“รุจิราฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “รุจิราคาถา” เป็นอติชคตีฉันท์ ฯ “รุจิรา” แปลว่า “คาถาที่ก่อให้เกิดความปรารถนาในการฟัง” เพราะแต่งด้วย ช คณะ เป็นต้น มีสูตรว่า “จตุคฺคเห, หิห รุจิรา ชภา สฺชคา” แปลว่า “คาถาที่มี ช คณะ ภ คณะ ส คณะ ช คณะ และครุลอย มีจังหวะหยุด ๔ และ ๙ พยางค์นั้น
ชื่อว่า “รุจิราคาถา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค มีบาทละ ๑๓ คำ เพราะมีบาทละ ๑๓ คำนั้น จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๓” เมื่อปรับปรุงแล้ว เพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้