“ติลกัฏฐฉันท์ ๑๓” ไม่มีในคัมภีร์วุตโตทัย ไม่มีในฉันทศาสตร์ และยังไม่เคยพบในที่ใด ข้าพเจ้าเห็นว่า ระหว่างวสันตดิลก กับกลุ่มฉันท์ ๑๓ ยังมีทางเพิ่มแทรกฉันท์อื่นเข้าได้ โดยลดจำนวนคำลงหนึ่งคำ จะเป็นฉันท์ที่มีความเพราะพริ้งไม่แพ้วสันตดิลก จึงกำหนด “เหมันตดิลกฉันท์” ขึ้น เทียบกับวสันตดิลกฉันท์ เพื่อให้มีคู่กันดังอินทรวิเชียรฉันท์กับอุเปนทรวิเชียรฉันท์ จึงกำหนด “ติลกัฏฐฉันท์” เพิ่มขึ้น อยู่ในกลุ่มฉันท์ ๑๓ กำหนดให้เป็นฉันท์ ๒ บาท ๆ ละ ๒ วรรค บาทละ ๑๓ คำ เรียกว่า “ฉันท์ ๑๓” ทุกบาทประกอบด้วย ช ภ ภ ร คณะ และครุลอย ๑ คำ กำหนดสัมผัสดังนี้ :- คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
Views: 8