“อุปดิลกฉันท์ ๑๔” ไม่มีในคัมภีร์วุตโตทัย ไม่มีในฉันทศาสตร์ และยังไม่เคยพบในที่ใด ข้าพเจ้าเห็นว่า วสันตดิลกฉันท์เป็นฉันท์ที่มีความไพเราะเพราะพริ้ง แต่อยู่โดดไม่มีคู่ ดังเช่นอินทรวิเชียรฉันท์ หรืออินทรวงศ์ฉันท์ หากได้มีฉันท์คู่ไว้จักเกิดประโยชน์ยิ่ง จึงกำหนดฉันท์ใหม่ขึ้นเพื่อคู่กับวสันตดิลก ให้ชื่อว่า “อุปดิลกฉันท์” โดยเปลี่ยนเพียงคำหน้าคำเดียวเป็นลหุเท่านั้น คงเป็นฉันท์ ๒ บาท ๆ ละ ๒ วรรค บาทหนึ่งมี ๑๔ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๔” ทุกบาทประกอบด้วย ช ภ ช ช คณะ และครุลอย ๒ คำ มีสัมผัสดังนี้ :- คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้


Hits: 4