ตนุมัชฌาฉันท์ ๖

        “ตนุมัชฌาฉันท์” เป็นชื่อเรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย เรียกว่า “ตนุมัชฌาคาถา” ท่านจัดเป็นคายัตตีฉันท์ ฯ คายัตตีฉันท์ แปลว่า “ฉันท์ที่รักษาผู้สาธยาย”“ตนุมัชฌา” แปลว่า “คาถาที่อุปมาเหมือนสตรีผู้มีเอวบางร่างน้อย” คาถาหนึ่ง ๆ มี ๔ บาท ๆ ละ ๖ คำ รวมคาถาหนึ่งมี ๒๔ คำ มีสูตรว่า “ ตฺยา เจ ตนุมชฺฌา  แปลว่า “คาถาที่มี ต คณะ และ ย คณะ ชื่อว่า ตนุมัชฌา ในคัมภีร์วุตโตทัยนั้น เรียกว่า “ตนุมัชฌาคาถา” แต่ไทยบัญญัติเรียกว่า “ตนุมัชฌาฉันท์”

        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาทั้ง ๔ บาท และให้คงรูปเดิม เพราะบาทหนึ่งมี ๖ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๖” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของบาทที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ ของบาทที่ ๒, คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบาทที่ ๓, และคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้

Views: 46