรือจำเลย

           (๒) พระภิกษุผู้ถูกสั่งลงนิคกรรมตามข้อ ๑๖ (๒) ข.

     ๓. ปัญหาที่ให้ฎีกา (ข้อ ๔๙/๑)

           (๑)  ปัญหาข้อเท็จจริง

           (๒)  ปัญหาพระวินัย

     ๔. หลักของคำฎีกา

           (๑)  ระบุข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างอิงโดยย่อ

           (๒)  ข้อพระวินัยที่ยกขึ้นอ้างอิงให้แสดงไว้โดยชัดเจน

           (๓)  ข้อพระวินัยนั้น ต้องเป็นข้อพระวินัยที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว จะยกเอาข้ออื่นมาฎีกามิได้

     ๕. ข้อเท็จจริงที่ห้ามฎีกา (ข้อ ๔๙/๑)

           (๑)  ชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยลงนิคหกรรมยืน เว้นแต่ความผิดอันติมวัตถุ

           (๒)  ชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยลงนิคหกรรมยืนเกี่ยวกับความผิดเกินกว่าคำฟ้อง เว้นแต่ความผิดอันติมวัตถุ

           (๓)  ชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยยืน ให้ยกฟ้องของโจทก์อาศัยข้อเท็จจริง

๒. การดำเนินการในชั้นต้น

     การดำเนินการในชั้นต้น ตามบทบัญญัติข้อ ๕๐ เป็นการดำเนินการของผู้ยื่นฎีกา คณะผู้พิจารณาชั้นต้นและคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ปฎิบัติดังนี้.-

     ๑. ผู้ยื่นฎีกา

           (๑)  ให้ยื่นฎีกาเป็นลายลักษณ์อักษร

           (๒)  ให้ส่งสำเนาฎีกานั้นตามจำนวนที่จะส่งให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งด้วย

           (๓)  ให้ยื่นต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับทราบคำอุทธรณ์

     ๒. หน้าที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้น

           (๑)  ส่งสำเนาฎีกาไปให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแก้ฎีกาภายใน ๑๕ วัน บันแต่ว่าที่ได้รับ

           (๒)  รีบส่งฎีกาไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ในเมื่อ

             (ก) จัดส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เพราะหาตัวไม่พบ หรือหลบหนีหรือเพราะจงใจจะไม่รับ

             (ข)     ได้รับคำแก้ฎีกาแล้ว

             (ค) พ้นเขตกำหนดวันแก้ฎีกาแล้ว

     ๓. หน้าที่ผู้แก้ฎีกา

           (๑)  ต้องรีบทำคำแก้ฎีกา

           (๒)  ต้องส่งคำแก้ฏีกาไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นต้นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับสำเนาฎีกา

๓. วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา

     เพื่อการนี้ มีบทบัญญัติข้อ ๕๑ ให้นำความในข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ ให้บังคับโดยอนุโลม จึงแยกพิจารณาเป็น ๒ ประเด็น คือ.-

     ๑. อำนาจพิเศษของคณะผู้พิจารณาชั้นฏีกา

           (๑) ถ้าฎีกาอยู่ในลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔๙ วรรค ๒ ให้วินิจฉัยยกฎีกานั้นเสีย

           (๒) ถ้าเห็นว่ามิได้ยื่นฎีกาตามกำหนด ให้วินิจฉัยยกฎีกานั้นเสีย

           (๓) ถ้าเห็นสมควรสืบพยานเพิ่มในปัญหาใดหรือในกรณีใด ให้มีอำนาจ

             (ก) เรียกพยานมาสืบเอง

             (ข)     สั่งให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นสืบให้

           (๔) ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้นปฏิบัติไม่ถูกต้องให้

             (ก) สั่งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นปฏิบัติให้ถูกต้อง

             (ข)     แล้วให้ส่งสำเนาคืนไปยังชั้นฎีกา

           (๕) ในกรณีที่จำเลยหลายรูป ถูกวินิจฉัยลงนิคหกรรมในความผิดฐานเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน แต่จำเลยฏีการูปเดียว

             (ก) ถ้าวินิจฉัยกลับหรือแก้โดยไม่ลงหรือลงนิคหกรรม และ

             (ข)     ให้อำนาจวินิจฉัยถึงรูปที่มิได้ฎีกาด้วย

     ๒. การปฏิบัติเมื่อมีอุปสรรค

           ๑. จำเลยถึงมรณภาพ ให้ยุติการพิจารณา

           ๒. จำเลยพ้นจากความเป็นพระภิกษุ ให้ยุติการพิจารณา เว้นแต่ในกรณีความผิดครุกาบัติ

๔. คำวินิจฉัยชั้นฏีกา

     เรื่องคำวินิจฉัยชั้นฎีกา ได้มีบทบัญญัติข้อ ๕๓ กำหนดให้นำความในข้อ ๔๕ และข้อ ๔๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงแยกพิจารณาเป็น ๓ ประเด็น คือ.-

     ๑. การทำคำวินิจฉัยชั้นฎีกา

           (๑)  ตามแบบคำวินิจฉัยชั้นต้น (บางตอน)

           (๒)  และให้เพิ่ม

             (ก) ชื่อ ฉายา นามสกุล อายุ พรรษา สำนัก และสังกัดของผู้ฎีกา

             (ข)     คำวินิจฉัย ยืน ยก แก้ หรือ กลับ คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์

     ๒. การอ่านคำวินิจฉัยชั้นฎีกา

           (๑)  ผู้อ่านคำวินิจฉัย

             (ก) คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาอ่านเอง

             (ข)     สั่งให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นเป็นผู้อ่าน

           (๒)  ให้อ่านโดยมิชักช้า

           (๓)  วิธีปฏิบัติอื่นให้นำความในข้อ ๓๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

     ๓. คำวินิจฉัยชั้นฎีกาถึงที่สุด

           (๑)  ให้เป็นอันถึงที่สุดทันทีที่อ่านแล้ว

           (๒)  ให้บังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรมทันที

๕. ข้อพิเศษ

     ๑. กรณีที่ฎีกาเฉพาะปัญหาพระวินัย (ข้อ ๕๒)

           (๑) ให้ฟังข้อเท็จจริงตามที่ชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้ว

           (๒) ไม่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอีก

     ๒. วิธีพิจารณาวินิจฉัยในชั้นฎีกา สรูปได้ ๒ คือ.-

           (๑) ตามที่บัญญัติในส่วนที่ ๔

           (๒) นำความในส่วนที่ ๓ มาใช้บังคับ

     พิเศษ :- เหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘ “เหตุสุดวิสัย หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี ไม่มีใครอาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะเช่นนั้น”