กุมารลลิตาฉันท์ ๗

       “กุมารลลิตาฉันท์” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กุมารลฬิตาฉันท์” เป็นชื่อเรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “กุมารลลิตาคาถา” ท่านจัดเป็นอุณหิกาฉันท์ “อุณหิกา” แปลว่า “ฉันท์ที่ทำผู้ฟังให้พึงพอใจคือให้มีความปีติโสมนัส” ฯ “กุมารลลิตา” แปลว่า “คาถาที่มีความงามเหมือนเด็กที่เจริญวัย” คาถาหนึ่งมี ๔ บาท ๆ ละ ๗ คำ รวมคาถาหนึ่งมี ๒๘ คำ มีสูตรว่า “กุมารลลิตา ชฺสฺคา (ชฺสฺคา อ่านเพียงตัวเดียวเป็นครุ) แปลว่า คาถาที่มี ช คณะ และ ส คณะ และ ครุลอย ๒ คำ ชื่อว่า กุมารลลิตา

        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำเอาสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาทั้ง ๔ บาท แล้วกำหนดให้เป็น ๔ บาท เพราะมีบาทละ ๗ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๗” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของบาทแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ ของบาทที่ ๒, คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบาทที่ ๓, และคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป  มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้