“มันทักกันตาฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “มันทักกันตาคาถา” เป็นอัจจัฏฐิฉันท์ ฯ “มันทักกันตา” แปลว่า “คาถาที่มีเสียงลุ่มลึกน่าพึงใจเหมือนสาวน้อยผู้น่าปรารถนา” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๗ คำ มีสูตรว่า “มนฺทกฺกนฺตา, มภนตตคา, โค ยุคตฺวสฺสเกหิ” แปลว่า “คาถาที่มี ม คณะ ภ คณะ น คณะ ต คณะ ต คณะ และครุลอย ๒ มีจังหวะหยุด ๔, ๖ และ ๗ พยางค์ ชื่อว่า “มันทักกันตาคาถา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๑ บาท แล้วปรับปรุงให้เป็น ๓ วรรค รวม ๑๗ คำ เพราะรวมทั้งบทมี ๑๗ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๗” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้


Hits: 4