“เมฆวิปผุชชิตาฉันท์” เป็นชื่อที่เรียกตามแบบไทย แต่ในคัมภีร์วุตโตทัย ท่านเรียกว่า “เมฆวิปผุชชิตาคาถา” เป็นอติธิติฉันท์ “อติธิติฉันท์” แปลว่า “ฉันท์ที่ยิ่งกว่าธิติฉันท์” ฯ “เมฆวิปผุชชิตา” แปลว่า “คาถาที่มีเสียงเปล่งออกเหมือนเมฆคำราม” เป็นคาถา ๔ บาท ๆ ละ ๑๙ คำ มีสูตรว่า “รสุตฺวสฺเสหิ ยฺมา, นสรรครู, เมฆวิปฺผุชฺชิตา สา” แปลว่า “คาถาที่มี ย คณะ ม คณะ น คณะ ส คณะ ร คณะ ร คณะ และครุลอย มีจังหวะหยุด ๖, ๖ และ ๗ พยางค์ ชื่อว่า“เมฆวิปผุชชิตาคาถา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาเพียง ๑ บาท ๑๙ คำ แล้วปรับปรุงให้เป็น ๓ วรรค รวม ๑๙ คำ เพราะรวมทั้งบทมี ๑๙ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๑๙” แล้วเพิ่มสัมผัสเข้า คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒, และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ส่งสัมผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป มีแผนผังและตัวอย่าง ดังนี้


Hits: 14