กาพย์กากคติ เป็นกาพย์ที่มีลักษณะเหมือนกาบิน (กาเหิน) ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี มีบทบัญญัติว่า
จตุตฺเถ อฏฺฐเม ฐาเน โหนฺติ ทุเว สรา สมา
ทฺวาทสเม วีสติยา จตุวีสติยา ตโย
โสฬสอฏฺฐารเสสุ ฐิตา ทุเว สรา สมา,
อฏฺฐวีสติยา ฐาเน จตฺตาฬีสาย ฐานเก
อฏฺฐตาฬีส ทฺวิปญฺญาส จตฺตาโร จ สรา สมา
ทฺวตฺตึสาย ฉตฺตึสาย ฐิตา ทุเว สรา สมา
จตุตาฬีสฉตฺตาฬีสฏฺ- ฐาเนสุ เทฺว สรา สมา
ยสฺมึ ลกฺขณมิทญฺเจ กากคตีติ วุจฺจติ
แปลว่า “สระ ๒ ตัว คือ ตัวที่ ๔ กับที่ ๘, สระ ๓ ตัว คือ ตัวที่ ๑๒ กับ ๒๐ กับ ๒๔, สระ ๒ ตัว คือ ตัวที่ ๑๖ กับที่ ๑๘, สระ ๔ ตัว คือ ตัวที่ ๒๘ กับที่ ๔๐, ที่ ๔๘ กับที่ ๕๒, สระ ๒ ตัว คือ ตัวที่ ๓๒ กับที่ ๓๖, ที่ ๔๔ กับที่ ๔๖ เสมอกัน หากในกาพย์ใดมีลักษณะเช่นนี้ กาพย์นั้นชื่อว่า “กากคติ”
จึงถือเอาความได้ว่า กาพย์มหาตุรังคธาวี บทหนึ่งมี ๔ บาท รวม ๕๖ คำ มีสัมผัสดังกล่าวแล้ว เฉพาะคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้