โคลง
๔ สุภาพ เป็นโคลงที่มีผู้นิยมชมชอบสูง
ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยมากกว่าโคลงชนิดอื่น ถือเป็นหลักของโคลงสุภาพทุกชนิด
เพราะถ้าฝึกได้ดีในการแต่งโคลง ๔ สุภาพแล้ว จะฝึกแต่งโคลง ๔ อื่นได้ไม่ยาก
เพราะเป็นไปอย่างเดียวกันเป็นส่วนมาก โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่ง กำหนดมี ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค
บาทที่ ๑-๒,๓ บาทละ ๗ คำ แต่บาทที่ ๑ และที่ ๓ เพิ่มสร้อยได้ วรรคที่ ๔ มี ๙ คำ
จึงรวมเป็น ๓๐ คำ กำหนดว่า เอกเจ็ด โทสี่ สุภาพสิบเก้า ที่คำสุภาพใช้เอก โท ได้
ที่ใช้เสียงเอก ต้องเป็นวรรณยุกต์เอก ที่ใช้เสียงโท ต้องเป็นวรรณยุกต์โท
มิให้ใช้เสียงวรรณยุกต์เอกที่เป็นเสียงโท แต่ที่บังคับใช้เสียงเอกให้ใช้คำตาย
คือสระเสียงสั้น และคำที่สะกดด้วยแม่ กก กด กบ แทนได้ แม้คำที่เป็นเอก
ก็เคยพบของเก่าใช้เอกโทษแทนอยู่ สำหรับโทนั้น ให้ใช้โทโทษแทนได้ เอกกับโทในบาท
ที่ ๑ เมื่อจำเป็นให้แทนที่กันได้ มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้



สำหรับโคลงดั้นวิวิธมาลี ดั้นบาทกุญชร ดั้นตรีพิธพรรณ และดั้นจัตวาทัณฑี ใช้จังหวะตามนี้โดยอนุโลม