“มณิคุณนิกรฉันท์” หรือ “มณิคณะนิกรฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “มณิคุณนิกรคาถา” เป็นอติสักกรีฉันท์ ฯ “มณิคุณนิกร” แปลว่า “คาถาที่เหมือนมือซึ่งประกอบด้วยกองแก้วมณี” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๕ คำ มีสูตรว่า “วสุหยยติริห, มณิคุณนิกโร” แปลว่า “คาถาที่มีจังหวะหยุด ๘ และ ๗ พยางค์ ในคำนี้ ชื่อว่า“มณิคุณนิกรคาถา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาครบทั้ง ๔ บาท เพราะบาทหนึ่งมี ๑๕ คำ เพราะมีบาทละ ๑๕ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๕” แต่ละบาทประกอบด้วย น คณะ น คณะ น คณะ น คณะ และ ส คณะ การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๘ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้


Hits: 11