“วัตตฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในวิสมวุตตินิเทศ ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “วัตตคาถา” เป็นชื่อที่รวมได้มากอยู่ แต่จะแยกบทมาพอได้ความ “วัตตะ” แปลว่า “คาถาที่ท่านกล่าวไว้” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๘ คำ มีสูตรว่า “นาฏฺฐกฺขเรสุ ปาเทสุ สฺนาทิมฺหา โยณฺณวา วตฺตํ” แปลว่า “คาถาที่มี ย คณะ ท้าย ๔ พยางค์ ไม่มี ส น คณะ ท้ายพยางค์แรก ในบาทที่มี ๘ พยางค์ ชื่อว่า“วัตตคาถา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๒ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๓ วรรค รวม ๑๖ คำ เพราะรวมทั้งบทมี ๑๖ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๖” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้