“เหมันตลีลาศฉันท์ ๑๓” ไม่มีในคัมภีร์วุตโตทัย ไม่มีในฉันทศาสตร์ และยังไม่เคยพบในที่ใด ข้าพเจ้าเห็นว่า เมื่อมีอินทรลีลาศ ๑๑ แทรกในฉันท์ ๑๑ แล้ว และได้ปรับปรุงฉันท์ในลักษณะเดียวกันแทรกในฉันท์ ๑๒ โดยให้นามว่าอินทรวงศลีลาศแล้ว จึงเห็นสมควรกำหนดปรับปรุงเหมันตลีลาศแทรกเข้าในฉันท์ ๑๓ อีก โดยกำหนดให้บทหนึ่งมี ๒ บาท ๆ ละ ๒ วรรค บาทหนึ่งมี ๑๓ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๓” ทุกบาทประกอบด้วย ต ภ ร ร คณะ และครุลอย ๑ คำ มีการสัมผัสดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้