“อุปัฏฐิตาฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “อุปัฏฐิตาคาถา” เป็นปันติฉันท์ “ปันติ” แปลว่า “ฉันท์ที่ทำลำดับของตนให้พิสดาร” อุปัฏฐิตา เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๐ คำ มีสูตร์ว่า “โต ชา ครุนายมุปฏฺฐิตา” แปลว่า “คาถาที่มี ต ช ช คณะ อันประกอบด้วยครุ ชื่อว่า “อุปัฏฐิตา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น นำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค บาทหนึ่งมี ๑๐ คำ เพราะบาทหนึ่งมี ๑๐ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๐” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้