หมวด ๔ วิธีอ้างพยานหลักฐาน

หมวด ๔

วิธีอ้างพยานหลักฐาน

——————–

     อันพยานหลักฐานนั้น เป็นส่วนประกอบคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ขอกำหนดประเด็น ๒ คือ.-

     ๑. พยานหลักฐาน

     ๒. การอ้างพยาน

๑. พยานหลักฐาน

     ๑. ประเภทแห่งพยาน

           (๑)  พยานบุคคล

           (๒)  พยานเอกสาร

           (๓)  พยานวัตถุ

     ๒. ลักษณะของพยาน

           (๑)  น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีความผิด

           (๒)  น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยบริสุทธิ์

     ๓. บุคคลผู้อ้างพยาน

          (๑)  โจทก์

           (๒)  จำเลย

           (๓)  คณะผู้พิจารณา

     ๔. การได้มาซึ่งพยาน

           (๑)  มิใช่เกิดจาการจูงใจ

           (๒)  มิใช่เกิดจากมีคำมั่นสัญญา

           (๓)  มิใช่เกิดจากการหลอกลวง

           (๔)  มิใช่เกิดจากการขู่เข็ญ

           (๕)  มิใช่เกิดจากเหตุอื่นอันมิชอบ

๒. การอ้างพยาน

     ๑. การอ้างพยานบุคคล

           (๑)  ห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน

           (๒)  จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานได้ แต่ต้อง

             (ก) ให้จำเลยเข้าสืบก่อนพยานจำเลยอื่น

             (ข) ถ้าให้การปรักปรำหรือเสียหายแก่จำเลยอื่น จำเลยอื่นซักค้านได้

     ๒. การอ้างพยานเอกสาร

           (๑)  อ้างต้นฉบับเอกสาร

           (๒)  อ้างสำเนาหนังสือทางการคณะสงฆ์หรือทางราชการได้

     ๓. การอ้างพยานวัตถุ

           (๑)  ให้นำวัตถุนั้นมาส่งคณะผู้พิจารณา

           (๒)  ให้คณะผู้พิจารณาไปตรวจถึงที่

     ๔. การอ้างผู้ชำนาญพิเศษ.-ตามข้อ ๕๙ กำหนดความเป็น ๒ คือ

           (๑)  ลักษณะ.-โดยลักษณะแบ่งเป็น ๓ คือ

             (ก) ผู้ชำนาญพิเศษในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ หรือการแพทย์ จะโดยอาชีพหรือโดยเหตุอื่นใด

             (ข) ความเห็นของเขาอาจเป็นประโยชน์ในการไต่สวนมูลฟ้องหรือการพิจารณา

             (ค) ความเห็นของเขาอาจเป็นพยานในกรณีต่าง ๆ เช่น ตรวจร่างกายหรือสุขภาพทางจิต

           (๒)  วิธีอ้าง.-คณะผู้พิจารณา ต้อง                 

             (ก) ให้ผู้ชำนาญพิเศษนั้นทำความเห็นเป็นหนังสือ

             (ข) ให้ผู้ชำนาญพิเศษนั้นมาเบิกความประกอบหนังสือนั้น

             (ค) ให้ส่งสำเนาหนังสือนั้นแก่คู่กรณีล่วงหน้า ๓ วัน

           (๓)  การได้

             (ก) ได้จากทางคณะสงฆ์

             (ข) ได้จากฝ่ายราชอาณาจักร

     ๕. การให้การหรือส่งพยานหลักฐานลับ ตามข้อ ๖๐ กำหนดเป็น ๔ คือ.-

           (๑)  ในกรณีพิเศษ.-ได้แก่กรณีที่โจทก์จำเลยหรือผู้ใด ซึ่ง

             (ก) จะต้องให้การอันมีลักษณะพิเศษหรือ          

             (ข) จะต้องส่งพยานหลักฐานอันมีลักษณะพิเศษ

           (๒)  ลักษณะพิเศษ.-ได้แก่ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง

             (ก) ข้อความหรือเอกสาร ซึ่งยังเป็นความลับในการคณะสงฆ์หรือในราชการ

             (ข) ความลับหรือเอกสารลับ ซึ่งได้มาหรือทราบเรื่องด้วยปกติธุระหรือหน้าที่ของเขา

             (ค) วิธีการ แบบแผน หรืองานอย่างอื่น ซึ่งมีกฎหมายควบคุมมิให้เปิดเผย

           (๓)  ในกรณีที่ขัดข้อง.-โจทก์จำเลยหรือผู้นั้น

             (ก) อาจปฏิเสธไม่ยอมให้การดังกล่าวแล้วหรือ

             (ข) อาจปฏิเสธไม่ยอมส่งพยานหลักฐานดังกล่าวนั้น

     เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากการคณะสงฆ์ หรือทางราชการหรือจากบุคคลนั้น

           (๔)  การปฏิบัติ. – คณะผู้พิจารณาอาจแจ้งให้

             (ก) ทางการคณะสงฆ์ที่เกี่ยวกับความลับนั้น

             (ข) ทางราชการที่เกี่ยวกับความลับนั้น

             (ค) บุคคลที่เกี่ยวกับความลับนั้น

     มาชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่สมควรให้การหรือไม่สมควรส่งพยานหลักฐานดังกล่าวนั้น โดยแจ้งชัดต่อคณะผู้พิจารณา