กาพย์ตุรังคธาวี เป็นกาพย์ที่มีลักษณะดังม้าย่อง ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี มีบทบัญญัติว่า
ตติเย สตฺตเม ฐาเน เทฺว สรา โหนฺติ เต สมา,
ทฺวาทสวีสฐาเนสุ เทฺว สรา จ ฐิตา สมา,
ปณฺณรสสตฺตรสฏฺ- ฐาเนสุ เทฺว สรา สมา,
เตวีสปญฺจวีสติฏฺ- ฐาเนสุ เทฺว สรา สมา,
อฏฺฐวีสจตฺตาฬีส- อฏฺฐาฬีสาสุ เต ตโย
เอกตฺตึสปญฺจตึสฏฺ- ฐาเนสุ เทฺว สรา สมา,
เตตาฬีสปญฺจตาฬีสฏฺ ฐาเนสุ เทฺว สรา สมา,
เอกปญฺฐาสเตปญฺญาสฏฺ- ฐาเนสุ เทฺว สรา สมา,
ยสฺมึ ลกฺขณมิทญฺเจ ตุรงฺคธาวิ นาม สา
แปลว่า “สระ ๒ ตัว คือ ตัวที่ ๓ กับที่ ๗, ที่ ๑๒ กับที่ ๒๐, ที่ ๑๕ กับที่ ๑๗, ที่ ๒๓ กับที่ ๒๕, ที่ ๓๑ กับที่ ๓๕, ที่ ๔๓ กับที่ ๔๕, และที่ ๕๑ กับที่ ๕๓ สระ ๓ ตัว คือ ที่ ๒๘ กับที่ ๔๐ และที่ ๔๘ เสมอกัน หากในกาพย์ใดมีลักษณะเช่นนี้ กาพย์นั้นชื่อว่า “ตุรังคธาวี”
จึงถือเอาความได้ว่า กาพย์ตุรังคธาวี บทหนึ่งมี ๔ บาท รวม ๕๖ คำ มีสัมผัสดังกล่าวแล้ว เฉพาะคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้
