“อุพภาสกฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “อุพภาสกคาถา” จัดเป็นปันติฉันท์ ฯ “อุพภาสกะ” แปลว่า “คาถาที่ออกเสียงสูงขึ้น” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๐ คำ มีสูตรว่า“อุพฺภาสกํ ตํ เจ โต มรา ลฺจ” แปลความว่า “คาถาที่มี ต คณะ ม คณะ ร คณะ และลหุลอย” ชื่อว่า “อุพภาสกะ”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำเอาสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยนำมากำหนดเพียง ๒ บาท แล้วคงรูปเดิมเป็น ๒ บาท เพราะมีบาทละ ๑๐ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๐” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของบาทที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของบาทที่ ๒, และคำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้