“สสิกลาฉันท์” หรือ “สสิกลฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “สสิกลาคาถา” เป็นอติสักกรีฉันท์ “อติสักกรี” แปลว่า ฉันท์ที่ยิ่งกว่าสักกรีฉันท์” ฯ “สสิกลา” แปลว่า “คาถาที่มีมาตราเหมือนส่วนเสี้ยวของดวงจันทร์” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๕ คำ มีสูตรว่า “ทฺวิหตหยลหุรถ คิติ สสิกลา” แปลว่า “คาถาที่มีลหุ ๗ พยางค์ ที่คูณด้วย ๒ และครุลอย ชื่อว่า“สสิกลาคาถา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาครับทั้ง ๔ บาท เพราะบาทหนึ่งมี ๑๕ คำ เพราะมีบาทละ ๑๕ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๕” กำหนดเพิ่มสัมผัส คือ คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบาทที่ ๓, และคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้
Views: 43