วสันตดิลกฉันท์ ๑๔

     “วสันตดิลกฉันท์”  เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “วสันตดิลกคาถา” เป็นสักกรีฉันท์ “สักกรี” แปลว่า “ฉันท์เป็นที่กระทำดีด้วยคณะ ลหุ ครุ และยติ” “วสันตดิลก” แปลว่า “คาถาที่มีคณะวิจิตรเหมือนเมฆในวสันตฤดู”  เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๔ คำ   มีสูตรว่า “วุตฺตา วสนฺตติลกา ตภชา ชคา โค” แปลว่า “คาถาที่มี
ต  คณะ ภ คณะ ช คณะ ช คณะ และครุลอย  ๒ ท่านกล่าวว่า
วสันตดิลกคาถา

        ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๔ วรรค มีบาทละ ๑๔ คำ เพราะมีบาทละ ๑๔ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๔” เมื่อปรับปรุงแล้ว เพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้