หมวด ๕
วิธีบังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรม
—————————–
อันวิธีบังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรมนั้น เป็นวิธีที่สำคัญอย่างยิ่งในการใช้กฎมหาเถรสมาคมฉบับนี้ ขอกำหนดประเด็นเป็น ๒ คือ
๑. วิธีบังคับตามปกติ
๒. วิธีบังคับในกรณีพิเศษ
๑. วิธีบังคับตามปกติ
ตามข้อ ๖๑ กำหนดวิธีบังคับตามปกติ แยกได้เป็น ๒ คือ คำวินิจฉัยหรือคำสั่งถึงที่สุด ผู้บังคับและวิธีบังคับ
๑. คำวินิจฉัยหรือคำสั่งถึงที่สุด พอกำหนดได้
(๑) คำสั่งลงนิคหกรรม ตามข้อ ๑๓ (๑) ข้อ ๑๕ (๑) และข้อ ๑๖ (๑)
(๒) คำสั่งลงนิคหกรรม ตามข้อ ๑๖ (๒) ข.
(๓) คำวินิจฉัยชั้นต้น
(๔) คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์
(๕) คำวินิจฉัยชั้นฎีกา
๒. ผู้บังคับและวิธีบังคับ
(๑) คณะผู้พิจารณาซึ่งอ่านคำวินิจฉัย
(ก) อ่านคำวินิจฉัยและให้คู่กรณีลงนามรับทราบ
(ข) แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดเพื่อบังคับตามคำวินิจฉัย
(๒) ผู้พิจารณา
(ก) ถ้าเป็นเจ้าสังกัดให้บังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรมเอง
(ข) ถ้าเป็นเจ้าของเขตให้แจ้งผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดเพื่อบังคับตามคำวินิจฉัย
(ค) ถ้าลงนิคหกรรมให้สึก ให้บันทึกหนังสือสุทธิหน้า ๑ และส่งไปยังเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัดเพื่อเก็บรักษาด้วย
ใน (๑) (๒) นี้ กรณีใดที่จำเลยหรือผู้ถูกสั่งลงนิคหกรรมแล้วยอมปฏิบัติทันที ก็แจ้งให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ แต่มิต้องแจ้งให้บังคับตามคำวินิจฉัย
๓. ผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด
(๑) บังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรม
(๒) รายงานให้ผู้แจ้งทราบผลการบังคับตามคำวินิจฉัยนั้น
(๓) ถ้านิคหกรรมให้สึก ให้บันทึกในหนังสือสุทธิหน้า ๑ แล้วส่งไปยังเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัดเพื่อเก็บรักษาด้วย
๒. วิธีบังคับในกรณีพิเศษ
ตามข้อ ๖๑ กำหนดวิธีบังคับในกรณีพิเศษไว้ พอแยกเป็นประเด็นได้ ๓ ประเด็นคือ หลักเกณฑ์ การปฏิบัติ และกำหนดโทษอาญา
๑. หลักเกณฑ์.-อย่างใดอย่างหนึ่ง
(๑) จำเลยหรือผู้ถูกสั่งลงนิคหกรรมไม่ยอมรับนิคหกรรมให้สึก
(๒) จำเลยหรือผู้ถูกสั่งลงนิคหกรรมไม่ยอมรับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก และไม่ยอมสึกเมื่อมหาเถรสมาควินิจฉัยและมีคำสั่งให้สละสมณเพศ
๒. วิธีปฏิบัติ
(๑) ให้ผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดขออารักขาต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักร
(๒) เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรดำเนินการตามกฎหมาย
๓. กำหนดโทษอาญา
(๑) โทษอาญาตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕
(๒) ฐานละเมิดมาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
(๓) กำหนดระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
Hits: 1