กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑)

กฎมหาเถรสมาคม

ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) [1]

ว่าด้วยการลงนิคหกรรม

——————-

         อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมไว้ ดังต่อไปนี้

         ข้อ ๑ กฎมหาเถรสมาคมนี้ เรียกว่า “ กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม”

         ข้อ ๒ กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป

         ข้อ ๓ นับแต่วันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ยกเลิกกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ และให้ยกเลิกข้องบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นเกี่ยวกับคณะสงฆ์ในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในกฎมหาเถรสมาคมนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้

ลักษณะ ๑
บทนิยาม

         ข้อ ๔ ในกฎมหาเถรสมาคมนี้

              (๑) “พระภิกษุ” หมายถึง

                   ก. พระภิกษุซึ่งมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์ รวมถึงพระภิกษุซึ่งดำรงสมณศักดิ์ต่ำกว่าชั้นพระราชาคณะ และ

                   ข. พระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ รวมถึงพระภิกษุผู้เป็นกิตติมศักดิ์ ผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้า๕ระ ผู้ดำรงตำแหน่งเทียบพระสังฆาธิการ และผู้ดำรงสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะขึ้นไป

              (๒) “ความผิด” หมายถึงการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย

              (๓) “นิคหกรรม” หมายถึงการลงโทษตามพรธรรมวินัย

              (๔)  “ผู้มีส่วนได้เสีย” หมายถึงพระภิกษุปกตัตตะ ซึ่งมีสังกัดในวัดเดียวกันและมีสังวาสเสมอกันกับพระภิกษุผู้เป็นจำเลย

              (๕)  “ผู้เสียหาย” หมายถึงผู้ได้รับความเสียเฉพาะตัว เนื่องจากการกระทำความผิดของพระภิกษุผู้เป็นจำเลย และหมายความรวมถึงผู้จัดการแทนผู้เสียหายในกรณีดังต่อไปนี้

                   ก. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลตามกฎหมาย หรือตามที่พระภิกษุผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมพิจารณาเห็นสมควรให้เป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย  เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งอยู่ในความดูแล

                   ข. ผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภรรยา พี่น้องร่วมบิดารมารดา หรือต่างบิดาหรือต่างมารดา เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งผู้เสียหายตายก่อนหรือหลังฟ้องหรือป่วยเจ็บไม่สามารถจะจัดการเองได้

                   ค. ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำแก่นิติบุคคล

              (๖) “โจทก์” หมายถึง

                   ก. ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องพระภิกษุต่อพระภิกษุผู้พิจารณาในข้อหาว่าได้กระทำผิด หรือ

                   ข.   พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์ในชั้นพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้ถูกกล่าวหา

              (๗) “จำเลย” หมายถึง

                   ก. พระภิกษุซึ่งถูกโจทก์ฟ้องต่อพระภิกษุผู้พิจารณา ในข้อหาได้กระทำความผิด หรือ

                   ข. พระภิกษุผู้ถูกล่าวหาซึ่งตกเป็นจำเลยในชั้นพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม

              (๘) “ผู้กล่าวหา” หมายถึง ผู้บอกกล่าวการกระทำความผิดของพระภิกษุต่อพระภิกษุผู้พิจารณา โดยที่ตนมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือมิได้เป็นผู้เสียและประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                   ก. เป็นพระภิกษุปกตัตตะหรือสามเณร ซึ่งถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระและมีสังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง

                   ข. เป็นคฤหัสถ์ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์มีความประพฤติเรียบร้อย มีวาจาเป็นที่เชื่อถือได้ และมีอาชีพเป็นหลักฐาน

              (๙) “ผู้แจ้งความผิด” หมายถึงพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ ซึ่งไม่มีอำนาจลงนิคหกรรมแจ้งการกระทำความผิด หรือพฤติการณ์อันเป็นที่น่ารังเกียจสงสัยในความผิดของพระภิกษุซึ่งได้พบเห็นต่อพระภิกษุผู้พิจารณา

              (๑๐) “ผู้ถูกกล่าวหา” หมายถึง

                   ก. พระภิกษุซึ่งถูกผู้กล่าวหาบอกกล่าวการกระทำความผิดต่อพระภิกษุผู้พิจารณา

                   ข. พระภิกษุซึ่งผู้แจ้งความผิด แจ้งการกระทำความผิด หรือพฤติการณ์อันเป็นที่น่ารังเกียจสงสัยในความผิดต่อพระภิกษุผู้พิจารณา

              (๑๑) “ผู้มีอำนาจลงนิคหกรรม” หมายถึง พระภิกษุผู้พิจารณาและคณะผู้พิจารณา

              (๑๒) “เจ้าสังกัด” หมายถึง พระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ชั้นเจ้าอาวาส เจ้าคณะเจ้าสังกัด ซึ่งมีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุผู้กระทำความผิดในเขตจังหวัดที่สังกัดอยู่

              (๑๓) “เจ้าของเขต” หมายถึง พระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ชั้นเจ้าคณะซึ่งเป็นเจ้าของเขต ซึ่งมีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุผู้กระทำความผิดในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่

              (๑๔) “ผู้พิจารณา” หมายถึง เจ้าสังกัดหรือเจ้าของเขตแล้วแต่กรณี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวิธีปฏิบัติเบื้องต้น

              (๑๕) “คณะผู้พิจารณา” หมายถึง มหาเถรสมาคม และคณะผู้พิจารณา ซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งสูงเป็นหัวหน้า มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวิธีไต่สวนมูลฟ้อง และวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม

              (๑๖) “คณะผู้พิจารณาชั้นต้น” หมายถึง คณะผู้พิจารณาตามความในข้อ ๒๔ ซึ่งประกอบด้วยอันดับ ๗ อันดับ ตามข้อ ๗ มีอำนาจลงนิคหกรรม ตามวิธีไต่สวนมูลฟ้องและวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น

              (๑๗) “คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์” หมายถึง คณะผู้พิจารณาตามความในข้อ ๒๕ ซึ่งประกอบด้วยอันดับ ๕ อันดับ มีอำนาจลงนิคหกรรมตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์

              (๑๘) “คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกา” หมายถึง คณะผู้พิจารณาตามความในข้อ ๒๖ ซึ่งเป็นชั้นและอันดับสูงสุด ตามข้อ ๒๗ มีอำนาจลงนิคหกรรม ตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา

ลักษณะ ๒
ผู้มีอำนาจลงนิคหกรรม

         ข้อ ๕ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุซึ่งมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์รูปเดียว หรือหลายรูป ซึ่งมีสังกัดในวัดเดียวกัน

              (๑) ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสเจ้าสังกัด

              (๒) ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่พระภิกษุนั้นมิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบลเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้า๕ระอำเภอและเจ้าคณะตำบลเจ้าของเขต ถ้าไม่มีรองเจ้า๕ระอำเภอ ให้เจ้าคณะอำเภอเลือกเจ้าคณะตำบลในอำเภอนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป เว้นแต่ในกรณีที่อำเภอนั้นมีตำบลเดียว

         กรณีดังกล่าวใน (๒) ให้ผู้พิจารณาแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นแก่เจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัดเพื่อแจ้งแก่เจ้าคณะและเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดของพระภิกษุนั้นทราบ

         ข้อ ๖ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุซึ่งมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์ ซึ่งมีสังกัดต่างวัดกระทำความผิดร่วมกัน

              (๑) ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่พระภิกษุเหล่านั้นสังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดของพระภิกษุเหล่านั้นร่วมกันเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคระตำบลเจ้าสังกัดร่วมกับเจ้าอาวาสเจ้าสังกัด ของพระภิกษุเหล่านั้นรูปใดรูปหนึ่งตามที่เจ้าคณะตำบลและเจ้าคณะอำเภอนั้นพิจารณาเห็นสมควร

              (๒) ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่พระภิกษุเหล่านั้นมิได้สังกัดอยู่หรือในเขตจังหวัดที่สังกัดเพียงบางรูป ให้นำความในข้อ ๕ (๒) และวรรคสุดท้ายมาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ข้อ ๗ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้ปกครอง ซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

              (๑) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือรองเจ้าอาวาส ให้นำความในข้อ ๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

              (๒) เจ้าอาวาส หรือรองเจ้าอาวาส

                   ก. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบล เจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา  ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะตำบลเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้า๕ระอำเภอ ให้เจ้า๕ระเลือกเจ้า๕ณะตำบลในอำเภอนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป เว้นแต่ในกรณีที่อำเภอนั้นมีตำบลเดียว

                   ข. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบลเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้า๕ระอำเภอ และเจ้าคณะตำบลเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้า๕ระอำเภอ ให้เจ้า๕ระเลือกเจ้า๕ณะตำบลในอำเภอนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป เว้นแต่ในกรณีที่อำเภอนั้นมีตำบลเดียว

              (๓) เจ้าคณะตำบล หรือรองเจ้าคณะอำเภอ

                   ก. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัด  รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะจังหวัด ให้เจ้าคณะจังหวัดเลือกเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป

                   ข. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะอำเภอเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัด  รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะจังหวัด ให้เจ้าคณะจังหวัดเลือกเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป

              (๔) เจ้าคณะอำเภอ หรือรองเจ้าคณะจังหวัด

                   ก. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะภาค  รองเจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะภาค ให้เจ้าคณะภาคเลือกเจ้าคณะจังหวัดในจังหวัดนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป

                   ข. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะจังหวัดเจ้าของเขตเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะภาค  รองเจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะภาค ให้เจ้าคณะภาคเลือกเจ้าคณะจังหวัดในจังหวัดนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป

              (๕) เจ้าคณะจังหวัด หรือรองเจ้าคณะภาค

                   ก. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตภาคสังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ เจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะใหญ่เลือกเจ้าคณะภาคในหนนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป

                   ข. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ เจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะใหญ่เลือกเจ้าคณะภาคในหนนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป

              (๖) เจ้าคณะภาค ให้เป็นอำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ในเขตปกครองเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม

              (๗) เจ้าคณะใหญ่ หรือกรรมมหาเถรสมาคม ให้เป็นอำนาจของสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม

         ตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น ให้ถือตำแหน่งในขณะถูกฟ้อง หรือถูกกล่าวหา ถ้าดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง ให้ถือตำแหน่งสูงเป็นหลักดำเนินการ

         กรณีดังกล่าวใน (๒) และ (๓) ถ้าผู้พิจารณานั้นมิใช่เจ้าสังกัดของจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหา ให้แจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นแก่เจ้าสังกัด ซึ่งดำรงตำแหน่งชั้นเดียวกับตนทราบ

         ข้อ ๘ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุทรงกิตติมศักดิ์ก็ดี ผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะก็ดี ผู้ดำรงตำแหน่งเทียบพระสังฆาธิการก็ดี ให้นำความในข้อ ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ข้อ ๙ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุทรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นต่าง ๆ ถ้าเป็น

              (๑) พระราชาคณะชั้นสามัญหรือชั้นราช ซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าคณะจังหวัดหรือมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์ ให้นำความในข้อ ๗ (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

              (๒) พระราชาคณะชั้นเทพ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้า๕ณะภาค หรือมิใช่ผู้ปกครองคณะสงฆ์ ให้นำความในข้อ ๗ (๕) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

              (๓) พระราชาคณะชั้นธรรมขึ้นไป ซึ่งดำรงตำแหน่งปกครองสงฆ์หรือมอใช่ผู้ปกครองสงฆ์ ให้นำความในข้อ ๗ (๗) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ถ้าพระราชาคณะรูปนั้นดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส ให้เจ้าอาวาสเจ้าสังกัดเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขึ้นอีกรูปหนึ่งเฉพาะในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม

         ข้อ ๑๐ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดร่วมกัน

              (๑) ในระหว่างพระภิกษุดังกล่าวในข้อ ๕ หรือข้อ ๖ กับพระภิกษุในข้อ ๗ หรือข้อ ๘ และหรือข้อ ๙

              (๒) ในระหว่างพระภิกษุดังกล่าวในข้อ ๗ หรือข้อ ๘ และหรือข้อ ๙

         ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ให้นำความในข้อ ๗ หรือข้อ ๘ หรือข้อ ๙ มาใช้บังคับแล้วแต่กรณี แต่ถ้าปรากฏว่าเป็นกรณีที่มีผู้พิจารณาหลายรูป ศึ่งดำรงตำแหน่งสูงต่ำกว่ากันให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งสูงกว่า ถ้าดำรงตำแหน่งชั้นเดียวกน ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น

         ข้อ ๑๑ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุ ซึ่งเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร เมื่อพระภิกษุผู้กระทำความผิดนั้นกลับเข้ามาราชอาณาจักร

              (๑) ถ้ากลับมาสำนักอยู่ในเขตที่พระภิกษุผู้กระทำความผิดสังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์เจ้าสังกัด

              (๒) ถ้ากลับมาสำนักอยู่ในเขตที่พระภิกษุผู้กระทำความผิดมิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ ในเขตี่พระภิกษุผู้กระทำความผิดนั้นมาสำนักอยู่

         ในกรณีเช่นนี้ ให้นำความในข้อ ๕ ถึงข้อ ๑๐ แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ลักษณะ ๓
การลงนิคหกรรม

———–

หมวด ๑
วิธีปฏิบัติเบื้องต้น

         ข้อ ๑๒ เมื่อโจทก์ฟ้องพระภิกษุในข้อหาว่าได้กระทำความผิด โดยยื่นฟ้องเป็นหนังสือด้วยตนเองต่อเจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะสังกัด หรือเจ้าคณะของเขตในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผู้พิจารณามีอำนาจลงนิคหกรรมตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ แล้วแต่กรณี เว้นแต่โจทก์ไม่สามารถจะไปยื่นฟ้องด้วยตนเอง จะมีหนังสือมอบให้ผู้ใดผู้หนึ่งไปยื่นฟ้องนั้นก่อน

         ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ให้พระภิกษุผู้พิจารณาตรวจลักษณะของโจทก์และลักษระของคำฟ้องนั้นก่อน

              (๑) ถ้าปรากฏว่า โจทก์ประกอบด้วยลักษณะตามข้อ ๔ (๖) ก. และคำฟ้องของโจทก์ด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้

                   ก. ฟ้องโดยระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดอันเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วย โดยสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี

                   ข. เรื่องที่นำมาฟ้อง มิใช่เป็นเรื่องเก่าอันมิได้คิดจะฟ้องมาแต่เดิม

                   ค. เรื่องที่นำมาฟ้อง มิใช่เรื่องที่มีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมถึงที่สุดแล้ว

                   ง. เรื่องที่นำมาฟ้อง มิใช่เรื่องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฝ่ายราชอาณาจักร หรือมอใช่เรื่องที่มีคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลฝ่ายราชอาณาจักรถึงที่สุด เว้นแต่กรณีที่มีปัญหาทางพระวินัย

         ในกรณีเช่นนี้ ให้สั่งรับคำฟ้องนั้นไว้เพื่อพิจารณาดำเนินการตามความในข้อ ๑๓

              (๒) ถ้าปรากฏว่า โจทก์หรือคำฟ้องของโจทก์บกพร่องจากลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวใน (๑) ให้สั่งไม่รับคำฟ้องนั้น โดยระบุข้อบกพร่องไว้ในคำสั่ง และแจ้งให้โจทก์ทราบ

         ก่อนสั่งรับคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้อง ตามความในข้อ (๑) หรือ (๒) ข้างต้นจะสอบถามโจทก์ให้ชี้แจงในเรื่องใด ๆ ซึ่งเกี่ยวกับลักษณะของโจทก์ หรือลักษณะของคำฟ้องนั้นเป็นที่สงสัยก็ได้ และให้จดคำชี้แจงโจทก์นั้นไว้ประกอบการพิจารณาด้วย

         ข้อ ๑๓ ในกรณีที่พระภิกษุผู้พิจารณาสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลย ตามข้อ ๔ (๗) แจ้งคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยทราบแล้วสอบถามและจดคำให้การของจำเลยไว้ โดยให้จำเลยลงชื่อในคำให้การนั้นด้วย ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

              (๑) ถ้าจำเลยให้การับสารภาพตามคำฟ้องของโจทก์ ให้มีอำนาจสั่งลงนิคหกรรมแก่จำเลย ตามคำรับสารภาพนั้น

              ถ้าเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายในทางแพ่ง เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันประการใด ให้บันทึกข้อตกลงนั้นไว้ และให้โจทก์จำเลยพร้อมด้วยพยานลงชื่อในบันทึกข้อตกลงนั้นด้วย

              (๒) ถ้าจำเลยให้การแบ่งรับความผิดเบากว่า หรือน้อยกว่าที่ถูกฟ้องก็ดีให้การปฏิเสธก็ดี ให้รายงานพร้อมทั้งส่งคำฟ้องต่อ๕ณะผู้พิจารณาชั้นต้นตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ แล้วแต่กรรี เพื่อดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป

         ข้อ ๑๔ ในกรณีที่พระภิกษุผู้พิจารณาสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ ตามความในข้อ ๑๒ (๒) ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ โจทก์มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อ๕ระผู้พิจารณาชั้นต้น แล้วแต่กรณี โดยยื่นอุทธรณ์ตำสั่งนั้นเป็นหนังสือผู้ออกคำสั่งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันทราบคำสั่งนั้น และให้ผู้ออกคำสั่งส่งอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นต้นแล้วแต่กรณีภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์คำสั่งนั้น

         เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นได้รับอุทธรณ์คำสั่งนั้นแล้ว ให้วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ให้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังผู้ออกคำสั่ง เพื่อแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ออกคำสั่งนั้นแก่โจทก์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้น

         ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้นวินิจฉัยสั่งให้รับคำฟ้องนั้น ให้ผู้ออกคำสั่งดำเนินการตามความในข้อ ๑๓ ต่อไป ถ้าวินิจฉัยสั่งไม่ให้รับคำฟ้องนั้น ให้เป็นอันถึงที่สุด

         ข้อ ๑๕ เมื่อมีผู้กล่าวหาบอกกล่าวการระทำความผิดของพระภิกษุ โดยยื่นคำกล่าวหาเป็นหนังสือด้วยตนเอง ต่อเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะเจ้าสังกัด หรือเจ้าคณะเจ้าของเขต ในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผู้พิจารณามีอำนาจลงนิคหกรรมตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ แล้วแต่กรณี

         ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ให้พระภิกษุผู้พิจารณาตรวจลักษณะของผู้กล่าวหาตามข้อ ๓ (๘) ก. และลักษณะของคำกล่าวหาโดยอนุโลมตามลักษณะของคำฟ้องดังที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) ก่อน

                   (๑) ถ้าปรากฏว่าผู้กล่าวหาและคำกล่าวหานั้นต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในวรรคต้น ให้สั่งรับคำกล่าวหาไว้พิจารณาดำเนินการตามความในข้อ ๑๓ โดยอนุโลม ถ้าผู้ถูกกล่าวหาให้การแบ่งรับความผิดเบากว่าหรือน้อยกว่าที่ถูกกล่าวหาก็ดี ให้การปฏิเสธก็ดี ตามความในข้อ ๑๓ (๒) และเมื่อได้ไต่สวนมูลคำกล่าวหาแล้ว ปรากฏว่าคำกล่าวหานั้นไม่มีมูล ให้เป็นอันถึงที่สุด โดยอนุโลมตามความในข้อ ๒๑ (๒)

                   (๒) ถ้าปรากฏว่าผู้กล่าวหาหรือคำกล่าวหานั้นบกพร่องจากลักษณะดังกล่าวในวรรคต้น ให้สั่งไม่รับคำกล่าวหานั้น โดยระบุข้อบกพร่องไว้ในคำสั่งและแจ้งให้ผู้กล่าวหาทราบ แต่ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ ให้สั่งไม่รับคำกล่าวหานั้นโดยความเห็นชอบของคระผู้พิจารณาชั้นต้น ตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ แล้วแต่กรณี คำสั่งไม่รับคำกล่าวหานั้นให้เป็นอันถึงที่สุด

         วิธีปฏิบัติก่อนสั่งรับคำกล่าวหาหรือไม่รับคำกล่าวหา ให้นำความในข้อ ๑๒ วรรคท้ายมาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ข้อ ๑๖ เมื่อพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ได้พบเห็นเหตุการณ์อันเป็นที่น่ารังเกียจสงสัยในความผิดของพระภิกษุ หรือพบเห็นการกระทำความผิดของพระภิกษุ

              (๑) ถ้าผู้พบเห็นนั้น ไม่มีอำนาจลงนิคหกรรม ให้แจ้งพฤติการณ์หรือการกระทำความผิดที่ได้พบเห็นนั้นเป็นหนังสือไปยังเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะเจ้าสังกัดหรือเจ้าคณะเจ้าของเขตในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผู้พิจารณามีอำนาจลงนิคหกรรมตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการตามความในข้อ ๑๓ โดยอนุโลม ถ้าผู้กล่าวหาให้การแบ่งรับความผิดเบากว่าหรือน้อยกว่าที่ถูกกล่าวหาก็ดี การปฏิเสธก็ดี ตามความในข้อ ๑๓ (๒) และเมื่อได้ไต่สวนมูลคำแจ้งความผิดนั้นแล้ว ปรากฏว่าคำแจ้งความผิดนั้นไม่มีมูล ให้เป็นอันถึงที่สุด โดยอนุโลมตามความในข้อ ๒๑ (๒)

              (๒) ถ้าผู้พบเห็นนั้น เป็นเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะเจ้าสังกัด หรือเจ้าคณะเจ้าของเขตในเขตที่ความผิดนั้นเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผู้พิจารณามีอำนาจลงนิคหกรรมตามที่กำหนดไว้ในลักษณะ ๒ แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

              ก. ในกรณีที่พบเห็นพฤติการณ์อันเป็นที่น่ารังเกียจสงสัยในความผิดให้ดำเนินการตามความในข้อ ๑๓ โดยอนุโลม ถ้าพระภิกษุผู้ต้องสงสัยในความผิดนั้นให้การแบ่งรับความผิดเบากว่าหรือน้อยกวี่ถูกรังเกียจสงสัยก็ดี หรือให้การปฏิเสธก็ดีให้ดำเนินการตามความในข้อ ๑๓ โดยอนุโลม และเมื่อได้ไต่สวนแล้ว ปรากฏว่าพฤติการณ์อันเป็นที่น่าสงสัยในความผิดนั้น ไม่มีมูล ให้เป็นอันถึงที่สุด โดยอนุโลมตามความในข้อ ๒๑ (๒)

              ข. ในกรณีพบเห็นการกระทำความผิดโดยประจักษ์ชัด ให้มีอำนาจสั่งลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุผู้กระทำความผิดนั้น โดยบันทึกพฤติการณ์และความผิดพร้อมด้วยคำสั่งลงนิคหกรรมนั้นไว้เป็นหลักฐาน และให้พระภิกษุผู้ถูกลงนิคหกรรมลงชื่อรับทราบไว้ด้วย

         คำสั่งลงนิคหกรรมตามความในข้อ (๒) ข. ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ พระภิกษุผู้ถูกลงโทษนิคหกรรมมีสิทธิ์อุทธรณ์และฎีกาได้แล้วแต่กรณี และให้นำความในหมวด ๓ ส่วนที่ ๓ และส่วนที่ ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๒
วิธีไต่ส่วนมูลฟ้อง

         ข้อ ๑๗ “มูลฟ้อง” หมายถึงมูลเหตุแก่งการฟ้องของโจทก์ ซึ่งฟ้องจำเลยด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

         (๑) ด้วยมูลเหตุที่โจทก์ได้พบเห็นการกระทำความผิดของจำเลยด้วยตนเอง

         (๒) ด้วยมูลเหตุที่เหตุที่โจทก์ได้ยินการกระทำความผิดของจำเลยด้วยคนเองหรือได้ฟังคำบอกเล่าที่มีหลักฐานอันควรเชื่อถือได้

         (๓) ด้วยมูลเหตุที่โจทก์รังเกียจสงสัย โดยมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าจำเลยได้กระทำความผิด

         ข้อ ๑๘ ในการไต่สวนมูลฟ้อง ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนจากพยานหลักฐาน ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นพยานบุคคล ยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ อันอาจพิสูจน์ให้เห็นข้อมูล ดังต่อไปนี้

         (๑) การกระทำของจำเลยที่โจทก์นำมาฟ้อง ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งพระวินัยหรือไม่

         (๒) การฟ้องของโจทก์ที่มูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ ๑๗ หรือไม่

         ข้อ ๑๙ การไต่สวนมูลฟ้อง ให้กระทำเป็นการลับ และนำให้ความในข้อ ๓๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อจะดำเนินการไต่สวนมูลฟ้อง ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นแจ้งวันเวลา และสถานที่ทำการไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์และจำเลยทราบ พร้อมทั้งส่งสำเนาคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยทราบด้วย

         โจทก์ต้องมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องทุกครั้ง ถ้าไม่มาตามที่ได้รับแจ้งติดต่อกัน ๓ ครั้ง โดยมิได้ชี้แจงถึงเหตุขัดข้องต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ให้เรื่องเป็นอันถึงที่สุด ส่วนจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องหรือจะไม่มาก็ได้

         ข้อ ๒๐ ก่อนไต่สวนมูลฟ้องหรือในระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง

         (๑) ถ้าจำเลยถึงมรณภาพ ให้เรื่องเป็นอันถึงที่สุด

         (๒) ถ้าโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความในข้อ ๔ (๔) ถึงมรณภาพก็ดี หรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายถึงมรณภาพหรือตาย โดยไม่มีผู้จัดการแทนในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ ๔ (๔) ก็ดี ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นแต่งตั้งพระภิกษุผู้ทรงวุฒิรูปใดรูปหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นโจทก์แทน

         ข้อ ๒๑ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องเสร็จแล้ว ให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

         (๑) ปรากฏว่าคำฟ้องเรื่องใดมีมูล ให้สั่งประทับฟ้อง แล้วดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

         (๒) ถ้าปรากฏว่าคำฟ้องเรื่องใดไม่มีมูล ให้สั่งยกฟ้อง และแจ้งให้โจทก์ทราบ

         ข้อ ๒๒ คำสั่งยกฟ้อง ตามข้อ ๒๑ (๒)

         (๑) ถ้าเป็นกรณีความผิดครุกาบัติ ซึ่งมิใช่คำสั่งของมหาเถรสมาคม โจทก์มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๕ แล้วแต่กรณี โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นเป็นหนังสือต่อผู้ออกคำสั่งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันทราบคำสั่งนั้น และให้ผู้ออกคำสั่งส่งอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นต้นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์คำสั่ง

         เมื่อคระผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์คำสั่งนั้นแล้ว ให้วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์ เมื่อวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นเสร็จแล้วให้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังผู้ออกคำสั่ง เพื่อแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนั้นแก่โจทก์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง

         ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำสั่งนั้นมีมูล ให้ดำเนินการตามความในข้อ ๒๑ (๑) ต่อไป ถ้าวินิจฉัยว่าคำฟ้องนั้นไม่มีมูล ให้เป็นอันถึงที่สุด

         (๒) ถ้าเป็นความผิดครุกาบัติ ซึ่งเป็นคำสั่งของมหาเถรสมาคมหรือเป็นกรณีความผิดลหุกาบัติ ให้เป็นอันถึงที่สุด

หมวด ๓
วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม

—————

ส่วนที่ ๑
หลักทั่วไป

         ข้อ ๒๓ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี ๓ ชั้น คือ

              (๑) ชั้นต้น

              (๒) ชั้นอุทธรณ์

              (๓) ชั้นฎีกา

         ข้อ ๒๔ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นตามที่กำหนดในลักษณะ ๒ แล้วแต่กรณี

         ข้อ ๒๕ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ซึ่งมีอันดับ ดังต่อไปนี้

         (๑) ถ้าเป็นกรณีอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งมีเจ้าคณะอำเภอเป็นหัวหน้า ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และรองเจ้า๕ระจังหวัดเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้า๕ระจังหวัดให้เจ้า๕ณะภาคพิจารณาเลือกเจ้าคณะจังหวัดในภาคเดียวกันเข้าร่วมอีก ๑ รูป

         (๒) ถ้าเป็นกรณีอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งมีเจ้าคณะจังหวัดเป็นหัวหน้า ให้เป็นอำนาจองคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค และรองเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะภาค ให้เจ้าคณะใหญ่พิจารณาเลือกเจ้าคณะภาคในหนเดียวกันเข้าร่วมอีก ๑ รูป

         (๓) ถ้าเป็นกรณีอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งมีเจ้าคณะภาคเป็นหัวหน้า  ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาคในหนนั้น ที่มิได้เข้าร่วมในการพิจารณาชั้นต้น ซึ่งเจ้าคณะใหญ่พิจารณาเลือกอีก ๒ รูป

         (๔) ถ้าเป็นกรณีอุทธรณ์คำสั่งวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งมีเจ้าคณะใหญ่เป็นหัวหน้า ให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม

         ข้อ ๒๖ การพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมชั้นฎีกา ให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคม

         ข้อ ๒๗ คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมไม่ว่ากรณีใด ให้เป็นอันถึงที่สุด

ส่วนที่ ๒
วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลวงนิคหกรรมชั้นต้น

         ข้อ ๒๘ ก่อนพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม โดยเฉพาะในกรณีที่มีผู้กล่าวหาตามความในข้อ ๑๕ (๑) หรือในกรณีที่มีผู้แจ้งความผิดตามความในข้อ ๑๖ (๑) หรือในกรณีตามความในข้อ ๑๖ (๒) ก. ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น แต่งตั้งพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิรูปใดรูปหนึ่งตามที่เห็นสมควร ให้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์

         ในกรณีเช่นนี้ ให้คระผู้พิจารณาชั้นต้นส่งสำเนาคำกล่าวหา หรือคำแจ้งความผิดรวมทั้งสำเนาบันทึกถ้อยคำสำเนาที่มีอยู่ให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์

         ข้อ ๒๙ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ให้กระทำในที่พร้อมหน้าโจทก์จำเลย เว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้

         (๑) โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาฟังการพิจารณาตามกำหนดที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นนัดหมายไว้ โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นหนังสือให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นทราบก่อนวันที่นัดหมาย ให้ถือว่าฝ่ายนั้นหรือทั้งสองฝ่ายสละสิทธิเข้าฟังการพิจารณา คณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีอำนาจดำเนินการพิจารณาต่อไปตามที่เห็นสมควร

         (๒) โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องที่จะมาฟังการพิจารณาตามกำหนดไม่ได้ และคณะผู้พิจารณาชั้นต้นพิจารณาไม่เห็นสมควรอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา

         (๓) โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ก่อความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในที่พิจารณา และคณะผู้พิจารณาชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์หรือจำเลยนั้นออกไปจากที่พิจารณาตามความในข้อ ๓๐ วรรค ๒ คณะผู้พิจารณาชั้นต้น มีอำนาจดำเนินการพิจารณาต่อไปตามที่เห็นสมควร

         ข้อ ๓๐ การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ให้กระทำเป็นการลับ บุคคล ดังต่อไปนี้ มีสิทธิ์อยู่ในที่พิจารณา คือ

         (๑) โจทก์จำเลย

         (๒) พยานเฉพาะที่กำลังให้การ

         (๓) ผู้ที่ได้รับเชิญมาเพื่อปฏิบัติการใด ๆ เกี่ยวกับการพิจารณา

         (๔) พระภิกษุผู้ทำหน้าที่จดบันทึกถ้อยคำสำนวน

         ถ้ามีผู้ใดก่อความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในที่พิจารณาหรือบริเวณที่พิจารณาคณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย  หรือสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากที่นั้นหรือบริเวณนั้นได้ และถ้าเป็นการสมควรจะขออารักขาต่อเจ้าหน้าฝ่ายราชการอาณาจักรให้มารักษาความสงบเรียบร้อยก็ได้

         ข้อ ๓๑ ในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ให้รวบรวมพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย หรือความบริสุทธิ์ของจำเลย ตามลักษณะแห่งพยานหลักฐานที่กำหนดไว้ในหมวด ๔

         เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาดังกล่าวในวรรคต้น ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

         (๑) แจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณา แก่โจทก์จำเลย

         (๒) ออกหนังสือเรียกพยานหรือบุคคลใด ๆ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ฟ้องนั้นมาให้ถ้อยคำ

         (๓) ออกหนังสือเรียกเอกสารหรือวัตถุสิ่งของจากบุคคลผู้ครอบครองหรือผู้ให้ผู้นั้นส่งเอกสารหรือวัตถุสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน

         (๔) ทำการตรวจตัวผู้เสียหายหรือตัวจำเลย ตรวจสถานที่ วัตถุสิ่งของหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โดยบันทึกรายละเอียดการตรวจไว้ด้วย

         (๕) แจ้งให้เจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะในเขตอื่นรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอันอยู่ในเขตนั้น หรือให้ชี้แจงพฤติการณ์ใด ๆ อันเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ฟ้องนั้น

         (๖) จดบันทึกถ้อยคำสำนวนการพิจารณาด้วยตนเอง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะให้มีพระภิกษุเป็นผู้จดบันทึกตามถ้อยคำผู้พิจารณาก็ได้

         (๗) ทำรายงานการพิจารณาแต่ละครั้งรวมไว้ในสำนวน ถ้านัดหมายเพื่อปฏิบัติการใด ให้บันทึกไว้ในรายงานนั้น และให้คู่กรณีผู้มาฟังการพิจารณาลงชื่อรับทราบไว้ด้วย

         ในกรณีที่คณะผู้พิจารณารูปใดรูปหนึ่งไม่อาจร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยมีเหตุสูดวิสัยให้ผู้พิจารณาอีก ๒ รูป ดำเนินการพิจาณาต่อไป

         กรณีดังกล่าวใน (๒) (๓) แล (๔) ถ้าเป็นการจำเป็นจะขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรเข้าร่วมดำเนินด้วยก็ได้

         ข้อ ๓๒ ในกรณีรวบรวมพยานหลักฐานตามความในข้อ ๓๑ วรรค ๑ ให้สืบพยานโจทก์ก่อนพยานจำเลย และก่อนสืบพยาน ให้โจทก์และจำเลยเสนอบัญชีระบุพยานหลักฐานของตนต่อผู้พิจารณาชั้นต้นล่วงหน้าก่อนถึงวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน  

         ถ้าโจทก์หรือจำเลยร้องขอระบุพยานหลักฐานของตนเพิ่มเติมในระหว่างสืบพยานหลักฐานฝ่ายตนยังไม่เสร็จ ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร

         เมือสืบพยานของฝ่ายใดไปแล้วพอสมควรแก่กรณี คณะผู้พิจารณาชั้นต้นจะสั่งให้งดการสืบพยานฝ่ายนั้นที่ยังมิได้สืบซึ่งเห็นว่าไม่จำเป็นก็ได้

         เมื่อสืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลยเสร็จแล้ว ถ้าเป็นปรากฏว่ายังมีพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเห็นสมควรสืบเพิ่มเติม ก็ให้ดำเนินการสืบพยานหลักฐานนั้นได้

         ข้อ ๓๓ ในการสืบพยานตามความในข้อ ๓๒ คณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีหน้าที่ซักถามพยานโจทก์และพยานจำเลย ตามประเด็นข้อกล่าวหาของโจทก์และประเด็นแก้ของจำเลยแล้วแต่กรณี แล้วเปิดโอกาสให้โจทก์และจำเลยซักถามพยานตามประเด็นดังกล่าวข้างต้น โดยคณะผู้พิจารณาชั้นต้นถามฝ่ายโจทก์ว่า จะซักถามพยานของตนอย่างไรบ้างหรือไม่ ถ้าโจทก์ซักถามแล้วหรือไม่ซักถาม ให้ถามฝ่ายจำเลยว่า จะซักค้านพยานโจทก์อย่างไรบ้างหรือไม่ เมื่อฝ่ายจำเลยซักค้านพยานโจทก์แล้ว ให้ถามฝ่ายโจทก์ว่าจะถามติงพยานฝ่ายตนอย่างไรบ้างหรือไม่

         ถ้าเป็นพยานฝ่ายจำเลย ให้๕ระผู้พิจารณาชั้นต้นถามฝ่ายจำเลยว่า จะซักถามพยานของตนอย่างไรบ้างหรือไม่ ถ้าจำเลยซักถามแล้วหรือไม่ซักถาม ให้ถามฝ่ายโจทก์ว่าจะซักถามค้านพยานจำเลยอย่างไรบ้างหรือไม่ เมื่อฝ่ายโจทก์ซักค้านพยานจำเลยแล้ว ให้ถามฝ่ายจำเลยว่าจะถามติงพยานฝ่ายตนอย่างไรบ้างหรือไม่ ทั้งนี้  ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นบันทึกการซักถาม ซักค้าน และถามติง ดังกล่าวไว้ในสำนวนพิจารณาด้วย

         ในการซักถามพยาน ซักค้านพยาน หรือถามติงพยาน ตามความดังกล่าวข้างต้น

         (๑) ห้ามมิให้โจทก์หรือจำเลยฝ่ายที่อ้างพยาน ให้คำถามนำเพื่อให้พยานตอบ

         (๒) ห้ามมิให้โจทก์หรือจำเลยทั้งสองฝ่าย ให้คำถามอันไม่เกี่ยวกับประเด็นคำถามที่เป็นการหมื่นประมาทพยาน หรือคำถามที่อาจทำให้พยานต้องถูกฟ้องทางคณะสงฆ์หรือราชอาณาจักร

         พยานไม่ต้องตอบคำถามที่ต้องห้ามดังกล่าวข้างต้น และถ้ามีคำถามเช่นนั้น ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นเตือนผู้ถามและพยาน

         ในกรณีสืบพยานที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นนำมาสืบ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นซักถามพยานแล้ว ถ้าโจทก์หรือจำเลยขออนุญาตซักถามพยานนั้น คณะผู้พิจารณาชั้นต้นจะอนุญาตให้ซักถามตามประเด็นนั้นก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายอนุญาตซักถามก็โจทก์ซักถามก่อน

         คำให้การของพยาน ให้จดไว้แล้วอ่านให้พยานฟัง และให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น พยานกับผู้จดคำให้การของพยานลงชื่อไว้ด้วย

         ข้อ ๓๔ เมื่อมีกรณีจำเป็น คณะผู้พิจารณาชั้นต้นอาจสืบพยานโดยวิธีเดินเผชิญสืบในเขตอำนาจของตน หรือโดยวิธีส่งประเด็นไปให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นในเขตอื่นอันเป็นที่พำนักของพยาน ทำการสืบพยานอันอยู่ในเขตนั้นก็ได้

         ในกรณีที่ส่งประเด็นไปสืบตามความในวรรคต้น ให้ส่งคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยพร้อมทั้งสำนวนเท่าที่จำเป็นไปยังผู้รับประเด็น เพื่อดำเนินการสืบพยานตามประเด็นนั้น

         ก่อนส่งประเด็น ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นแจ้งให้โจทก์และจำเลยทราบ ถ้าโจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดไม่ติดใจไปฟังการพิจารณาก็ได้

         ผู้รับประเด็นมีอำนาจดำเนินการสืบพยานเช่นเดียวกับผู้ส่งประเด็น เมื่อมีกำหนดจะสืบพยาน ณ วัน เวลา และสถานที่ใด ให้แจ้งกำหนดการสืบพยานไปยังผู้ส่งประเด็น เพื่อแจ้งให้โจทก์และจำเลยทราบ เมื่อสืบพยานตามประเด็นเสร็จแล้ว ให้ส่งสำนวนคืนมายังผู้ส่งประเด็นโดยไม่ชักช้า

         ข้อ ๓๕ ก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณา ถ้าปรากฏว่า

         (๑) เรื่องที่นำมาฟ้องนั้น ได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายอาณาจักรให้รอการพิจาณาเรื่องนั้นไว้ก่อน

         (๒) จำเลยเป็นบ้าคลั่ง เป็นผู้เพ้อไม่รู้สึกตัว กระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า ถึงไม่มีสติสัมปชัญญะ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ให้รอการพิจาณาไว้ก่อนจนกว่าจำเลยจะหายเป็นปกติ

         (๓) จำเลยถึงมรณภาพ ให้เรื่องเป็นอันถึงที่สุด

         (๔)  จำเลยพ้นจากความเป็นพระภิกษุ ให้ยุติการพิจารณา เว้นแต่ในกรณีความผิดครุกาบัติ

         (๕) โจทก์ขอถอนฟ้องทั้งหมดหรือเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้ยุติการพิจาณาตามคำขอถอนของโจทก์ เว้นแต่ในกรณีความผิดครุกาบัติ หรือในกรณีที่จำเลยคัดค้านการขอถอนคำฟ้องนั้น

         (๖) โจทก์ไม่มาดำเนินการที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นนัดหมายไว้ ให้ยุติการพิจารณา เว้นแต้โจทก์จะได้ชี้แจงเหตุผลขัดข้องเป็นหนังสือภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่สั่งยุติการพิจารณา

         (๗) โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความในข้อ ๔ (๔) ถึงมรณภาพก็ดีหรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายถึงมรณภาพหรือตาย โดยไม่มีผู้จัดการแทนตามความในข้อ ๔ (๕) ก็ดี ให้นำความในข้อ ๒๐ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ในกรณียุติการพิจารณาตาม (๕) และ (๖) ไม่ตัดสิทธิของโจทก์อื่นที่จะฟ้องในเรื่องนั้น และไม่ตัดสิทธิของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นที่จะดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้น ต่อไป ตามที่เห็นสมควร

         ข้อ ๓๖ เมื่อมีการสืบพยานทุกฝ่ายเสร็จแล้ว ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นดำเนินการวินิจฉัย ดังต่อไปนี้

         (๑) ถ้าปรากฏว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด หรือมีเหตุที่จำเลยไม่ต้องรับนิคหกรรม ให้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์

         (๒) ถ้าปรากฏว่า จำเลยได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยเป็นความผิด และไม่มีข้อยกเว้นโทษอย่างใด ให้วินิจฉัยลงนิคหกรรมแก่จำเลยตามความผิดนั้น

         ข้อ ๓๗ ในการวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามความในข้อ ๓๖ (๒) นอกจากคณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว ให้มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมในกรณี ดังต่อไปนี้

         (๑) ถ้าปรากฏว่า ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างจากข้อเท็จจริงในคำฟ้องของโจทก์ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในฐานความผิดสิกขาบทเดียวกัน ให้มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามสมควรแก่กรณี

         (๒) ถ้าปรากฏว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวในคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์สืบสมแต่โจทก์อ้างสิกขาบทผิด ให้มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามสิกขาบทที่ถูกต้องได้

         (๓) ถ้าปรากฏว่า ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ถึงแม้โจทก์จะมิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ให้มีอำนาจวินิจฉัยลงนิคหกรรมตามความผิดนั้นได้

         ข้อ ๓๘ คำวินิจฉัยชั้นต้น ให้มีข้อความสำคัญ ดังต่อไปนี้

         (๑) ชั้นของคำวินิจฉัย

         (๒) สถานที่ ที่วินิจฉัย

         (๓) วัน เดือน ปี ที่วินิจฉัย

         (๔) กรณีระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย

         (๕) เรื่องที่ยกขึ้นฟ้อง

         (๖) ข้อหาของโจทก์

         (๗) คำให้การของจำเลย

         (๘) ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ

         (๙) เหตุผลในการวินิจฉัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาพระวินัย

         (๑๐) บทบัญญัติแห่งพระวินัยที่ยกขึ้นวินิจฉัย

         (๑๑) คำชี้ขาดให้ยกฟ้อง หรือให้ลงนิคหกรรม

         ข้อ ๓๙ คำวินิจฉัยชั้นต้น ให้อ่านให้โจทก์จำเลยฟัง ตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ ซึ่งได้นัดหมายไว้ แล้วให้โจทก์จำเลยลงชื่อรับทราบ ถ้าโจทก์หรือจำเลยไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำวินิจฉัย ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นบันทึกไว้ท้ายคำวินิจฉัย และให้ถือว่า โจทก์หรือจำเลยได้รับทราบแล้ว

         ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้นแจ้งกำหนดการอ่านคำวินิจฉัยแก่โจทก์จำเลยไม่ได้ ให้แจ้งแก่ผู้ปกครองสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด เพื่อแจ้งแก่โจทก์จำเลย แต่ถ้าโจทก์เป็นคฤหัสถ์ เมื่อกำหนดนัดหมายไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์แล้ว ให้ถือว่าได้แจ้งแก่โจทก์นั้นแล้ว

         ถ้าโจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาฟังคำวินิจฉัยตามกำหนดที่ได้นัดหมายไว้โดยมิได้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นก่อนถึงเวลาที่นัดหมาย ให้อ่านคำวินิจฉัยและให้ถือว่าฝ่ายที่ไม่มาฟังคำวินิจฉัยนั้นแล้ว ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มาฟังคำวินิจฉัย โดยมิได้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องดังกล่าวข้างต้น ให้ถือว่าว่าทั้งสองฝ่ายนั้นได้ทราบวินิจฉัยนั้นแล้ว

         ถ้าโจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย ไม่มาฟังคำวินิจฉัยโดยมีหนังสือเหตุขัดข้องต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นก่อนเวลาที่นัดหมาย เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเห็นสมควรจะเลื่อนกำหนดการอ่านคำวินิจฉัยไปวันอื่นก็ได้ โดยแจ้งให้โจทก์จำเลยทราบ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่มาฟังคำวินิจฉัยตามกำหนดที่นัดหมายในครั้งหลัง โดยแจ้งเหตุขัดข้องหรือมิได้แจ้งเหตุขัดข้องก็ตาม ให้นำความในวรรค ๓ แล้วแต่กรณีมาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ข้อ ๔๐ คำวินิจฉัยชั้นต้น ให้ถึงที่สุดในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

         (๑) โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ตามความในข้อ ๔๑

         (๒) คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยุติการพิจาณาตามความในข้อ ๔๔

ส่วนที่ ๓
วิธีการวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์

         ข้อ ๔๑ คำวินิจฉัยชั้นต้น โจทก์จำเลยมีสิทธิ์อุทธรณ์ได้ในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาพระวินัยโดยให้ระบุข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างอิงไว้โดยย่อ ส่วนข้อพระวินัยที่ยกขึ้นอ้างอิง ให้แสดงไว้โดยชัดเจน และต้องเป็นข้อพระวินัยที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น

         ในกรณีอุทธรณ์คำวินิจฉัยชั้นต้นตามความในวรรค ๑ ให้ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือพร้อมด้วยสำเนาอีกตามจำนวนที่จะต้องส่งแก่อีกฝ่ายหนึ่งต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยนั้น ตามความในข้อ ๓๙

         ข้อ ๔๒ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ได้รับอุทธรณ์ตามความในข้อ ๔๑ แล้ว ให้ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแก้อุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์นั้น

         ถ้าส่งสำเนาแก่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เพราะตัวไม่พบหรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ หรือได้รับแก้อุทธรณ์แล้ว หรือพ้นกำหนดแก่อุทธรณ์แล้ว ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นรีบส่งไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

         ข้อ ๔๓ ในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์

         (๑) เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์พิจารณาเห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์หรือจำเลยมิได้ยื่นภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ให้วินิจฉัยยกอุทธรณ์นั้นเสีย

         (๒) ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์เห็นสมควรสืบพยานเพิ่มเติมในปัญหาใด หรือกรณีใด เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาวินิจฉัย ให้มีอำนาจเรียกพยานมาสืบเองหรือสั่งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นสืบให้ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นสืบพยานแล้ว ให้ส่งสำนวนมายังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

         (๓) ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากคณะผู้พิจารณาชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้สั่งให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นปฏิบัติการให้ถูกต้อง แล้วส่งสำนวนคืนไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์

         (๔) ในกรณีที่จำเลยผู้หนึ่งอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งวินิจฉัยให้ลงนิคหกรรมแก่จำเลยหลายรูป ในความผิดฐานเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน ถ้าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยกลับ หรือแก้คำวินิจฉัยคณะผู้พิจารณาชั้นต้นโดยไม่ลงนิคหกรรมหรือลดนิคหกรรมให้จำเลย อันเป็นการอยู่ในส่วนลักษณะความผิด คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยตลอดไปถึงจำเลยอื่นซึ่งมิได้อุทธรณ์ ให้มิต้องถูกลงนิคหกรรม หรือได้ลดนิคหกรรม เช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์

         ข้อ ๔๔ ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ ถ้าปรากฏว่า

         (๑) จำเลยถึงมรณภาพ ให้ยุติการพิจารณา

         (๒) จำเลยพ้นจากความพระภิกษุ ให้ยุติการพิจารณา เว้นแต่ในกรณีความผิด    ครุกาบัติ

         ข้อ ๔๕ คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ นอกจากมีข้อความซึ่งกำหนดให้มีในคำวินิจฉัยชั้นต้นตามความในข้อ ๓๘ แล้ว ให้มีข้อความ ดังต่อไปนี้ด้วย

         (๑) ชื่อ ฉายา นามสกุล อายุ พรรษา สำนัก และสังกัดของผู้อุทธรณ์

         (๒) คำวินิจฉัยให้ยืน ยก แก้ หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นต้น

         ข้อ ๔๖ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์พิจารณาวินิจฉัยเสร็จแล้ว ให้อ่านคำวินิจฉัยโดยมิชักช้า และจะอ่านคำวินิจฉัยนั้น โดยคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ หรือจะส่งไปให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นก็ได้

         ในการอ่านคำวินิจฉัยดังกล่าวในวรรคต้น ให้นำความในข้อ ๓๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ข้อ ๔๗ วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ นอกจากที่กำหนดไว้แล้วในส่วนที่ ๓ นี้ ให้นำความในส่วนที่ ๒ ว่าด้วยวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นมาใช้บังคับ โดยอนุโลมตามควรแก่กรณี

         ข้อ ๔๘ คำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ ให้ถึงที่สุดในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง

         (๑) โจทก์และจำเลยมิได้ฎีกาตามความในข้อ ๔๙

         (๒) คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกามีคำสั่งให้ยกฎีกาตามความในข้อ ๕๐ วรรค ๒ หรือสั่งให้ยุติการพิจารณาตามความในข้อ ๕๑

ส่วนที่ ๔
วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา

         ข้อ ๔๙ คำวินิจฉัยชั้นฎีกา โจทก์จำเลยมีสิทธิ์ฎีกาได้ในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาพระวินัย ส่วนเรื่องข้อเท็จจริงและข้อพระวินัยที่ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาให้นำความในข้อ ๔๑ วรรค ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ปัญหาข้อเท็จจริงตามความในวรรค ๑ ห้ามมิให้โจทก์จำเลยฎีกาในกรณี ดังต่อไปนี้

         (๑) คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยลงนิคหกรรมแก่จำเลยยืนตามคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเกี่ยวกับความผิดอย่างอื่น นอกจากความอันติมวัตถุ

         (๒) คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยลงนิคหกรรมแก่จำเลยยืนตามคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเกี่ยวกับความผิดที่มีการวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเกินกว่าคำฟ้องของโจทก์ตามความในข้อ ๓๗ (๓) นอกจากความผิดอันติมวัตถุ

         (๓) คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยลงนิคหกรรมแก่จำเลยยืนตามคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ให้ยกฟ้องของโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน

         ข้อ ๕๐ วิธีการยืนฎีกาและการรับส่งฎีกาไปยังคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาให้นำความในข้อ ๔๑ วรรค ๒ และข้อ ๔๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ถ้าปรากฏว่า ฎีกาของโจทก์หรือจำเลยประกอบด้วยลักษณะข้อห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ ๔๙ วรรค ๒ ให้คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาวินิจฉัยยกฎีกานั้นเสีย

         ข้อ ๕๑ วิธีปฏิบัติในการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา ให้นำความในข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ข้อ ๕๒ ในกรณีที่มีฎีกาในปัญหาพระวินัย โดยไม่มีการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การวินิจฉัยพระวินัยนั้น ให้คณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามที่คณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน

         ข้อ ๕๓ การทำวินิจฉัยชั้นฎีกา และการอ่านคำวินิจฉัยชั้นฎีกา ให้นำความในข้อ ๔๕ และข้อ ๔๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ข้อ ๕๔ วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกา นอกจากกำหนดไว้แล้วในส่วนที่ ๔ นี้ ให้นำความในส่วนที่ ๓ ว่าด้วยวิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์มาใช้บังคับ โดยอนุโลมตามควรแก่กรณี

หมวด ๔
วิธีอ้างพยานหลักฐาน

         ข้อ ๕๕ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ซึ่งน่าพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้

         พยานหลักฐานที่อ้างนั้น ต้องเป็นพยานหลักฐานชนิดที่มิได้เกิดจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยประการอื่นอันมิชอบ

         ข้อ ๕๖ ในการอ้างพยานบุคคล ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานได้

         ถ้าจำเลยตนเองเป็นพยาน จะให้จำเลยเข้าสืบก่อนพยานของฝ่ายจำเลยก็ได้ และถ้าคำของจำเลยซึ่งให้การเป็นพยานนั้น ปรักปรำหรือเสียหายแก่จำเลยอื่น จำเลยอื่นซักค้านได้

         ข้อ ๕๗ ในกรณีอ้างพยานเอกสาร ให้นำต้นฉบับเอกสารนั้นมาอ้าง ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้ จะอ้างสำเนาที่รับรองว่าถูกต้อง หรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความมาเป็นพยานก็ได้

         ถ้าพยานเอกสารที่อ้างนั้น เป็นหนังสือของทางการคณะสงฆ์หรือหนังสือราชการ แม้ต้นฉบับยังมีอยู่ จะส่งสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้ เว้นแต่ในหนังสือเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่างอื่น

         ถ้าพยานเอกสารที่อ้างนั้น มิได้อยู่ในความยืดถือของผู้อ้าง ถ้าผู้อ้างแจ้งถึงลักษณะพร้อมทั้งที่อยู่ของเอกสารต่อคณะผู้พิจารณา ให้คณะผู้พิจารณาเรียกเอกสารนั้นจากผู้ยืดถือ

         ข้อ ๕๘ ในการอ้างสิ่งใดเป็นพยานวัตถุ ให้นำสิ่งนั้นมายังคณะผู้พิจารณา ถ้านำมาไม่ได้ ให้คณะผู้พิจารณาทุกรูปหรือมอบหมายให้ผู้พิจารณารูปใดรูปหนึ่งไปตรวจจดรายงานยังที่ที่พยานวัตถุนั้นตั้งอยู่ ตามเวลาและวิธีซึ่งคณะผู้พิจารณาหรือผู้พิจารณาเห็นสมควรตามลักษณะแห่งพยานวัตถุ

         ข้อ ๕๙ ผู้ใดโดยอาชีพหรือมิใช่ก็ตาม มีความชำนาญพิเศษในการใด ๆ เช่นในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ หรือการแพทย์ และความเห็นของผู้นั้นอาจเป็นประโยชน์ในการไต่สวนมูลฟ้อง หรือการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม ซึ่งอาจเป็นพยานในกรณีค่าง ๆ เป็นต้นว่า ตรวจร่างกาย หรือจอตของผู้เสียหาย ตรวจลายมือทำการทดลอง หรือกิจการอย่างอื่น ๆ

         คณะผู้พิจารณาให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องให้มาเบิกความประกอบหนังสือนั้นและต้องส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวแล้วแก่โจทก์และจำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน ก่อนเบิกความ

         เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ผู้ชำนาญการพิเศษ ถ้าหากไม่ได้ในฝ่ายคณะสงฆ์จะขอจากหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักรก็ได้

         ข้อ ๖๐ ในกรณีที่โจทก์จำเลยหรือผู้ใด ซึ่งจะต้องให้การหรือส่งพยานหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งอันประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้

         (๑) ข้อความหรือเอกสาร ซึ่งยังเป็นความลับในการคณะสงฆ์ หรือในราชการ

         (๒) ความลับหรือเอกสารลับ ซึ่งได้มาหรือทราบเนื่องด้วยปกติธุระหรือหน้าที่ของเรา

         (๓) วิธีการ แบบแผน หรืองานอย่างอื่น ซึ่งมีกฎหมายควบคุมมิให้เปิดเผยนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทางการคณะสงฆ์ ทางราชการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับนั้น

         โจทก์จำเลยหรือผู้นั้นอาจปฏิเสธไม่ยอมให้การ หรือส่งพยานหลักฐานดังกล่าวนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทางการคณะสงฆ์ ทางราชการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับนั้น

         กรณีดังกล่าวข้างต้น คณะผู้พิจารณาอาจแจ้งให้ทางการคณะสงฆ์ ทางราชการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความลับนั้น มาชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่สมควรให้การหรือส่งพยานหลักฐานดังกล่าวนั้นโดยชัดแจ้งต่อคณะผู้พิจารณา

หมวด ๕
วิธีบังคับตามคำวินิจฉัยลงนิคหกรรม

         ข้อ ๖๑ เมื่อจำเลยรูปใดต้องคำวินิจฉัยให้รับนิคหกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งถึงที่สุดแล้ว ให้คณะผู้พิจารณาซึ่งอ่านคำวินิจฉัย แจ้งผลคำวินิจฉัยแก่ผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดของจำเลยรูปนั้นทราบ เพ่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้น

         ข้อ ๖๒ ถ้าจำเลยดังกล่าวในข้อ ๖๑ ไม่ยอมรับนิคหกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

         (๑) ไม่ยอมรับนิคหกรรมตามคำวินิจฉัยให้สึก ไม่สึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับคำวินิจฉัยนั้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ซึ่งกำหนดโทษอาญาไว้ในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

         (๒) ไม่ยอมรับนิคหกรรมตามคำวินิจฉัยไม่ถึงให้สึก ให้ผู้บังคับบัญชารายงานโดยลำดับถึงมหาเถรสมาคม เมื่อมหาเถรสมาคมวินิจฉัยและมีคำสั่งให้สละสมณเพศแล้ว ไม่สึกภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรค ๒ ซึ่งกำหนดโทษอาญาไว้ในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พงศ. ๒๕๐๕

         ในกรณีเช่นนี้ ให้พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดของจำเลยรูปนั้นขออารักขาต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักร

หมวด ๖
เบ็ดเตล็ด

         ข้อ ๖๓ โจทก์หรือจำเลย จะแต่งตั้งผู้ใดให้ว่าต่างหรือแก้ไขกรณีไต่สวนมูลฟ้อง และในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมิได้

         ข้อ ๖๔ บรรดาเอกสารสำนวนเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องและการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเป็นเอกสารลับ เฉพาะคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของผู้พิจารณาหรือคณะผู้พิจารณา ถ้าโจทก์จำเลยจะขออนุญาตคัดสำเนาเพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์หรือฎีกาให้ผู้พิจารณาหรือคณะผู้พิจารณาอนุญาต โดยให้อยู่ในความควบคุมของผู้อนุญาต และให้อนุญาตลงนามไว้ด้วย

         การโฆษณาเอกสารตามความในวรรคต้น จะกระทำได้โดยอนุมัติมหาเถรสมาคม

         ข้อ ๖๕ พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ทุกชั้น มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในกรณีไต่สวนมูลฟ้อง และในกรณีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมที่ได้รับคำร้องขอหรือคำสั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ จากผู้พิจารณาหรือคณะผู้พิจารณา แล้วแต่กรณี

              ตราไว้  ณ  วันที่  ๘  พฤศจิกายน  พงศ.  ๒๕๓๑

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ

สมเด็จพระสังฆราช ประธานกรรมมหาเถรสมาคม


            [1] ประกาศในคณะสงฆ์ เล่ม ๖๖ ตอนพิเศษ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๑

Views: 178