ข้อแนะนำวิทยากร
ในการจัดประชุมเจ้าคณะอำเภอ
รองเจ้าคณะอำเภอ เลขานุการ
เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และรองเจ้าคณะตำบล
ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๐
ระหว่างวันที่ ๑-๖ มิถุนายน ๒๕๕๐
————————-
ในวาระที่เจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๐ จะจัดประชุมเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และรองเจ้าคณะตำบล ในสังกัด ตามมติมหาเถรสมาคมที่๔๑๔/๒๕๓๙ ได้ขอให้ภาคแนะนำตารางจัดประชุมและแนะนำผู้ควรเป็นวิทยากรแต่ละวิชา พร้อมกับจัดเอกสารประกอบคำบรรยายอีกส่วนหนึ่ง ภาคได้เตรียมพร้อมทุกอย่างและนัดชี้แนะแนวบรรยายแต่ละวิชา จึงบันทึกข้อแนะนำแต่ละวิชาแก่วิทยากร ดังต่อไปนี้
๑. ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้ประชุมทราบถึงรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ทุกส่วนรวมทั้งส่วนวัดซึ่งเป็นฐาน และระเบียบปกครองคณะสงฆ์ทั้งส่วนหลักและส่วนย่อย โดยการบรรยายตามลำดับแล้วสรุปเทียบองค์พระเจดีย์
๑) ความเบื้องต้น
๒) รูปแบบการปกครอง ชี้แจงส่วนสูง คือ สกลมหาสังฆปริณายก-สมเด็จพระสังฆราช-มหาเถรสมาคม ให้เชื่อมโยงกับระเบียบการปกครองคณะสงฆ์
๓) ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง
(๑) ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง
ก) ส่วนหลัก – การ, ผู้รับมอบงาน, เขตปกครอง, เจ้าคณะในส่วนกลาง
ข) ส่วนย่อย – อำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ เป็นต้น
(๒) ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
ก) ส่วนหลัก – เขตปกครอง ๑ ผู้ปกครอง ๑
ข) ส่วนย่อย – อำนาจหน้าที่เจ้าคณะ เป็นต้น
(๓) ระเบียบการปกครองส่วนวัด
ก) ส่วนหลัก – วัด ๑ ผู้ปกครองวัด ๑
ข) ส่วนย่อย – หน้าที่และอำนาจ เป็นต้น
๒. อำนาจหน้าที่เจ้าคณะอำเภอและรองเจ้าคณะอำเภอ
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบถึงอำนาจหน้าที่ ตามข้อ ๒๐ และ ๒๒ กฎ ๑๕ ซึ่งเป็นอำนาจรวม และแยกชี้แจงตามลักษณะ ๖ ประเด็น
(๑) อำนาจหน้าที่ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์
(๒) อำนาจหน้าที่ควบคุมและส่งเสริมการคณะสงฆ์
(๓) อำนาจหน้าที่ระงับอธิกรณ์วินิจฉัยการลงนิคหกรรมและวินิจฉัยปัญหาอื่น
(๔) อำนาจหน้าที่แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าคณะตำบล
(๕) อำนาจหน้าที่ควบคุมและบังคับบัญชา
(๖) อำนาจหน้าที่ตรวจตราชี้แจงแนะนำ
ส่วนอำนาจหน้าที่รองเจ้าคณะอำเภอนั้น ชี้ให้ชัดว่า เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอ มีอำนาจหน้าที่ตามที่เจ้าคณะอำเภอมอบหมาย และเจ้าคณะอำเภอควรมอบหมายโดยแท้
๓. อำนาจหน้าที่เจ้าคณะตำบลและรองเจ้าคณะตำบล
– ความมุ่งหมายอย่างเดียวกับเจ้าคณะอำเภอและรองเจ้าคณะอำเภอ ดูเทียบเอง
๔. การควบคุมและส่งเสริมการศาสนาศึกษา
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบเฉพาะเรื่องการศาสนศึกษา
๑) อะไรเป็นตัวศาสนศึกษา มีหลักการอย่างไร
๒) วัตถุประสงค์ที่คาดว่าน่าจะมี
๓) คณะสงฆ์ควรมีนโยบายอย่างไร
๔) ใครเป็นผู้จัดการศาสนศึกษา
๕) ใครเป็นผู้ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา
๖) การควบคุมการศาสนศึกษาคือทำอย่างไร
๗) การส่งเสริมการศาสนาศึกษาคือทำอย่างไร
๕. การควบคุมและส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบชัดเจนเฉพาะเรื่องการศึกษาสงเคราะห์
๑) ลักษณะการศึกษาสงเคราะห์ที่คณะสงฆ์ดำเนินการ
(๑) ตัวการศึกษาสงเคราะห์ที่พระสงฆ์ดำเนินการเอง
(ก) โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
(ข) โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
(ค) ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
(ง) ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
(๒) การช่วยเหลือการศึกษาอื่นตลอดจนช่วยเหลือบุคคล
๒) ใครเป็นผู้จัดการศึกษาสงเคราะห์
๓) ใครเป็นผู้ควบคุมและส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์
๔) การควบคุมการศึกษาสงเคราะห์คือทำอย่างไร
๕) การส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์คือทำอย่างไร
๖. การควบคุมและส่งเสริมการสาธารณสงเคราะห์
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบเฉพาะเรื่องการสาธารณสงเคราะห์
๑) โดยลักษณะแยกเป็น
(๑) การดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล
(๒) การช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่นซึ่งเป็นไปเพื่อการสาธารณสงเคราะห์
(๓) การช่วยเหลือเกื้อกูลสถานที่อันเป็นสาธารณสมบัติ
(๔) การช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนทั่วไป
๒) ใครเป็นผู้จัดการผู้ควบคุมและผู้ส่งเสริมการสาธารณสงเคราะห์
๓) การควบคุมและส่งเสริมการสาธารณสงเคราะห์คือทำอย่างไร
๗. การควบคุมและส่งเสริมการสาธารณูปการ
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบเฉพาะการสาธารณูปการ
๑) การสาธารณูปการ หมายถึง
(๑) การก่อสร้างเสนาสนะในวัด
(๒) การบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะในวัด
(๓) กิจการอันเกี่ยวกับการวัด
(๔) กิจการของวัดอื่น ๆ
(๕) การศาสนสมบัติของวัด (ศบว.)
๒) ใครเป็นผู้จัดการสาธารณูปการ
(๑) เจ้าอาวาส
(๒) เจ้าคณะ
(๓) เจ้าหน้าที่ทางราชการ
(๔) ผู้เจริญด้วยศรัทธาช่วยการวัดและการคณะสงฆ์
๓) ลักษณะงานสาธารณูปการ
(๑) การกระทำด้วยแรงความคิดแรงงานและทุนทรัพย์รวมถึงการควบคุม
(๒) การกระทำด้วยเอกสารรายงาน
(๓) การกระทำโดยจัดประโยชน์
๔) การควบคุมการสาธารณูปการ
(๑) ควบคุมผังวัดและแบบแปลนอาคาร
(๒) ควบคุมการแบบแปลนอาคารโดยให้รักษาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
(๓) ควบคุมการเงินและบัญชี
(๔) ควบคุมเอกสารต่าง ๆ
(๕) ควบคุมการจัดศาสนสมบัติของวัด
๕) การส่งเสริมการสาธารณูปการ
(๑) ตรวจตราเยี่ยมเยียนวัดที่มีการพัฒนา
(๒) แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าอาวาส
(ก) ในการจัดหาช่าง
(ข) ในการดูแบบแปลนและผังวัด
(ค) ในด้านทุนการก่อสร้างด้วยการขอเงินงบประมาณอุดหนุน
(ง) ชี้แจงแนะนำการปฏิบัติงานสาธารณูปการ
(จ) ขจัดความขัดแย้งซึ่งมีการสาธารณูปการเป็นเหตุ
(๓) แนะนำการจัดงานวัดและการเรี่ยไร
(๔) ยกย่องฐานะวัดที่มีการพัฒนาดี
(๕) ยกย่องฐานะเจ้าอาวาสผู้มีผลงานมาก
(๖) แนะนำชี้แจงการจัดประโยชน์
๘. การปฏิบัติในการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติและอื่น ๆ
๑) หลักเกณฑ์
(๑) หน่วยควบคุมและผู้ปฏิบัติ
(๒) หลักเกณฑ์การเดินทาง
(๓) หลักเกณฑ์การปฏิบัติ
(๔) คุณสมบัติของผู้เดินทาง
(๕) กรณียะที่ยกเป็นเหตุขออนุญาต
(๖) หลักปฏิบัติเฉพาะกรณีตามข้อ ๙ (๑)
(๗) หลักปฏิบัติเฉพาะกรณีตามข้อ ๙ (๒)
(๘) คุณสมบัติเฉพาะผู้ไปศึกษาตามข้อ ๙ (๒)
๒) วิธีการปฏิบัติ
(๑) การยื่นหนังสือขออนุญาต
(๒) การพิจารณาดำเนินการ
(๓) การพิจารณาอนุมัติ
(๔) การอนุญาตเป็นครั้งคราวผู้สังกัดจังหวัดชายแดน
๓) ข้อจำกัดบางประการ
๔) การต่ออายุหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ
๕) หนังสือขออนุญาต
๙. สมณศักดิ์
ความมุ่งหมาย ให้ทราบเรื่องสมณศักดิ์เฉพาะบางประเภท
๑) ประเภทสมณศักดิ์
(๑) สมเด็จพระราชาคณะ
(๒) พระราชาคณะ
(๓) พระครูสัญญาบัตร
(๔) ฐานานุกรม
(๕) เปรียญ
(๖) ประทวนสมณศักดิ์
(๗) พระพิธีธรรม
๒) พระครูสัญญาบัตร
(๑) ชั้นพิเศษ
(๒) ชั้นเอก
(๓) ชั้นโท
(๔) ชั้นตรี
(๕) มิได้จัดชั้น
๓) ประทวนสมณศักดิ์
๔) วิธีการขอสมณศักดิ์
(๑) ขอพระราชทานสมณศักดิ์
(๒) ขอประทานเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการ
(๓) ขอประทานประทวนสมณศักดิ์
(๔) การจัดทำประวัติ
(๕) ระยะส่งประวัติขอ
๑๐. พระอุปัชฌาย์
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบเฉพาะเรื่องพระอุปัชฌาย์บางอย่าง
(๑) พระอุปัชฌาย์หมายถึงใคร
(๒) ประเภทของพระอุปัชฌาย์
(๓) แนวปฏิบัติในการขอแต่งตั้ง
(๔) ระยะรวมประวัติส่งขอแต่งตั้ง
๑๑. ปัญหาสังคม
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ทราบเรื่องสังคมและการแก้ไขปัญหา
๑) ความหมายเฉพาะคำ
(๑) ปัญหา หมายถึง ข้อสงสัย ๑ คำถาม ๑ ข้อที่ต้องแก้ไข ๑
(๒) สังคม หมายถึง คนจำนวนหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบกฎเกณฑ์โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน
(๓) ปัญหาสังคม หมายถึง ข้อสงสัยหรือคำถามหรือข้อที่ต้องแก้ไขซึ่งเกิดขึ้นในสังคม
๒) การแบ่งสังคม
(๑) สังคมบ้าน
(๒) สังคมเมือง
(๓) สังคมนคร
(๔) สังคมวัด
๓) สภาพปัญหาสังคม
(๑) สังคมบ้าน
(ก) ปัญหาความเป็นผู้ฝืดเคืองไร้ที่ทำมาหากิน
(ข) ปัญหาด้อยโอกาสทางการศึกษา
(ค) ปัญหาถูกเอารัดเอเปรียบหรือได้รับความเป็นธรรมจากสังคมส่วนน้อย
(ง) ปัญหาการปลุกปั่นให้มีการทวงสิทธิประท้วงขอความเป็นธรรม
(จ) ปัญหามั่วสุมในอบายมุข เช่น การพนัน
(ฉ) ปัญหาถูกยั่วยุให้ติดยาเสพติดให้โทษและถูกหลอกลวง
(๒) สังคมเมือง
(ก) ปัญหาเอารัดเอาเปรียบกันของคนในสังคม
(ข) ปัญหาข้าราชการประพฤติมิชอบ เช่น แบ่งพรรค แบ่งพวก
(ค) ปัญหาค้าประเวณีอันเป็นเหตุแห่งโรคเอสด์ และหายนะอื่น ๆ
(ง) ปัญหายาเสพติดให้โทษ เช่น ยาบ้า
(จ) ปัญหาอบายมุข เช่น การพนัน
(ฉ) ปัญหาโจรกรรมและอาชญากรรม
(๓)สังคมนคร มีเพิ่มจากสังคมเมืองอีก
(ก) ปัญหามลภาวะ เช่น จราจรติดขัด อากาศเป็นพิษ
(ข) ปัญหาแหล่งสลัม เช่น ชุมชนแออัดยัดเยียด
(ค) ปัญหาสถานเริงรมณ์ เช่น สถานอาบ อบ นวด
(ง) ปัญหาหลอกลวงต้มตุ๋น
(จ) ปัญหาอื่น ๆ
(๔) สังคมวัด
(ก) ปัญหามีผู้ประพฤติไม่ตรงหลักพระธรรมวินัย
(ข) ปัญหามีผู้แสวงลาภสักการะในทางมิชอบ
(ค) ปัญหามีผู้แสวงหาตำแหน่งหน้าที่และสมณศักดิ์โดยไม่เหมาะสม
(ง) ปัญหาสังคมถูกต้มหลอกลวงเพราะมุ่งลาภมิควรได้
(จ) ปัญหาสังคมวัดถูกใส่ร้ายป้ายสีเพราะความขัดแย้งเป็นเหตุ
(ฉ) ปัญหาความขัดแย้งกับสังคมบ้านสังคมเมืองและสังคมนครเพราะผลประโยชน์และความเห็นไม่ตรงกัน
๔) เหตุให้เกิดปัญหาสังคม
(๑) ความตกต่ำทางเศรษฐกิจบีบคั้น
(๒) อิทธิพลอารยธรรมตะวันตกแผ่ปกคลุม
(๓) ค่านิยมแปรเปลี่ยนเร็วเกินกว่าเหตุ (วัตถุนิยม)
(๔) ละทิ้งคุณธรรมทางพระพุทธศาสนา
(๕) ปล่อยใจตามกระแสข่าวที่สื่อมวลชนยั่วยุ
(๖) พระภิกษุสามเณรลดค่านิยมทางการศาสนศึกษา
(๗) พระภิกษุสามเณรขาดสังคหวัตถุธรรม
(๘) ทุกสังคมขาดทิฏฐิสามัญญตา
(๙) รัฐมีทุนพัฒนาจิตด้วยคุณธรรมทางพระศาสนาน้อยกว่าทุนพัฒนาวัตถุ
๕) การแก้ไขปัญหาสังคม
(๑) หน่วยงานของคณะสงฆ์ที่ช่วยได้
(ก) วัด
(ข) หน่วย อ.บ.ต.
(ค) กองงานพระธรรมทูต
(ง) เจ้าคณะทุกส่วนทุกชั้น
(๒) ธรรมะที่ต้องใช้ในการแก้ไขปัญหา เช่น
(ก) ทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์
(ข) กรรมและวิบากแห่งกรรม
(ค) ศีลห้าและเบญจธรรม
(ง) พรหมวิหารธรรมและการเว้นอคติ ๔
(จ) โทษของอบายมุข และอานิสงส์การเว้นอบายมุข
(ฉ) พุทธิศึกษาและจริยศึกษา
(ช) กตัญญูกตเวทิตาธรรม
(ฌ) ทิฏฐิสามัญญตา
(ญ) สามัคคีธรรมและสังคหวัตถุธรรม
(ฏ) ทิศ ๖ ตามหลักพุทธศาสนา
ขอให้วิทยากรทุกท่านได้ศึกษาให้เข้าใจและบรรยายถวายความรู้ต่อที่ประชุมตามแนวเอกสารประกอบคำบรรยายและข้อแนะนำนี้.
————-
พระเทพปริยัติสุธี
เจ้าคณะภาค ๑๐
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
Views: 6