กฎหมายพระสงฆ์ สมัยรัชกาลที่ ๑

กฎหมายพระสงฆ์

สมัยรัชกาลที่ ๑

ฉบับ (๑)

        ۞  กฎให้ไว้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือน ฝ่ายน่าฝ่ายใน ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม กรมพระราชวังบวรสฐานมงคลผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการ แลสังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ พระสงฆ์เจ้าอธิการอนุจรฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระอรัญวาสีคามวาสี นอกกรุง ในกรุงเทพ ศรีอยุธยา แลหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตะวันตก ตะวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ จงทั่ว  จึ่งพระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทุกวันนี้ มี  พระราชประณิธานปรารถนาพระโพธิญาณสพัญู ประกอบด้วยพระมหากรุณาญาณหากตักเตือนพระไทยเปนธรรมดา กรุณาจะให้เปนประโยชนแก่สัตว์โลกทั้งปวง จึ่งสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาสะนุปถัมภกพระพุทธสาศนาจำเริญศรีสวัสดิ ทั้งพระบริญัติและปฏิปติสาศนา ให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ ทรงพระราชวิจารญาณรำพึงถึงพระบริญัติสาศนาพระไตรปิฎกนี้เปนต้น ปฏิบัติมัคผลให้ได้โลกิยสมบัติโลกุดรสมบัติเพราะพระไตรปิฎก จึ่งมีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสีหนาทดำหรัสว่า โดยต่ำแต่ให้มีพระธรรมเทศนาและสำแดงพระธรรมเทศนาให้ธรรมเปนทานนั้น มีผลประเสริฐกว่าสรรพทานทั้งปวง ชื่อว่าให้พระนิพานเปนทาน จนสมเด็จ       อัมรินทราธิราชได้ทรงฟังแจ้งว่าผลานิสงษเปนอันมากกราบทูลขอพรไว้ ให้พระพุทธองค์มีพระพุทธฎีกาตรัสสั่งเปนพุทธบัญญัติไว้ ให้ผู้สำแดงและผู้มีพระธรรมเทศนาเปนธรรมทานนั้น อุทิศผลไปถึงสมเด็จอัมรินทราธิราชเจ้า อนึ่ง แม้ว่าผู้มีอิทธิฤทธิ์จะกระทำพื้นสกลชมภูทวีปให้ราบเสมอดั่งน่ากลองไชยเภรีแล้วแลนิมนตพระอรหรรต์เจ้านั่งแถวหนึ่ง พระอนาคามิแถวหนึ่ง พระศักกิธาคามิแถวหนึ่ง พระโสดาแถวหนึ่ง มีองค์พระพุทธิเจ้าเปนประธาน แน่นไปในสกลชมภูทวีปแลถวายจตุปัจจัยทานทั้งสี่มีจีวรเนื้ออันเลอียดดุจดังยอดตองอันอ่อนนั้นก็ดี ผลานิสงษก็มิได้เสมอเท่าให้มีธรรมเป็นทานครั้งหนึ่ง เหตุฉนี้ จึ่งทรงพระกรุณาแสวงหาอุบายที่จะให้สมณพราหมณ์ เสนาบดี ประชาราษฎรทั้งปวงให้ได้สมบัติทั้งสามประการ พ้นจากจัตุราบายทุกขแลสงสารไภย จึ่งทรงพระอนุเคราะห์ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยสมาทานไตรสรณาคมศีลห้าศีลแปดศีลศิบ ในสำนักนี้พระสงฆ์ทุกวันทุกเวลาเปนปฏิบัติบูชากองมหากุศลวิเสศประเสริฐกว่าอามิศบูชาจตุปัจจัยทาน แม้นจะถวายทานให้มากตราบเท่าถึงพรหมโลกย ผลนั้นก็มิได้เสมอเท่ากองพระราชกุศลปฏิบัติบูชา อนึ่ง ตั้งกองพระราชกุศลให้มีพระธรรมเทศนาเปนธรรมทานให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฟังดังให้พระนิพานเปนทานเปนปฏิปติบูชา กองพระราชมหากุศลอันจะนับประมาณผลนั้นมิได้ แลพระบริญัติไตรปิฎกธรรมนี้ เมื่อบุท คนประพฤดิ์เปนสัมมาคารวะแล้ว ก็มีผลอันจะนับประมาณมิได้ เมื่อประพฤดิ์ผิดมิได้สัมมาคารวะในพระไตรปิฎกธรรมนั้น ก็จะมีโทษแก่บุทคนอันมิได้คารวะนั้นเปนครุโทษอันใหญ่หลวงหนักหนา ทุกวันนี้สัตวทั้งปวงตั้งใจทำกุศล สิ่งใดตรวดน้ำปรารถนาจะภบพระพุทธบาทสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ๆ ก็ตรัสสั่งมาแก่พระมาไลยเทวเถรเจ้าว่า ให้ฝูงสัตวทั้งปวงเคารพฟังมหาเวศสันดรชาฎกอันประดับด้วยพระคาถาพันหนึ่งนั้น จึ่งจะได้พบพระองค์ในอนาคต แลทุกวันนี้อาณาประชาราษฎรทั้งปวง ลางบ้างให้มีพระมหาเวศสันดรชาฎกนี้ มิได้มีความสังเวศเลื่อมไสยเปนธรรมคาวระ ฟังเอาแต่ถ้อยคำตลกคะนองอันหาผลประโยชนมิได้ พระสงฆ์ผู้สำแดงนั้น ลางจำพวกมิได้เล่าเรียนพระไตรปิฎก ได้แต่เนื้อความแปลร้อยเปนกาพกลอน แล้วก็มาสำแดงถ้อยคำตลกคนองอยาบช้า เหนแต่ลาภสการเลี้ยงชีวิตร มิได้คิดที่จะร่ำเรียนสืบไป ทำให้พระสาศนาฟั่นเฟือนเสื่อมสูญ ชวนกันประมาทในพระธรรมเทศนา จะได้เสวยทุกขเวทนาในจัตุราบายภูมเปนช้านาน จะมิได้ภบพระพุทธบาทสาศดาพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าในอนาคต เหตุฉนี้ บรมกระษัตริยพระองค์ใดจะมีพระกรุณาสงเคราะห์สัตวทั้งปวงให้พ้นจากอาบายทุกขมิได้ละเมินเฉยเสีย ครั้งนี้ทรงพระมหากรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ให้สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะ พระสงฆ์ฝ่ายบริญัติ นักปราชราชบัณฑิตย ให้พิจารณาค้นดูพระไตรปิฎกนั้นก็ภบเหนบทว่า ผู้สำแดงแลผู้ฟังธรรมอันประมาทกล่าวถ้อยคำตลกคนอง เอาธรรมนั้นมากล่าวเปนอะธรรม โทษนั้นเปนครุโทษอันใหญ่หลวงโดยอันต่ำไป แต่จะสำแดงธรรมด้วยเสียงอันเปนเสียงขับนั้นก็เปนโทษ แลเอาธรรมมาผูกเปนกาพย์กลอนพิจิตรด้วยอักขระเปนเพลงขับนั้นก็มิควร เหตุดังนี้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สั่งว่า แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ให้พระสงฆ์ผู้สำแดงพระธรรมเทศนา แลราษฎรผู้จะฟังพระมหาชาติชาฎกนั้น สำแดงแลฟังแต่ตามวาระพระบาฬีแลอรรถคาถาฎีกาให้บริบูรณด้วยผลอานิสงษนั้น ก็จะได้ภบสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยในอนาคตตามเทวราช โองการตรัสสั่งมาแก่พระมาไลยเทวเถระนั้น ห้ามอย่าให้เทศนาแลฟังเทศนาเปนกาพย์กลอนแลกล่าวถ้อยคำตลกคะนองเปนการเล่นหัวเราะชื่นชมด้วยกัน ประมาทให้ผิดจากพระวินัยเปนอันขาดทีเดียว แลให้พระภิกษุสงฆ์เถรเณรฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระ แลอาณาประชาราษฎรทั้งปวงประพฤดิ์ตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ จงทุกประการ

        ถ้าพระสงฆ์เถรเณรและอาณาประชาราษฎรผู้ใดมิได้ประพฤดิ์ตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ จะเอาตัวผู้มิได้กระทำตามกฎและญาติโยมพระสงฆ์เถรเณรรูปนั้นเปนโทษตามโทษานุโทษ

        กฎให้ไว้ ณ วันเสาร์ เดือนสิบ ขึ้นห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๔ ปีขาน นักษัตรจัตวาศก ฯ

ฉบับ (๒)

        ۞ กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ อธิการฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระนอกกรุงในกรุงหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตะวันตก ตะวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือจงทั่ว ด้วยสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกเอกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาสะนุปถัมภกพระพุทธสาสนา จำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระบริญัติปฏิปติสาสนาให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตเฝ้าพระบาทบงกชมาศ จึ่งมีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า มีพระราชอุษาห มิได้คิดแก่พระกายแลพระชนมชีพจนได้ศรีราชสมบัติ ทั้งนี้ ด้วยตั้งพระไทยจะบำรุงพระบวรพุทธสาสนา ตามพระพุทธฎีกว่าพระปาฏิโมกขสังวรวินัยนี้ ซื่อว่าพระสาสนา ถ้าพระภิกษุยังทรงพระปาฏิโมกขบริบูรณอยู่ตราบใด ชื่อว่าพระสาสนายังตั้งอยู่ตราบนั้น เหตุฉะนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพยเปนอันมากเปนจัตุปัจจัยทานถวายพระสงฆ์ แลมีพระราชโอวาทานุสาศน์ตักเตือน เพื่อจะให้พระสงฆ์ทั้งปวงในกรุงนอกกรุงเทพ และนานาประเทศให้ทรงพระปาฎิโมกขสังวรศีลบริสุทธิ์ ให้เปนเนื้อนาบุญแก่สัตวโลกย หว่านพืชศรัทธาทำทานลงในเนื้อนาอันเลิศ จะได้เกิดผลเปนอันมาก ด้วยภูมพระภิกษุเปนภูมอันประเสริฐ ทรงพระวินัยบรรเทาโทษในกายจิตรแลวาจา มิได้คิดอาไลยด้วยญาติโยม จนแต่ว่า มารดามีปรารถนาจะใคร่ภบยังส้อนตัวเสียมิให้มารดารู้จักตัว กลัวจะเปนตัณหาสัณฐวะเนื่องเข้ากับกามคุณ เปนนิวรณกั้นมัคจิตรแลผลจิตร จึ่งหน่ายจากโกรธจากโลภจากหลงให้เกิดสมุทเฉทวิมุตนิพานศุขได้ จึ่งจักเปนที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง ฝ่ายฆราวาสแต่ก่อนก็มีศรัทธา มิได้กระทำให้เปนเสน่หาอาไลย ทำให้เจ้ากูเสียศีลสิกขาบท บริสุทธิ์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย พระสาศนาก็รุ่งเรืองสืบมา แลภิกษุสงฆ์ทุกวันนี้ตั้งอยู่ในภูมอันประเสริฐแล้ว มิได้รักษาพระปาฏิโมกขตามอริยวงษประเพณี ปฏิบัติเข้าระคลคบหาฆราวาศติดด้วยเบญจกามคุณ มิได้เหนแก่พระสาศนา เหนแก่หน้าบุทคนรับของฝากเงินทองของฆราวาศ ๆ ก็มิได้คิดแก่สาศนา เข้าเป็นญาตโยมปรฏิบัติด้วยเสน่หาอาไลยให้กัปปิยจังหันแก่ภิกษุโดยคุณปติคุณแก่กัน ให้เสียศีลสิกขาบทไปดุจหนึ่งสมีรักวัดบางหว้าใหญ่รับเข้าของเงินทองของอีเพงไว้เปนอันมาก อีเพงเปนขบถโทษถึงตาย สิ่งของอีเพงเปนของหลวงตามบทพระอัยการาชอาณาจักรสืบมาโดยบุราณราชประเพณี เนื้อความทั้งนี้ ก็ปรากฏทั่วพระนคร แขวง จังหวัด ถ้าสมีรักรักษสิกขาบทจริง ก็จะขวนขวายเอาของฝากนั้นมาแจ้งแก่สมเด็จพระสังฆราชแลพระราชาคณะผู้ใหญ่ทั้งปวง ให้ปฤกษาตามบทพระวินัยว่า ทรัพย์นี้จะเปนของ ๆ หลวง ฤายังเปนของอีเพงอยู่จึ่งควรแก่สมณะ นี่สมีรักปิดบังไว้มิได้ให้ราชาคณะทั้งปวงรู้

        อนึ่ง ก็ได้โปรดให้ป่าวร้องเปนหลายครั้ง สมีรักก็มิได้บอกแก่ผู้ใด ต่ออ้ายมีซื่อให้การออกว่า ของอีเพงฝากไว้แก่สมีรักเปนอันมาก จะตรัสใช้ให้ราชบุรุษมา สมีรักจึ่งสำแดงออกให้แก่ราชบุรุษ ของนั้นจะมากน้อยประการใดมิได้รู้ ราชาคณะทั้งปวงจึ่งแจ้งต่อภายหลังฉนี้ ก็เหนใจสมีรักว่า สมีรักองอาจอยาบช้าหาอาไลยต่อสิกขาบทไม่หลายครั้งมาแล้ว กลัวสมีรักแกล้งบังเอาของ ๆเขาไว้ เจ้าของขาดอาไลย ก็ขาดสิกขาบทอยู่ก่อนแล้ว แต่หากสมี  รักกลัวไภยในประจุบันกว่ากลัวไภยอนาคต  จึ่งสู้สบถสาบาลให้การต่อพระราชาคณะ ๆ พิภาคษาว่าต้องแต่อาบัติปาจิตตีย์ สมีรักเปนโลกีย์มีไภยคติยังกลัวความตายอยู่ จะเชื่อเอาสบถสาบาลสมีรักมิได้ ก็เหนว่าสมีรักยังหาปราษจากมลทินโทษไม่ โดยกระแสทางความพิจารณาเนื้อความใหญ่ทั้งสองข้อ ฝ่ายพุทธจักรอาณาจักรเปนปัจจัยถึงกันติดพันสมีรักอยู่ แต่หากทรงพระกรุณาว่า ยังหามีพระราชกำหนดกฎหมายไม่ จึงงดโทษสมีรักไว้

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า อย่าให้ภิกษุสามเณรดูเยี่ยงอย่างสมีรัก ห้ามอย่าให้ภิกษุสามเณรทั้งปวงจงรับของฝากฆราวาศ จะเสียพระวินัยพระสาศนาไป ถ้าภิกษุไม่รับฝาก ห้ามปรามผู้ฝาก ผู้ฝากมิฟังกลัวไภยขืนทิ้งไว้ในกุฎีในทันใดนั้น เจ้ากูจงเดือดร้อนเร่งเอาเพื่อนพรหมจรรย์ที่ใกล้กันให้หลายองค์รู้เหนเปนพยานในรายสิ่งของทั้งนั้นให้แน่ไว้ อย่าให้ผู้อื่นมีความแคลงสงไสยตน ในทันใดนั้น จึ่งภาสงฆ์ซึ่งรู้เหนนั้นไปแจ้งเนื้อความแลสิ่งของแก่พระราชาคณะเจ้าอธิการจงประชุมนุมกันปฤกษาจงเลอียดให้ต้องตามพระวินัยบัญญัติ อย่าให้เสียสิกขาบท ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยจะปฤกษาประการใด จงประพฤติ์ตามให้สงฆ์เปนอันมากรู้เหนเปนพยานไว้ ถ้าพระสงฆ์ราชาคณะปฤกษาให้ช่วยเก็บไว้ ๆ ด้วยเคลือบแคลงอยู่มิรู้ว่าเปนของ ๆ หลวง ฤาของผู้ฝาก ๆ เปนโทษตายไป สงฆ์ทั้งปวงจะนิ่งไว้ ก็จะเปนที่แคลงแก่ฆราวาศทั้งปวง จงชวนกันร้อนใจ ดูพระวินัยบัญญัติปฤกษากันควรจะมอบทรัพยสิ่งของให้แก่ผู้ใด ที่จะพ้นจากธุระอาบัติ ก็เร่งเดือดร้อนปฤกษาจงได้ อย่าให้ผู้อื่นแคลงในพระพุทธสาศนา แลห้ามฝ่ายฆราวาสอย่าให้เอาของเงินทองไปฝากภิกษุสามเณรไว้ ทำให้เจ้ากูเสียวินัยสิกขาบทเปนอันขาดทีเดียว

        ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎมหมายนี้ ฝ่ายภิกษุสามเณรจะลงพระราชอาญาโทษ ดุจโทษอทินนาทานปาราชิก จะศึกออกขับเฆี่ยนจนษาหัศ ฝ่ายฆราวาสจะให้ริบราชบาทว์ ขับเฆี่ยนจงหนักโดยโทษานุโทษ

        อนึ่ง เหตุอ้ายเมือง อ้ายเกิด อ้ายเหลือ อ้ายมา ผู้พวกประทุษฐร้ายแผ่นดิน ทั้งนี้ แต่พื้นเปนเณรใหญ่ แลให้พระราชาคณะจัดแจงดู ถ้าสามเณรรูปใดมีอายุควรจะอุปะสมบทแล้ว ก็ให้บวชเข้าร่ำเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระ อย่าให้เที่ยวไปมาเรียนความรู้อิทธิฤทธิให้ผิดธุระทั้งสองไป น้ำใจก็จะกำเริบได้เพื่อนฝูงแล้ว จะคบกันทำร้ายแผ่นดินดุจครั้งนี้ ถ้าแลสามเณรรูปใดอายุถึงอุปสมบทแล้ว มิได้บวชเที่ยวเล่นโว้เว้อยู่ จับได้จะเอาตัวสามเณรแลซีต้นอาจาริยญาติโยมเปนโทษจงหนัก

        กฎให้ไว้ ณ วันจันทร์ เดือนหก ขึ้นห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

ฉบับ (๓)

        ۞  กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุงเทพ แลผู้รั้งกรมการหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ แขวง จังหวัด จงทั่ว สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาสะนุปภัมถกพระพุทธสาศนาจำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระบริญัติแลปฏิปติสาศนาให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ หลวงเมธาธิบดี ศรีราชบัณฑิตย รับพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า พระสาศนาจะวัฒนาการตั้งไปได้อาไศรยพระราชอาณาจักร สมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้า ผู้ทรงธรรมสงเคราะหพระสาศนา ฝ่ายพระวินัยบัญญัติเล่า พระพุทธองค์ตรัสสอนอนุญาตไว้ว่า ถ้ากุลบุตรบวชเปนพระภิกษุสงฆ์ในพระสาศนาแล้ว ให้อยู่ในสำนักหมู่คณะสงฆ์แลอุปฌาอาจาริยก่อน จะได้รู้กิจวัตรปรฏิบัติ ถึงมาทว่าจะประพฤติ์ผิดทำทุจริตอันมิควร ก็จะมีความลอายกลัวเพื่อนพรหมจรริยแลครูอุปฌาจะกล่าวติเตียน ความชั่วทุจริตที่ทำนั้นจะสงบลง ศีลนั้นก็จะบริสุทธิ์เปนที่ตั้งแก่สมาธิปัญญาวิปัศนามัคญาณ สำเร็จมัคผลในหมู่คณะสงฆ์ในสำนักครูอุปฌาอาจาริยนี้ ก็มีเปนอันมากจะนับมิได้ แม้นมาทจะมีปรารถนา จะหาที่อยู่อันสบายสมควรแก่พระกัมฐานก็ดี ก็ย่อมชักชวนเพื่อนพรหมจรริยที่ร่วมศรัทธาด้วยกันสามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ห้าสิบบ้าง เข้ามาถวายนมัศการอำลาสมเด็จพระสาศดาแลอุปฌาอาจาริยเปนพยาน แลเปนเพื่อนที่จะได้ทำสังฆกรรมแลอุโบสถกรรมด้วยกัน เพื่อจะได้ศีลบริสุทธิ์เปนที่ตั้งแก่พระกรรมฐาน ก็สำเร็จมัคผล เพราะมีเพื่อนพรหมจรริยไปเปนพยาน

        อนึ่ง จะทำผิดชอบประการใด จะได้เอาตัวผู้กระทำผิดแลชอบนั้นโดยง่าย เพราะอยู่ในวัดวารประเพณีสืบมา หาอันตรายในพระพุทธสาศนามิได้ แลภิกษุสงฆ์ทุกวันนี้ ละพระวินัยบัญญัติเสีย มิได้ระวังตักเตือนสั่งสอนกำชับว่ากล่าวกัน ครั้นบวชเข้าแล้วก็มิได้ให้ศิษย์อยู่นิไสยในหมู่คณะสงฆ์ครูอุปฌาอาจาริยก่อน ให้เที่ยวไปโดยอำเภอใจ แต่รูปหนึ่งสองรูปสามรูปไปตั้งซุ่มซ่อนอยู่ ทำมารยารักษาศีลภาวนา ทำกิริยาให้คนเลื่อมไสยนับถือ สำแดงความรู้วิชาอวดอิทธิฤทธิ เปนอุตริมนุษธรรมเปนกลโกหกตั้งตัวว่ามีบุญ ว่าภบคนวิเสศมีวิชามาแต่ถ้ำ แต่เขาคิดจะเอาพวกเพื่อนชิงเอาราชสมบัติ ทำให้แผ่นดินแลสาศนาจลาจลประดุจหนึ่งอ้ายดา อ้ายรอด อ้ายเมือง อ้ายเกิด อ้ายภัก อ้ายโกหกทั้งนี้ แต่พื้นเอาผ้ากาษาวพัตถ์คลุมตัวไว้ในพระสาศนา ชวนกันคิดอุบายกลโกหกอวดอิทธิฤทธิ์คิดเอาราชสมบัติ แลอ้ายมีที่มีโทษาพยาบาท แลโลภเจตนาหาปัญญามิได้ ก็มีน้ำใจกล้าขึ้นเข้าเปนพรรคพวก ชวนกันกระทำประทุษร้ายแผ่นดินถึงสามารถ ครั้งนี้ หากว่าพระบรมโพธิสมภารล้ำเลิศประเสริฐสามารถ อนึ่ง เทพยดาตามอพิบาลรักษา ก็บันดาลให้หาอันตรายมิได้ จะมีผู้ใดกราบทูลพระกรุณาถวายเหตุอ้ายมีผู้ประทุษฐร้ายหามิได้ อ้ายมีประทุษฐร้ายก็ตายทั้งสองประหนึ่งจะมิกลับไป แลก็บันดาลมิให้หนีพ้นจากข่ายพระปรีชาเทพยดาด้วยพระสุบินนิมิตรให้ทรงพระพินิจด้วยกำลังพระปัญญา ก็ได้ตัวอ้ายมีแลพรรคพวกผู้ประทุษฐร้ายเปนสัตยประจักแจ้งแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง แลสัตรูอันใหญ่หลวงประดุจล้มโลกย ทำลายล้างพระสาศนาเสียทั้งสิ้น เพราะเหตุพระสงฆ์ราชาคณะอธิการผู้ใหญ่ผู้น้อยมิได้เอาใจใส่ตักเตือนว่ากล่าวตามพระวินัยบัญญัติ แลให้สงฆ์ศิษยสานุศิษย์ไปเที่ยวซุ่มซ่อนทำกลโกหกคบค้ากันทำร้ายแผ่นดินแลพระสาศนา

        ฝ่ายฆราวาสข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ก็ละเมินเสียมิได้เอาใจใส่ระวังรักษา ให้อ้ายอีมีชื่อผู้สัตรู เข้ามาทำอันตรายถึงในพระราชฐาน เปนอุปจารใกล้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวฉนี้ ถ้าจะตามบุราณราชกำหนดกฎหมาย ฝ่ายสมณฆราวาศมิได้พ้นจาก

มหันตะโทษอันจะพินาศฉิบหาย แต่หากทรงพระกรุณายกโทษไว้ เพราะเหตุยังมิได้มีพระราชกำหนดกฎหมายก่อน จึ่งงดไว้ให้ลงพระราชอาญา แต่อ้ายมีผู้ประทุษฐร้ายแผ่นดินแลพรรคพวกโคตรญาติกา ถึงสิ้นชีวิตตามพระอัยการแล้ว แลเกิดการกุลีย์ทั้งนี้ ดูมิควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ให้พระราชาคณะจัดแจงตั้งแต่งภิกษุสงฆ์สามเณรบันดานอกกรุง ในกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ให้เปนพระราชาคณะ แลอธิการ ให้มีตราตั้งแต่งเปนอักษรชื่ออาราม เปนอักษรขอมสำหรับตัวประจำที่พระราชาคณะเจ้าอธิการทุกตำแหน่ง ทุกอาราม ถ้าแขวงใด เมืองใด พระสงฆ์มาก วัดหนึ่งให้มีอธิการหนึ่ง อันดับ ๙-๑๐ รูปขึ้นไป ถ้าพระสงฆ์น้อย อารามหนึ่งให้มีอธิการหนึ่ง อันดับ ๔-๕ รูปขึ้นไป ให้ปรฏิบัติรักษาพระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ อย่าให้เปนอันตราย ถ้าแลพระสงฆ์แลสามเณรแขวง จังหวัด เมือง ๑-๒-๓-๔ จะมีศรัทธาเที่ยวเข้ามาร่ำเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระแลสมณะกิจประการใด ก็จะเขียนฉายาแลชื่อตัวแลพระวะษาแลชื่ออุปฌาอาจาริยตีตราราชาคณะหัวเมืองนั้น ๆ มาเปนสำคัญ จะอยู่อารามใดเมืองใดก็ดี ให้หนังสือแลตราสำคัญนั้น ๆ แจ้งแก่ราชาคณะเจ้าอธิการในกรุง ถ้าแลพระราชาคณะเจ้าอธิการในกรุงเหนหนังสือแลตราสำคัญแล้ว จึ่งให้รับไว้ร่ำเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระตามกิจ ถ้าแลฝ่ายพระสงฆ์สามเณร ณ กรุงเทพ แขวง จังหวัด อารามใด ๆ ก็ศรัทธาจะใคร่เที่ยวไปจำพระวะษาเล่าเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระ ณ แขวง จังหวัด หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ นั้น ก็ให้มีหนังสือสัญญาชื่อตัวแลวะษา ชื่ออุปฌาอาจาริยแลอาราม ตีตราพระราชาคณะเจ้าอธิการกุงเปนสำคัญ ไปแจ้งแก่เจ้าอาราม เจ้าคณะแขวง จังหวัดหัวเมือง ๆ ได้แจ้งหนังสือสัญญาตราสำคัญแล้ว จึ่งรับไว้ให้เล่าเรียนตามกิจพระวินัย อาการดังนี้ แม้นจะชั่วแลดี จะได้สืบสาวรู้ง่าย หนึ่งก็เปนที่คำนับรู้จักเค้ามูลแห่งกัน จะได้กระทำสังฆกรรมอุโบสถกรรมด้วยกันเปนอันดี หาความรังเกียจแก่กันมิได้ อนึ่ง ถ้ากุลบุตรจะบวชเรียนอำลาปจุศึกก็ดี ให้รู้ว่ากุลบุตรชื่อนั้นอยู่บ้านนั้น เปนลูกหลานผู้นั้น ๆ แลให้พระราชาคณะเจ้าหมู่เจ้าอธิการแลกรมการหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ นายอำเภอแขวง จังหวัดทั้งปวงกำชับว่ากล่าวสอดแนม แระวังไวดูหมู่คณะในแว่นแคว้นแขวงจังหวัดวัดวาอารามบันดาขึ้นแก่ตน อย่าให้มีคนโกหกมารยาคิดร้ายแผ่นดินแลพระสาศนาให้จลาจล ดุจครั้งนี้ได้เปนอันขาดทีเดียว ห้ามอย่าให้อาณาประชาราษฎรทั้งปวง นับถือคบค้าปรฏิบัติอ้ายโกหก แม้นถึงพวกอ้ายโกหกจะคบคิดกันทำประทุษฐร้ายสักเท่าใดก็ไม่สำเร็จ แต่ภากันตายวินาศฉิบหายสิ้นโคตรเผ่าพันธุเปนอันตรายไปเอง ถ้าแลผู้ใดรู้เหนว่าอ้ายพวกเหล่าร้ายคิดกลโกหกมารยาแล้ว แลมิได้จับกุมว่ากล่าวบอก ให้กราบทูลพระกรุณาละเมินเสียให้มีคนโกหกมารยาประทุษฐร้ายแผ่นดินขึ้นในแขวงจังหวัดบ้านเมืองประเทศวัดวาอารามคามนิคมแห่งใด ๆ จะเอาเจ้าคณะ เจ้าอาราม เจ้าอธิการ เจ้าเมือง เจ้าบ้าน แขวง จังหวัดในประเทศนั้น ๆ เปนโทษกระบถ ดุจโทษอ้ายคนโกหกคิดร้ายแผ่นดินแลพระสาศนาเปนจลาจล

        กฎให้ไว้ ณ วันพฤหัสบดี เดือนหก ขึ้นแปดค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

ฉบับ (๔)

        ۞  กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรในกรุงนอกกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ ทุกอาราม คามวาศรี อรัญวาศรี จงทั่ว สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกเอกสุนธรราชศรัทธา เปนมหาสาศนุปถัมภกพระพุทธศาสนา จำเริญศรีสวัสดิทั้งพระบริญัติแลปฏิบัติสาศนาให้ถาวรารุ่งเรืองไป เปนที่เลื่อมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ มีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า เปนประเพณีในพระพุทธสาศนาสืบมาแต่ก่อน มีพระพุทธฎีกาโปรดไว้ ให้ภิกษุสามเณรอันบวชในพระพุทธสาศนารักษาธุระสองประการ มีคันธธุระวิปัศนาธุระเปนที่ยุดหน่วง ถึงน้ำจิตรจะแปรไปในกิเลศกามวัดถุกามก็ดี ย่อมคิดถึงธุระทั้งสองประการ จิตรนั้นก็สงบลง กุลบุตรที่มีวาศนามาก ก็ได้มัคได้ผลพ้นสงสารทุกข ที่บุญน้อยสุดกำลังมิอาจครองธุระทั้งสองแล้วก็ดี ครั้นจะออกเปนฆราวาศ จะหาเลี้ยงชีวิตก็มิได้ จำจะอยู่เลี้ยงชีวิตอยู่ในสมณะ ให้ลามกมลทินในผ้ากาษาวพัตถ์อันเปนธงไชยพระอาริยเจ้า บางคนที่บวชเข้าแล้ว ก็ไม่โลเลหาละธุระทั้งสองเสียไม่อุษาหปรฏิบัติ ถึงมิได้มัคผลในชาตินี้ก็เปนวาศนาติดตนไปในอนาคต เปนประเพณีมนุษยมีปัญญาภบเหนพระสาศนาเข้าแล้วก็มีความเพียรปรฏิบัติตามธุระทั้งสอง อยู่นิไสยในสำนักครูอุปฌาอาจาริย ๆ ก็ตั้งใจสั่งสอนตักเตือนกำชับว่ากล่าว กันมิได้ละเมินพระสาศนาหามิได้ พระสาศนาก็บริบูรณมา แลภิกษุสามเณรทุกวันนี้ ลางรูปบวชเข้ามาแล้ว ก็มิได้ปรฏิบัติตามธุระทั้งสอง เปนภิกษุโลเลละบุรุษความเพียรนั้นเสีย เสียประโยชนไปในชาตินี้ชาติน่า เอาแต่ผ้ากาสาวพัตถ์เปนที่พึ่ง เพื่อจะเอาแต่ความสบายให้บริบูรณกายเนื้อหนังดุจพระพุทธฎีกาตรัสว่า  เหมือนโคแลกระบือเกิดมาแต่จะบริโภคอาหารให้จำเริญแต่เนื้อหนัง จะได้จำเริญศีลสมาธิปัญญานั้นหามิได้ แล้วก็มิได้อยู่ในนิไสยอุปฌาอาจาริย ทั้งอุปฌาจาริย ก็เมินเสียมิได้กำชับว่ากล่าว ให้ประพฤติ์แล้วตามอำเภอใจ มิได้ร่ำเรียนเอาธุระอันใดที่จะห้ามจิตรบาป ก็ช่วยกันกระทำอกุศลหบาบช้าทำร้ายแผ่นดินแลพระพุทธสาศนาให้เศร้าหมองฉะนี้ มิควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ห้ามอย่าให้มีภิกษุสามเณรโลเลละวัตรปรฏิบัติแลปฏิญาณตัวว่าเปนกิจวัด มิได้ร่ำเรียนธุระทั้งสองฝ่าย อย่าให้มีได้เปนอันขาดทีเดียว อนึ่ง บวชเข้าแล้วให้อยู่ในหมู่คณะสำนักอุปฌาอาจาริย ๆ จะได้ตั้งใจปรฏิบัติรักษาสิกขาบทอย่าโลเล ให้ศิษยเอาเยี่ยงอย่าง แลพระสาศนาจะรุ่งเรืองขึ้นนั้นเพราะพระราชาคณะ ให้พระราชาคณะเร่งตักเตือนพิจารณาเหนว่า ศิษยควรจะร่ำเรียนคันธธุระวิปัศนาธุระอันใดอันหนึ่งได้ ก็ให้ร่ำเรียนธุระอันนั้น แล้วปรฏิบัติตามพระบริญัติปฏิปติสาศนา ให้เปนที่เลื่อมไสยศรัทธาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวงแล้ว ให้พระราชาคณะเจ้าอธิการทำบาญชีหางว่าว ภิกษุสามเณรฝ่ายคันธุระวิปัศนาธุระส่งให้สังฆการีธรรมการ กราบทูลพระกรุณา จะได้ทรงพระราชศรัทธาบำเพ็ญพระราชกุศล  แลให้พระราชาคณะเจ้าอธิการสังฆการีธรรมการกำชับว่ากล่าวพระภิกษุสามเณรให้เนือง ๆ ถ้าภิกษุแลสามเณรองค์ใดกักขละอยาบช้าสอนยาก อุปฌาอาจาริยจะว่ามิฟังสั่งสอนเปนหลายครั้งแล้วมิได้ปรฏิบัติตาม ให้กำจัดเสียอย่าให้เข้าหมู่คณะได้เปนอันขาดทีเดียว พระสาศนาจึ่งจะรุ่งเรืองสืบไป ถ้าแลพระราชาคณะเจ้าอธิการภิกษุสามเณรสังฆการีธรรมการผู้ใด มิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ จะเอาตัวญาติโยมเปนโทษตามโทษานุโทษ

        กฎให้ไว้ ณ วันอาทิตย เดือนแปด ขึ้นสิบห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

ฉบับ (๕)

        ۞  กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระ นอกกรุงในกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ จงทั่ว สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาศนุปภัมถกพระพุทธสาศนา  จำเริญศรีสวัสดิทั้งพระบริญัติแลฏิปติสาศนาให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลือมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ จึ่งมีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า  อ้ายมาต้องเมถุนปาราชิกแล้ว มิได้กลัวบาปลอายแก่บาปปัฏิญาณตัวว่า เปนภิกษุเข้ากระทำสังฆกรรมด้วยพระสงฆ์ เปนอุปฌาบวชนาค ปลอมเข้าผูกโบศ แลรับกระถิน กระทำสังฆกรรมอุโบสถกรรมด้วย พระสงฆ์กระทำเปนไถยสังวาศ อาลัดชีสมโภคให้สังฆกรรมไม่บริสุทธิ์ ให้เสียศรัทธาท่านทายก อ้ายชูต้องอทินนาทานปาราชิกกล่าวถ้อยคำมายามุสาวาทว่า เอาเงินไว้จะให้เถ้าแก่อยู่ ครั้นสงฆ์สืบเปนสัตยว่า บังเอาทรัพย์ไว้เองนาน ประมาณปีหนึ่งมิได้ให้เถ้าแก่อยู่ แล้วปกปิดโทษไว้ปัฏิญาณตัวว่า เปนภิกษุสมณะเข้านั่งหัตถบาศบวชนาค เข้าผูกอุโบสถทำสังฆกรรมด้วยสงฆ์ ให้สาศนาเศร้าหมอง แลอ้ายแก้วต้องอทินนาทานปาราชิก มีผู้โจทยแจ้งแต่พระธรรมราชมุนี ๆ ผู้ชำระพระสาศนาจะเอามาว่ากล่าว กลับเอาอธิกรณโทษของพระธรรมราชมุนี อันสงฆ์พิภาคษาบริสุทธิ์แล้วถึงครั้งหนึ่งสองครั้ง กลับมายกโทษพระธรรมราชมุนี แล้วว่ากล่าวอยาบช้าแก่พระธรรมราชมุนีผู้ชำระพระสาศนาให้ได้ความอัปยศในท่ามกลางสงฆ์อีกเล่า แลเอามลทินนิลโทษไปป้ายท่านผู้ศีลบริสุทธิ์ พระสงฆ์ชำระว่ากล่าวแล้วฉนี้ หวังจะให้ทายกทั้งปวงที่ศรัทธากระทำกุศลไว้ สอดแคล้วกินแหนงท่านผู้ศีลบริสุทธิ์ จะให้ผลของทายกนั้นน้อยไปมิควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ถ้าภิกษุองค์ใดต้องจัตุปาราชิกทั้งสี่แต่อันใดอันหนึ่งผิดแล้ว ให้มาบอกแก่สงฆ์จงแจ้งแต่ในอุโบสถเดียวนั้น อย่าให้ปกปิดโทษจัตุปาราชิกไว้ปัฏิญาณตัวเปนสงฆ์สมณะ เข้ากระทำสังฆกรรมอุปสมบทกรรมด้วยคณะสงฆ์ ให้เปนมลทินในสังฆกรรมทั้งปวง ดุจหนึ่งอ้ายแก้วอันมิได้มีความลอายแก่บาปกลัวแก่บาป  มิได้เกรงไภยในอนาคตเปนอันขาดทีเดียว ถ้าแลมิฟังพระราชกำหนดกฎหมาย แลตัวต้องจัตุปาราชิกแต่อันใดอันหนึ่งแล้วแลปกปิดโทษไว้ เข้ากระทำสังฆกรรมด้วยพระสงฆ์ให้พระสาศนาเศร้าหมอง ถ้ามีผู้โจทยว่ากล่าวพิจารณาเปนสัจ จะเอาตัวเปนโทษถึงสิ้นชีวิต แล้วให้ริบราชบาทว์ขับเฆี่ยนตีโบยญาติโยมจงหนัก อย่าให้เปนเยี่ยงอย่างสืบไป

        กฎให้ไว้ ณ วันอาทิตย เดือนแปด ขึ้นสิบห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

ฉบับ (๖)

        ۞  กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระราชาคณะ เจ้าอธิการ อนุจรแลข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ข้างน่า ข้างใน ฝ่ายทหาร พลเรือน ผู้รั้งกรมการ อาณาประชาราษฎรนอกกรุง ในกรุง แขวง จังหวัด หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือทั้งปวง จงทั่ว สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกพิบูลสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาศนุปภัมถกพระพุทธสาศนา  จำเริญศรีสวัสดิทั้งพระบริญัติแลฏิปติสาศนาให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลือมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิทราชธรรมอันประเสริฐ ตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า แต่ก่อนฆราวาศผู้จะทำทานแก่ภิกษุสงฆ์ โดยต่ำแต่เข้าทัพพีหนึ่งก็มีผลปรากฎในชั่วนี้ชั่วน่า เพราะพระภิกษุผู้รับทานนั้นทรงศีลบริสุทธิ์ ฝ่ายฆราวาศผู้จะให้ทานนั้น ก็มีปัญญาย่อมตักเตือนมิได้เกียจคร้าน จ่ายทรัพยตกแต่งทานประณีตบันจงเปนจัตุปัจจัยทานตามพระพุทธโอวาทตรัสสอนไว้ แลผู้ให้ผู้รับทั้งสองฝ่ายสุจริตดีจริง จึ่งให้ผลมากประจักในชั่วนี้ชั่วน่าสืบมา ทุกวันนี้ ภิกษุแลสามเณรผู้รับทานรักษาสิกขาบทนั้น ก็ฟั่นเฟือนมักมาก โลภรับเงินทองของอันมิควรด้วยกิจพระวินัยสั่งสมทรัพยสิ่งของ เที่ยวผสมประสานทำการของฆราวาศ การสพ การเบญจา เปนหมอนวดหมอยาหมอดู ใช้สอยอาษาการคฤหัฐแลให้สิ่งของต่าง ๆ แก่คฤหัฐ เพื่อจะให้เปนประโยชน จะให้เกิดลาภเลี้ยงชีวิตรผิดธรรม มิควรนักแม้ว่าท่านพระอุประคุตเถรเจ้าอันเปนอรหรรตเหมือนน้ำเต็มกระออมอยู่แล้ว เมื่อรับปัฏิญาณพระมหาเถระทั้งปวงที่จะธรมานพระยามาร เมื่อกระทำการฉลองพระวิหารแปดหมื่นสี่พันนั้น จึ่งกล่าวแก่พระสงฆ์ทั้งปวงว่า ข้าพเจ้าจะพึงได้อาหารที่ชอบธรรมที่ใดมาฉันเปนกำลัง ภิกษุองค์หนึ่งจึ่งรับว่า ข้าพระเจ้าจะรับถวาย พระอุประคุตจึ่งถามว่าอาหารของท่านได้ด้วยเหตุอันใด ภิกษุจึ่งบอกว่า อาหารนี้ข้าพระเจ้าได้ด้วยผลทาน เมื่อครั้งข้าพระเจ้าเปนภิกษุแต่ชาติก่อนเปนตระกูลพราหมณ์แห่งหนึ่ง ทายกเขานิมนตเข้าไปฉันมธุปายาศ ข้าพระเจ้าฉันอิ่มพ้นประมาณ ล้วงคอรากมธุปายาศออก ให้ทานแก่แม่สุนักจักษุบอด ด้วยผลทานนี้ให้บังเกิดอาหารทิพยแก่ข้าพระเจ้าวันละสองบาตรเหล็ก ข้าพระเจ้าขอถวายแก่พระผู้เปนเจ้า พระอุประคุตห้ามว่า อาหารของท่านหาชอบธรรมไม่ เหตุว่าท่านบริโภคเหลือประมาณจำเปนให้ทาน แลภิกษุองค์หนึ่งจึ่งว่า อาหารของข้าพระเจ้าบังเกิดด้วยผลทานแต่ชาติก่อน ข้าพระเจ้าภาภิกษุเพื่อนของข้าพระเจ้า เข้าไปในเรือนบิดาข้าพระเจ้าวันละสี่รูปทุกวัน ด้วยผลทานนั้น ก็บังเกิดอาหารทิพยแก่ข้าพระเจ้าในชาตินี้วันละสี่บาตรเหล็ก จะขอถวายพระผู้เปนเจ้า พระอุประคุตเถรเจ้าก็ห้ามเสียว่า อาหารแห่งท่านบังเกิดแต่ตัณหาสัณฐวะ บิดาท่านรักท่านจึ่งพลอยให้ภิกษุสี่รูปฉัน เรามิควรจะบริโภค อนึ่ง พระษาริบุตรเถรเจ้าป่วยอุทรโรค ๆ นั้น ชอบฉันมธุปายาศหาย  จึ่งบอกแก่พระโมคคัลลานะเถรเจ้า ๆ ก็ว่าจะไปบิณฑบาตรตามบุญ เทพยดาฟังสนทนา  ก็ไปสู่โยมอุปฐากพระษาริบุตรเถรเจ้าเข้าบิดคอ จึ่งชนทั้งปวงถามว่าท่านกระทำเบียดเบียนมนุษยดังนี้ จะปรารถนาสิ่งใด เทพยดาบอกว่า เราปรารถนาเข้ามธุปายาศ ให้พวกท่านทำถวายพระษาริบุตรเถรเจ้า ชนทั้งปวงจึ่งว่าเราจะทำถวายท่าน จงออกไปเถิด เทพยดาก็ออกจากกาย ชนทั้งหลายก็กระทำมธุปายาศ เวลาเช้าใส่บาตรพระโมคคัลลานะ ๆ จึ่งนำมาถวายพระษาริบุตรเถรเจ้า ๆ พิจารณาก็แจ้งว่าอาหารนี้ มิชอบธรรม เกิดแต่เทพยดาไปเบียดเบียนบอกกล่าวขอเอามธุปายาศ  จึ่งกล่าวว่าดูกรอาวุโสโมคคัลลานะ อาหารนี้มิเปนธรรม แม้ใส้เราจะขาดออกมาถึงแก่ความตาย ก็ดูประเสริฐกว่าการบริโภคอาหารอันมิชอบธรรมนี้อีก ท่านจงไปเทเสียทั้งบาตรเถิด พระโมคคัลลานะก็เทเสีย แต่มาทว่าพระโมคคัลลานะคว่ำบาตรเทอาหารตกเหนือดิน ด้วยอำนาจอาชีวะปาริสุทธิศีลอันบริสุทธิ์ พระษาริบุตรเถรเจ้า ก็หายอุทรโรคในขณะนั้น เปนเยี่ยงอย่างพระอาจาริยเจ้าประพฤติมาฉนี้

        แลภิกษุทุกวันนี้บวชเข้ามิได้กระทำตามพระวินัย ปติบัติเหนแต่จะเลี้ยงชีวิตรผิดธรรม ให้มีแต่เนื้อหนังบริบูรณ ประดุจโคกระบือมีแต่บริโภคอาหารให้จำเริญเนื้อหนัง จะได้จำเริญสติปัญญานั้นหามิได้ เปนภิกษุสามเณรลามกในพระสาศนา ฝ่ายฆราวาศก็ปราศจากปัญญา มิได้รู้ว่าทำทานฉนี้ จะเกิดผลมากน้อยแก่ตนหามิได้ มักภอใจทำทานแก่ภิกษุสามเณรอันผสมประสานทำการของตนจึ่งทำทาน บางคนยังมักง่าย ถวายเงินทองของอันเปนอะกัปิยะมิควรแก่สมณะ สมณะก็มีใจโลภสั่งสมทรัพยเลี้ยงชีวิตรผิดพระพุทธบัญญัติฉนี้ ได้ชื่อว่าฆราวาสหมู่นั้น ให้กำลังแก่ภิกษุโจรอันปล้นพระสาศนา ทานนั้นหาผลมิได้ชื่อว่าทำลายพระสาศนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ห้ามมิให้ภิกษุสามเณรสงเคราะหฆราวาศให้ผลไม้ดอกไม้ใบไม้เปนต้น แล้วอย่าให้ผสมประสาน ขอกล่าวป่าวร้องเรี่ยไรสิ่งของอันเปนของฆราวาศอันมิใช่ญาติ แล้วอย่าให้ทำการสพแลทำเบญจาการฆราวาศทั้งปวง แล้วอย่าให้เปนหมอนวด หมอยา หมอดูต่าง ๆ แลอย่าให้แก่คฤหัฐอันมิใช่ญาติ แลห้ามอย่าให้เปนทูตใช้สอยนำข่าวสารการฆราวาศ แลห้ามบันดาการทั้งปวง อันกระทำผิดจากพระปาฏิโมกขสังวรวินัย

        ภิกษุรูปใดมีอธิกรณข้อใหญ่ สงฆ์พิภากษามิถ่องแท้เปนฉายาเงาปาราชิกควรจะเสีย อยู่ข้างการลามกในพระสาศนา เปนที่สงไสยสงฆ์ทั้งปวงอยู่แล้ว อย่าให้เอาไว้ให้ศึกเสีย เหตุภิกษุเหล่านี้ ครั้นกระทำผิดข้อใหญ่แล้ว ก็มิได้กลัวไภยในนรกกลัวไภยในประจุบัน  มากครั้งเอามาถามหารับตามจริงไม่ มักทนสบถษาบาล ให้การเคลือบแฝงฉะนี้ มีเปนอันมาก อนึ่ง ห้ามฝ่ายฆราวาศทั้งปวง อย่าให้ถวายเงินทองนากแก้วแหวนแลสิ่งของอันมิควร แก่สมณะเปนต้น แลทองเหลืองทองขาวทองสำฤทธแก่ภิกษุสามเณร แลห้ามอย่าให้ถวายบาตร นอกกว่าบาตรเหล็กบาตรดิน แลนิมนตใช้สอยพระภิกษุสามเณร ให้ทำการสพการเบญจาแลให้นวดแลทำยา ดูลักขณะ ดูเคราะห แลวาดเขียนแกะสลักเปนรูปสัตว แลใช้นำข่าวสารการฆราวาศต่าง ๆ แลห้ามบันดาการภิกษุสามเณร กระทำผิดจากพระปาฎิโมกขสังวรวินัยที่พรรณนาห้ามแล้วนั้น อย่าให้ฆราวาสทำตามน้ำใจภิกษุสามเณรอันกระทำเปนอันขาดทีเดียว

        ถ้าแลพระราชาคณะเจ้าอธิการ ภิกษุสามเณร ฆราวาศแลสังฆการีธรรมการผู้ใดมิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ แลละเมินเสียมิได้กำชับว่ากล่าวกันกระทำให้ผิด พระสาศนาเศร้าหมองดุจหนึ่งแต่ก่อนนั้น ฝ่ายพระราชาคณะ เจ้าอธิการภิกษุสามเณร จะเอาญาติโยมเปนโทษ ฝ่ายฆราวาศทั้งปวงจะให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีตามโทษานุโทษ

        กฎให้ไว้ ณ วันอาทิตย เดือนแปด ขึ้นสิบห้าค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๕ ปีเถาะ นักษัตรเบญจศก ฯ

ฉบับ (๗)

        ۞  กฎให้ไว้แก่สังฆการีธรรมการ พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยแลเจ้าอธิการ ฝ่ายคันธธุระวิปัศนาธุระ นอกกรุง ในกรุง หัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ตวันตก ตวันออก ปากใต้ ฝ่ายเหนือ จงทั่ว สมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา เปนอัคมหาสาศนุปภัมถกพระพุทธสาศนา  จำเริญศรีสวัสดิทั้งพระบริญัติแลปฏิปติสาศนา ให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมไสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาภิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ ด้วยมีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า  เปนประเพณีเมืองไทย เมืองพม่า เมืองรามัญถวายกะถินทานแก่ภิกษุจำพระวะษาแล้ว แลออกพระวะษาในพระวิหารเสมาวงล้อมต่าง ๆ แลใกล้กันนั้นก็มีมาแต่ครั้งพระอรหรรตขีณาสพผู้ทรงวินัยไตรปิฏกนั้นมาช้านานตราบเท่าถึงสร้างกรุงศรีอยุทธยา แลท้าวพระยาอันทรงพระปัญญาพินิจพิจารณาเหนว่า พระสงฆ์ผู้ทรงวินัยไตรปิฏกอันยิ่ง รักษาพระสาศนานั้น ก็มีเปนอันมากตราบเท่าถึงพระพุทธศาสนาได้ ๒๓๒๖ พระวะษาแล้ว แลทุกวันนี้ ท้าวพระยาเสนาบดีใช่จะปราศจากปัญญา ย่อมรู้พิจารณาแจ้งเนื้อความผิดแลชอบอยู่ ฝ่ายพระสงฆ์ผู้ทรงพระวินัยเล่าก็มีมาก เปนต้นว่าพระพิมลธรรม พระอาจาริยวัดใบสอ พระอาจาริยวัดโคกเสือ ผู้ทรงพระวินัยชำนิชำนาญ อันเปนคู่กับพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย ต่อขึ้นไปดุจสมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้าทุกวันนี้ เปนที่ไต่ถามแก่ศิษยอันสงไสยในข้อพระวินัยนั้นก็มีเปนอันมาก ถ้าแลเหนว่าพระบาฬีว่าวัดมีเขตวงล้อมต่าง ๆ ใกล้กัน ผู้จะทอดกะถินในวัดนั้น กะถินนั้นมิเปนกะถิน พระสงฆ์ผู้รับกรานนั้นมิเปนอันอันกราน แน่ดังคำของพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริยฉนี้ ดีร้ายพระอรหรรตขีณาสพผู้ทรงพระวินัยไตรปิฎกสืบมาแต่บุราณ ก็จะทักท้วงว่ากล่าวบ้าง ประการนี้ก็มิได้มี เพราะเหตุท่านผู้วิเสศบุราณแต่ก่อนเหนว่า ต้องตามพระพุทธฎีกามีอานิสงษห้าประการ คุ้มอาบัติแก่พระสงฆ์อันได้อนุโมทนา แลเปนอานิสงษแก่ผู้ถวายกะถินทาน เปนอันมากมั่นคงแล้ว จึงมิได้เคลือบแคลงทักท้วงว่ากล่าวกัน นิ่งมาคุ้มเท่าบัดนี้ แลพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย พระญาณวิริย พวกศิษยคบคิดกันกล่าวว่า ทอดกะถินมาแต่ก่อนในวัดอันใกล้กันหาเปนกะถินไม่ ทั้งนี้ เหมือนหนึ่งรื้อเลิกพระสาศนาอันพระอาจาริยผู้วิเสศทรงพระไตรยปิฎกปฤกษาเรียบร้อยไว้เปนอันดีโดยพระวินัยอยู่แล้ว ให้ผิดจากขนบพระสาศนาให้พระสงฆ์แตกออกถือเปนสองฝ่ายร้าวฉานแก่กัน ยังพระธรรมวินัยให้เสียประโยชนแก่พระสงฆ์ผู้จะได้รับกะถินทาน แลท่านทายกซึ่งจะได้ถวายกะถินด้วยศรัทธาเลื่อมใสฉนี้     เปนครุกรรมใหญ่หลวง ก็จะได้โทษทุก ๆ ปีไปกว่าจะสิ้นพระสาศนา จะเสวยทุกขเวทนานั้น เมื่อไรเลยจะรู้สิ้นทุกข ทั้งนี้ เพราะทฤฐิมานะถือว่ารู้พระวินัย อันพระวินัยเปนพุทธวิไสยคัมภีรภาพ แลจะรู้เอาเองโดยอัตโนมัตยอย่างพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริยฉนี้ แลมิได้เอาเยี่ยงอย่างท่านผู้วิเสศอันทรงพระวินัยไตรยปิฎกแต่ก่อน อันปรฏิบัติมานั้น เหนจะฉิบหายทั้งอาจาริยแลศิษยอันปรฏิบัติผิดนั้น ด้วยเหตุพระธรรมราชมุนีมีแต่ปัญญาปราศจากสติ อันธรรมดาบุคคนผู้มีสติประกอบด้วยปัญญา ถึงจะรู้ศักเท่ารู้ในบทบาท เหนประหลาดแปลกอยู่แล้วก็ดีก็มีอาจว่าก่อน อันมีสติรฤกว่าพระวินัยนี้เป็นสาครฤกนัก ก็เอาสติรฤกไปถึงอย่างประเพณีท่านผู้วิเสศบุราณอันปรฏิบัติมานั้น มาเปรียบเทียบดูก่อน ถ้าผิดกันอยู่ ก็มิอาจจะว่าออกได้เปนอย่างผู้มีสติปัญญาฉนี้ พระธรรมราชมุนีหาได้เรียนพระวินัยในสำนักอาจาริยผู้ทรงพระวินัยสันทัดเหมือนอย่างสมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้าไม่ มีแต่ปัญญาหาสติไม่ ครั้นภบ บทบาทอันใดเข้าเหนประหลาด ก็คิดจะเอาแต่เกียรติยศให้ปรากฎ หามีสติที่จะรฤกถึงประเพณีท่านผู้วิเสศบุราณอันปรฏิบัติมาไม่ ก็ว่ากล่าวแต่อำเพอใจ ถ้าเปนสภาวะวินัยธรรมผู้เถ้าแท้ ที่บำรุงพระพุทธสาศนา แม้นว่าเหนข้อพระวินัยหนขางมาไม่ ก็ว่ากล่าวแจาณอันปรกskผิดชอบประการใด ก็ชอบปฤกษา ปรองดองแต่ผู้เถ้าวินัยธรรมด้วยกัน ให้เหนผิดแลชอบ จะเอาแต่พระสาศนาให้รุ่งเรืองขึ้น นี่แกล้งให้แต่พระญาณวิริยะเด็กน้อย ผู้เปนศิษยของตนให้ทุ่มเถียงสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ทั้งนี้เหนในจิตรคิดด้วยบาปทฤฐิว่า ถ้าสมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้าทุ่มเถียงพลั้งพลาด แพ้พระญาณวิริยะผู้น้อยอันเปนศิษยของตนแล้ว จะให้เกียรติยศนั้นปรากฏไปว่า สมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้า ซึ่งทรงพระอนุเคราะหโปรดตั้งขึ้นไว้นั้นหารู้อันใดไม่ เถียงกันแต่กับพระญาณวิริยะอันเป็นศิษยของตนนั้นก็หาสู้ได้ไม่ จะให้เกียรติยศของตนปรากฎไป จึงประพฤติการทั้งนี้ แลว่านั้นก็หาแน่ถนัดในน้ำใจไม่ กลัวไภยจะผิด จะได้หลบเอาความชอบ จึงแนะนำให้พระญาณวิริยะผู้เปนศิษยให้เข้าเปนตัวว่า ตัวนั้นออกถือท้าย ครั้นเหนเพลี่ยงแล้ว กลับหาเข้าด้วยศิษยตนไม่ ไปเข้าชื่อด้วยสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ๆ ก็กลับเข้าด้วยศิษยตนไปเล่าแลกลับกลอกไปมาฉะนี้ เพราะหาเปนองค์วินัยธรรมแท้ ได้ร่ำเรียนมาแต่ครูวินัยอาจาริยอันสันทัด ไม่จึงกลับกลอกอยู่ฉนี้ ทำให้เสียประเพณีพระวินัยสาศนา เปนหลายครั้ง ๆ บวชนาค วัดหงษ์ ให้สวดยัตติบวชนาคพร้อม ๆ กันคราวละเก้าองค์สิบองค์ สงฆ์ได้ต่อว่า ก็ว่าอย่าว่าแต่เท่านี้เลย จะสวดคราวละ ๑๐,๐๐๐ องค์ก็ได้ ครั้งนั้นกระทำผิดให้พระพุทธบัญญัติแลประเพณีพระอาจาริยเจ้าผู้ทรงพระไตรยปิฎกกระทำสืบมาแต่ก่อน ครั้งนี้เล่า ประเพณีแลบาฬีในกะถินขันธกะอันพระอรหรรตขีณาสพผู้ทรงพระวินัยกระทำปรฏิบัติสืบ ๆ กันมาช้านาน หาผู้ใดจะทักท้วงไม่ตราบเท่าทุกวันนี้ พระธรรมราชมุนีเปนแต่โลกียหาทรงพระไตรยปิฎกไม่ ไม่ได้ร่ำเรียนพระวินัยแต่สำนักครูอันสันทัดชัดเจนในพระวินัยนั้นก็น้อย มีแต่ปัญญาเหนเอาเอง ถึงมาว่าท่านแต่ก่อนจะโลภไตรยจีวรรับกะถินทำผิดมา ถึงจะมีโทษนั้นน้อย เพราะว่าเปนกะถินเท่านั้น แต่สงฆ์ลาภนั้นได้อยู่ ผู้ถวายทาน ๆ นั้น ก็เปนสังฆทานมีอานิสงษมาก แม้นว่าของพระอาจาริยเจ้าแต่บุราณกระทำสืบ ๆ มาต้องตาม     พระวินัยบัญญัติเปนกะถินทานแท้ ถ้าผู้ภายหลังทำหักรานให้กะถินทานสาบสูญบัดนี้ ก็จะ เปนครุโทษสืบ ๆ ไป เปนหนักหนากว่าโทษที่ว่าท่านทำมาแต่ก่อนผิดนั้น แลจะเชื่อเอาคำ        พระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย อันจะเลิกซึ่งกะถินทานให้ขาด กะถินจีวรลาภของสงฆ์เปนอันมาก แลฝ่ายทายกก็จะขาดบุญที่จะได้ถวายกะถินทาน ดุจหนึ่งทำลายล้างพระเจดียสถานแลพระสาศนา เปนมหันตโทษอันใหญ่หลวงนัก จะเชื่อเอาถ้อยคำนั้นมิได้

        อนึ่ง เหนว่าพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย หาเปนสุภาพวินัยธรแท้ไม่ มิได้อยู่ในบังคับบัญชาสมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้า อันเปนครูมีพระวะษาทรงพระวินัยสันทัด ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งไว้เปนพระยาสงฆ์สำหรับพิภาคษาพระวินัย แลหักรานผู้เถ้าผู้แก่ให้นัยแก่พระญาณวิริยะผู้เปนศิษยตน นำเอาเนื้อความกิจสงฆ์เข้ามาถวายพระพร แล้วอุดหนุนถ้อยคำเอาโทษ อันเปนครุกรรมเข้ามาติดแปดเปื้อนไว้ในพระราชถาน หากว่าสมเด็จพระสังฆราชแลพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยยั่งยืนในพระวินัย ถวายพระพรขัดไว้จึ่งพ้นโทษ หาไม่ก็จะพลอยแปดเปื้อนปนด้วยอกุศลโทษอันใหญ่หลวงเนือง ๆ ไปกว่าจะสิ้นพระสาศนามิชอบนัก ฝ่ายพระพุทธาจาริยนั้นก็ไปเป็นอธิการวัดนาค ได้รับกะถินทานถึง ๒-๓ ปีแล้ว ๆ กลับเข้าด้วยพระธรรมราชมุนีว่าไม่ได้เล่า ก็เหนว่าพระพุทธาจาริยเปนภิกษุมารยาอกตัญญู มิได้รู้พระคุณครูอาจาริยแห่งตน ๆ จะรู้พระธรรมวินัยมีบุญขึ้น ทั้งนี้ ก็เพราะน้ำลายอายลิ้นของสมเด็จพระสังฆราช ชอบที่จะเจ็บร้อนสัมมาคาวระเปนอันดีจึงจะควร นี่ประพฤติอกตัญูอุดหนุนพระธรรมราชมุนี เข้าเปนพรรคพวกต่อสู้สมเด็จพระสังฆราชผู้เปนครูของตน ต่อแย้งทุ่มเถียงให้ได้ความอัประยศในท่ามกลางปริสัศฉนี้ ถ้าฝ่ายอาณาจักรฆราวาศ จะชิงที่ถานยศถาศักดิ์แห่งท่านผู้มีพระคุณผิดประเวณีธรรม มิชอบหนักหนา แม้นยังถือทฤษฐิมานะขืนอยู่ว่าลัดธิของตนถูกแล้วว่า พระอรหรรตขีณาสพผู้ทรงพระไตรยปิฎกปรัมปราอาจาริยวินัยผู้เถ้าผู้แก่ทั้งปวงกระทำสืบ ๆ มานั้นผิด ก็ได้ชื่อว่ายังพระธรรมวินัยให้ฉิบหายเหนสุดโทษ ๆ นั้น เสมอด้วยกระบิลภิกษุอันมัวเมาด้วยความรู้ อันฝ่ายพระพุทธาจาริยเปนมหาอกตัญูตรงตัว ถ้ามิได้คิดกลับหาชอบเลยจะดื้อดึงอยู่ด้วยทฤษฐิมานะ เหนโทษนั้นดุจมสีละมานพอันเรียนศิลปสาตรพื้นแต่สำนักคุดิลาจาริย แล้วอกตัญูกลับสู้อาจาริย อนึ่ง ดุจเทวะทัตวานรเปนอกตัญญู เหยียบหลังพระโพธิสัตววานรอันมีพระคุณให้หลักหักนั้น แลเหตุเปนครุกรรมใหญ่หลวงลามกมาถึงพระราชถาน ทั้งนี้ เพราะพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย  พระญาณวิริยะ ไม่มีสัมมาคาวระต่อสมเด็จพระสังฆราชผู้เถ้าอันทรงพระกรุณาโปรดตั้งขึ้นไว้ให้เปนที่ไหว้ที่บูชาปฤกษาพระวินัยทั้งปวง ถ้าพระธรรมราชมุนี พระพุทธาจาริย พระญาณวิริยะมีสัมมาคาวระดุจหนึ่งถ้อยคำปฏิญาณ ว่าจะเอาสมเด็จพระสังฆราชเปนที่ปฤกษาแล้ว ไหนเนื้อความในสังฆกิจฝ่ายพระพุทธจักร จะเข้ามาแปดเปื้อนปนราชอาณาจักรได้  ก็จะสูญสงบอยู่แต่ในสมณะกิจ  เปนสิทธิตัดสินสำเร็จในสมเด็จพระสังฆราช  และพระธรรมราชมุนี  พระพุทธาจาริย พระญาณวิริยะ ทำบังอาจหากลัวเกรงไม่ จึงเกิดเนื้อความมากมาย  ทั้งนี้  มิสมควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า  ห้ามอย่าให้พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย  เจ้าอธิการรามัญ  เจ้าอธิการลาว  อันดับทั้งปวง  และสังฆการีธรรมการราชบัณฑิตย  ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง  เอาเนื้อความสงฆ์อันวิวาทกันด้วยกิจพระวินัย  ดุจหนึ่งพระธรรมราชมุนี  พระพุทธาจาริย  พระญาณวิริยะ  มาถวายพระพรกราบทูลพระกรุณาให้หม่นหมองพระไทยเปนอันขาดทีเดียว  แลให้ทูลแก่สมเด็จพระสังฆราช  พระราชาคณะ  เจ้าอธิการอันดับ  ให้มอญลาวทั้งปวง ฟังบังคับบัญชาสมเด็จพระสังฆราชผู้เดียว  ถ้าแลเนื้อความอันมหันตโทษข้องเข้ามาในราชอาณาจักร จำเปนจะทูล ก็ให้เอาปฤกษาด้วยข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยนักปราชราชบัณฑิตย ให้พร้อมกันควรทูล แล้วจึ่งให้กราบทูลพระกรุณา  ถ้าแลพระสงฆ์ราชาคณะ  เจ้าอธิการ  อันดับสงฆ์ทั้งปวง  และสังฆการีธรรมการ  ราชบัณฑิตย  ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใดๆมิได้พระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้  จะเอาตัวผู้กระทำผิดพระราชกำหนดกฎหมายนั้น เปนโทษตามโทษานุโทษ

        กฎให้ไว้ ณ วันจันทร  เดือนสิบสอง  ขึ้นสามค่ำ  จุลศักราช ๑๑๔๕  ปีเถาะ  นักษัตรเบญจศก ฯ

ฉบับ (๘)

        ۞  กฎให้ไว้แก่พระสุรัศวะดีซ้ายขวา  ในนอก  ให้บอกข้าทูลละอองธุลีพระบาท  ฝ่ายทหาร  พลเรือน  แลข้าหลวงกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล  ขอเฝ้าข้าเจ้าต่างกรมฝ่ายน่าฝ่ายใน แลสังฆการีธรรมการ  แลหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ปากใต้  ฝ่ายเหนือ  ทั้งปวงจงทั่วด้วยสมเด็จบรมนารถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว  ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกเอกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา  เปนอัคมหาสาศนุปถัมภกพระพุทธสาศนา  จำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระบริญัติและปฏิปติสาศนา  ให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมในนมัศการบูชาแก่เทพยาดามนุษยทั้งปวง  เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาพิมุข  พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ  ได้ทรงสดับพระราชาคณะทั้งปวงถวายพระพรว่า  พระพุทธจักรและพระราชอาณาจักรทั้งสองนี้อาไศรยกัน  ฝ่ายพระสงฆ์เถรานุเถระ อันรักษาพระพุทธจักรนั้น ระวังตรวจตรารักษาพระสาศนา มิให้เปนอันตรายเศร้าหมอง ครั้นเหนว่า จะมีปาปะภิกษุ เกรงจะมีอันตรายแล้วว่ากล่าวยังกันให้ปฤกษาโทษผิดแห่งกัน แล้วตัดสินว่ากล่าวตามพระวินัย  บำบัดรำงับโทษให้สงบมิได้มีลามกในพระสาศนา  ถ้าเกิดพวกภิกษุโจรมากนักเหลือกำลังจะว่ากล่าว  รนร้อนชวนกันเข้ามาถวายพระพรพึ่งพระราชอาณาจักร  ฝ่ายพระมหากระษัตริยผู้รักษาพระราชอาณาจักร ก็ช่วยอุปถัมภ์ตามพระมหาเถรานุเถระผู้ร้อนรนรักษาพระพุทธสาศนาเปนประเพณีมา  จำเดิมแต่พระอรหรรตเจ้าห้าร้อยมีพระมหากัสปเถระเจ้าเปนประธาร  เปนเหตุด้วยพระภิกษุแก่กล่าวประปวาทติเตียนเปนเสี้ยนสาศนา  ก็ชวนกันเข้ามาถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าอชาตศัตรูราช ๆ  ก็เปนสาศนุปถัมภกขอทำปถมสังคายะนารงับโทษดังนี้จนถึงทุติยะสังคายะนา  ตติยะสังคายะนา  จัตุถสังคายะนา  เบญจมะสังคายะนา  ฉัตถมะสังคายะนา  ฝ่ายพระพุทธจักรพระราชอาณาจักร ย่อมพร้อมกันทั้งสองฝ่าย ชวนกันชำระพระสาศนา  มิให้มีปาปะภิกษุทำลายพระสาศนาให้ประเพณีสืบมา  ทั้งนี้  จนถึงเมื่อสมเด็จพระมหากรุณาเจ้าเสด็จนฤพานแล้ว พระพุทธศักราชล่วงไปได้ ๑๕๘๗  พระวะษา  ครั้งสมเด็จพระเจ้าประกมะพาหุราชบพิตร อันนับเนื่องสืบมาแต่บรมกระษัตริยขัติยมหาสมมุติวงษ  ทรงพระบุญฤทธิ์อานุภาพปราบกระษัตริยกรุงใหญ่ทั้งสาม  มีสงครามอันชะนะแล้วได้เอกราชาภิเศกเปนใหญ่ในลังกาทวีปทั้งปวง  พิจารณาเหนหมู่ภิกษุกุลบุตรปรฏิบัติต่าง ๆมิได้ถูกต้องแตกจากกัน  ประพฤติ์ผิดให้พระพุทธสาศนาเสื่อมสูญ จะไปสู่อบายภูมเปนอันมาก  ทรงมีพระราชฤาไทยอันมีกำลังพระกรุณาตักเตือนเนือง ๆ จึงทรงพระราชดำริห์ว่า ไฉนอาตมาจะบำรุงบวรพุทธสาศนาให้วุฒิวัฒนากรขึ้นได้  จึ่งไว้ธุระกิจด้วยพระมหากัศปะเถระเจ้า อันอยู่ในอุทุมภรปัพตารามมหาวิหาร ทั้งพระพุทธจักรแลพระราชอาณาจักรสองฝ่าย  กระทำย่ำยีปาปะภิกษุทั้งสองเหล่าคือ  ภิกษุต้องปาราชิกเหล่าหนึ่ง แลภิกษุมากไปด้วยอาบัติเหล่าหนึ่ง  ทรงพระราชทานผ้าขาวแล้วให้ศึกจากเพศบรรพชิต  ทรงชำระบวรพุทธสาศนา ให้ปราศจากมลทินด้วยพระไทยอันบริสุทธิ์กอบด้วยพระกรุณา แต่จะให้เทพาทั้งปวงกระทำสัการบูชาซึ่งพระสาศนาอันบริสุทธิ์ให้ได้ผลพ้นจากสงสารทุกข แลทรงพระมหากรุณาแต่กุลบุตรอันหาปัญญามิได้ปรฏิบัติผิดแล้ว  จะไปเสวยทุกขเวทนาอยู่ในจัตุราบายเปนช้านานหนักหนา  เพราะตัวปกปิดโทษไว้ ด้วยกลัวต่อประจุบันไภยเหนแก่ลาภ สู้เอาบาปเปนอาจิณกรรมไปอยู่ในเพศบรรพชิตนั้น แลเปนประเพณีพุทธจักรพระราชอาณาจักรช่วยกันรักษาพระพุทธสาศนา ๆ จึ่งค่อยยืดยาวมาตราบเท่าบัดนี้   แลเรื่องราวพระเจ้าประกมะพาหุราช แลเรื่องราวพระบรมโพธิสัตวเจ้าเสวยพระชาติเปนสมเด็จอัมรินทราเสด็จลงมากับพระมาตุลีนิมิตรเปนสุนักขแลพรานสุนักข  ลงมาชำระพระสาศนา  ครั้งสาศานาของพระพุทธกัศปะเจ้า แลร้องคุกคำรามว่าจะกัดกินซึ่งสามเณรอุบาศกอุบาศิกาคฤหัฐอันเปนบาปลามกในพระสาศนานั้น  ชอบพระไทยนักว่า มิเสียทีที่ผู้รักษาพระพุทธจักรแลราชอาณาจักร  เหนมีความกะตัญูกัตเวทีต่อพระพุทธสาศนา มีกรุณาแก่สัตวจริงๆ แลทุกวันนี้เหนฝ่ายพระพุทธจักรวางมือเสียประการหนึ่ง เข้าใจว่า สาศนาถึงเพียงนี้แล้ว เหนจะบำรุงให้วัฒนาขึ้นมิได้  จึงมิได้รวังรไวว่ากล่าวกันให้เกิดมหาโจรปล้นทำลายพระสาศนา ทั้งสมณะแลสามเณร มิได้รักษาพระจัตุปาริสุทธิศีลร่ำเรียนธุระสองประการ แลชวนกันเที่ยว เข้าร้านตลาดดูสีกา มีอาการกิริยานุ่งห่มเดินเหินกระด้างอย่างฆราวาศ มิได้สำรวมรักษาอินทรีย มิเปนที่เลื่อมใสยศรัทธาแก่ทายก แลเที่ยวดูโขนหนังลคอนฟ้อนขับ แลเล่นหมากรุกสกา การพนันทั้งปวง แลคบคิดกันกับคฤหัฐชายหญิง เล่นเบี้ยอย่างสมณะสามเณรวัดบางว้าคบคฤหัฐชายหญิงสิบเอ็ดคน ๆ คบสมณะสามเณรเล่นเบี้ยขอกล่าวป่าวร้องรับเงินทองเข้าปลาอาหารทั้งปวงมาเลี้ยงชีวิตร  แลผสมประสานทำการฆราวาศให้ดอกไม้ผลไม้สิ่งของหวังอามิศแก่ฆราวาศ  แลผูกพันธ์เรียกฆราวาศหญิงชายเปนพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงพี่เลี้ยงน้องเลี้ยง  แลเคารพนบนอบอยาบคายวาจา แก่ฆราวาศอย่างว่าทาษทาษา  แลให้น้ำมนตได้มงคลเปนต้น แก่ฆราวาศปราถนาลาภ  แลฆราวาศหญิงชายที่หาปัญญามิได้ ก็ผูกพันเสน่หาเหนแก่น่าอามิศ  ให้อาหารผลาผลเปนต้นบำเรอแก่หมู่ภิกษุบาปอะลัชี ได้ชื่อว่าให้กำลังแก่ภิกษุลามก อันกระทำอะเนสะนะกุละโทศกะประทุฐร้ายตระกูลฆราวาศ  บันดาทานจะมีผลมาก ก็กระทำให้หาผลมิได้  เพราะเหตุด้วยทำทานเปนทานเจตนาไม่แท้  ให้อย่างนี้ชื่อว่าให้หมู่อะลัชี  ว่าให้หมู่อะลัชีภิกษุมีน้ำใจทำลายพระสาศนา  แลฝ่ายฆราวาศ สีกาก็คุ้นเคยนำเอาอามิศอาหารเปนต้นออกมาบำเรอภิกษุสามเณรบาปอะลัชี  นั่งในกุฏีที่กำบังอันควรจะเกี้ยวพาลพูดจาอยิกอยอก  สำผัศกายกระทำเมถุนธรรมได้นั้น  ฝ่ายภิกษุสามเณรบาปลามก ครั้นคุ้นเคยเข้ากับสีกาแล้ว ก็เข้าบ้านออกบ้านผิดเวลาราตรีพูดจาสีการูปซี ก็มีความเสน่หารักใคร่  ทั้งสองฝ่ายสำผัศกายกระทำเมถุนธรรมปาราชิกแลลึงค์เถรไถยสังวาศ เปนครุโทษห้ามบรรพชาอุปสมบท จะบวชมิเปนภิกษุสามเณรเลย อย่างอ้ายดีบวชอยู่วัดโพ เสพเมถุนธรรมกับอีทองมาก อีเพียน อีภิม อีบุนรอด อีหนู อีเขียว แลอ้ายทองอยู่เสพเมถุนธรรมกับอีทองอิน แลเณรปิ่นอยู่วัดโพ เสพเมถุนธรรมกับอีคุ้มเมียพระแพทย  แลเณรทองเสพเมถุนธรรมกับอีชีนวนอยู่หลังวัดบางว้าใหญ่เปนปาราชิก  อ้ายเป้าบวชอยู่วัดพวาเสพเมถุนธรรมกับอีจันลาวจนมีบุตร อ้ายลุนบวชอยู่วัดบางขุนพรหม จ้างเขียนหนังสือเอาให้อีปิ่นโขลนกู้สิบบาทแล้ว ๆ  เสพเมถุนธรรมกับอีปิ่นโขลนเปนปาราชิก  แลมหาลังกับชีแก้วอยู่วัดคงคาพิหารแต่สองต่อสอง เป็นที่สงไสยใกล้ปาราชิก  เณรนุ่มอยู่วัดเสาธง  เข้าไปบ้านเปนนิจกับประศกสีกา  แลทิศอยู่วัดหงษนอนกับอีเป้าภรรยานายฤทธิบนเตียงในมุ้งเปนศีลวิบัติใกล้ฉายาปาราชิก  เถรษาสัปดนเปนคนชั่วตัวเปนเถรห่มคลุมใส่ผ้าพาดบ้าง  ทำอย่างภิกษุเปนไถยสังวาศ แลปลอมบวชเปนภิกษุอยู่สาศนา  แลเณรอยู่ศิษยพระนิกรม  นอนในมุ้งกับอีทองคำภรรยานายกรมช้าง แลคบเถาเล่นเบี้ย  แลมหาอิน  มหาจันวัดนาค  พูดกับอีมุ้ยในที่ลับเปนที่สงไสยใกล้ฉายาปาราชิก  จงถึงพระนิกรมเปนราชาคณะ  ไม่มีหิริโอตับปะเกรงสิกขา อยาบช้าพูดจาเกี้ยวพากับสีกาเปนบ้ากาม  อวดรูปจับข้อมืออีฉิม ๆ อบผ้าห่มส่งให้เอาผ้าไว้จูบกอดนอน  แลนอนเอกเขนกให้สีกาพัดลอยน่าหาความอายไม่  มหาขุนศิษยพระนิกรม ก็จับแก้มอีขาวแล้วพูดเกี้ยวพาอีลี ๆ รักยอมถอดแหวนให้  แลผู้มีชื่อทั้งนี้กระทำทุจริตผิดหนักหนา  เปน มหาโจรปล้นพระสาศนาชุกชุมขึ้น  ทั้งนี้  เพราะราชาคณะอธิบดีเถรานุเถระผู้เปนอุปฌาอาจาริย หาความกะตัญูกัตเวทีต่อพระสาศนาไม่  มิได้ประพฤติ์ตามพระพุทธฏีกาสัตตาปริหานิยธรรมเจ็ดประการ  มิได้ประชุมพร้อมกันตรวจตราว่ากล่าวให้เหนดีแลร้ายไม่มี  หากว่าผู้มีชื่อฆราวาศเอาเนื้อความมาว่าจึ่งปรากฏขึ้น  ได้เอามาชำระว่ากล่าวขับเฆี่ยนพันทนาการ ประจานโทษตะเวนบกสามวันเรือสามวัน  เพื่อจะมิให้ดูเยี่ยงกันทำลายพระสาศนา ทรงพระกรุณาจะใคร่ยกโทษพระราชาคณะทั้งปวงอีก  แต่ให้งดโทษไว้ครั้งหนึ่งก่อน  แลพระราชาคณะเปนอธิบดีสงฆ์ รู้พระไตรยปิฎก  ควรจะรู้คุณพระศรีรัตนไตรยว่า  อาตมานี้เทพามนุษยทั้งปวงกระทำนมัศการเคารพเปนที่บูชาทั้งนี้  เพราะอำนาทอาตมาเองหามิได้  เพราะคุณพระรัตนไตรยสถิตอยู่เหนือเศียรเกล้าอาตมา ควรจะกะตัญูกัตเวทีสนองพระคุณรักษาพระพุทธสาศนาอย่าให้เศร้าหมองจงได้  มาทว่าจะขัดสนประการใด  ฝ่ายข้างพระราชอาณาจักร ก็ได้ถวายปติญาณเปนโยมขาดในพระพุทธสาศนาแล้ว ควรจะเอาเนื้อความข้อขัดในพระสาศนานั้น มาแจ้งถวายพระพร  อันนี้ก็มิได้กระทำ  แต่ฝ่ายข้างพระราชอาณาจักรนี้เร่งร้อนรนหนัก ให้นักปราชราชบัณฑิตยสังฆการีธรรมการ  ออกมาประเดียงแจกกฎหมายให้พระราชาคณะทั้งปวง เร่งกำชับตรวจตรากันรักษาพระจัตุปาริสุทธิศีล ปรฏิบัติตามคันธธุระวิปัศนาธุระ แลพระราชกำหนดเก่าใหม่อยู่เนือง ๆ ฉนี้  ก็ยิ่งมีสมณะสามเณรเปนมหาโจรปล้นพระสาศนาขึ้นมากมายฉะนี้ มิควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า  ห้ามมิให้สมณะสามเณรเถรชี กระทำความชั่วทุจริตผิดพระวินัยบัญญัติบันดาพรรณนาโทษมานั้น  แลห้ามมิให้เอาเยี่ยงอ้ายอีมีชื่ออันกระทำอยาบช้าทำลายพระสาศนา อันกล่าวมาในต้นพระราชกำหนดนั้นจงทุกประการ  อนึ่ง พระราชาคณะทั้งปวง ก็ได้ถวายปติญาณว่า จะกำชับว่ากล่าวให้พระสงฆ์สามเณรรักษาชาตะรูปะระชะฏะสิกขาบทอันนี้ให้บริบูรณ  ฟังดูก็เหนหายุติไม่  กฎแต่ก่อนก็ให้ประกาศไปว่าจะเอาโทษทั้งสมณะแลฆราวาศ  แลให้สังฆการีธรรมการสอดแนมจับเอาตัวผู้ถวายเงินทอง แลภิกษุเถรเณรชีผู้รับเงินทองให้ได้ เอามาว่ากล่าวแลเถรเณร ให้รู้สิกขาบทของตัวและเล่าเรียนพระบริญัติ  โยมวัดกับเถรเณรให้ถากซายดายหญ้าแผ้วถางวัดวาอารามให้เตียน  ให้พระสงฆ์เอาคราดกราดพื้นอารามให้ราบรื่นเปนพุทธบูชาจำเริญศรัทธาเทพยาดามนุษยทั้งปวง

        อนึ่ง  เถรเณรจะออกจากอารามนี้ มีกิจไปใกล้ไกลแห่งใดก็ดี ให้ห่มดองครองผ้าเหมือนกิริยาบิณฑบาตรๆ  โดยลำดับ  อย่าให้ชิงรับจังหันวิวาทชกตีกันเปนอันขาดทีเดียว   แลหากิจนิมนตมิได้  อย่าให้เที่ยวเข้าบ้าน  ถ้าแลมีกิจธุระด้วยญาติแลบิดามารดาจะมาบ้านนั้น แลจะมีที่ไปใกล้ไกลแห่งใดก็ดี ให้อำลาพระอุปฌาอาจาริย ให้รู้กิจธุระก่อน จึ่งไปด้วยพรหมจาริยเปนเพื่อนพยานกันสองรูปสามรูปด้วยกัน  ห้ามอย่าให้สมณะสามเณรคบหาสีกาอันใช่ญาติ  เข้าไปบ้านนอนบ้านผสมประสานด้วยลาภราคเสน่หา ห้ามฝ่ายอุบาสิกาอย่าทำสนิทติดพันธเปนประโยชน ให้ผ้าให้อามิศให้อาหารจำเภาะสมณะสามเณรด้วยปราถนาเมถุนธรรมอันโทษหนักทำลายพระสาศนา  ให้ตั้งใจศรัทธาถวายทานเปนสงฆ์อย่าจำเภาะ  ถ้าจะจำเภาะถวายเปนบุคลิกด้วยศรัทธาว่า เธอทรงศีลทรงธุดงคทรงบริญัติคุณแลจะไปถวายถึงอารามนั้น ให้ไปในเวลาเช้าจนเที่ยง  ห้ามอย่าให้เข้าไปถวายในกุฎีแลนั่งในที่ลับที่กำบัง  ให้นั่งนอกกุฎีในที่แจ้ง มีเพื่อนสีกาอันรู้เหนเปนหลายคน  แลฝ่ายสมณะสามเณรผู้จะรับทานนั้น อย่าให้นั่งลับในกุฎีที่กำบัง  ให้มีเพื่อนพรหมจารียกันออกมานั่งในที่แจ้งรับไทยทานตามศรัทธา  สำเร็จแล้วอย่าอยู่ช้า  สนทนาไต่ถามอรรถธรรมที่สงไสยแต่ภอควรแล้วให้สีกาไปเสียจากอาราม  แลห้ามทั้งสองฝ่ายอย่าให้ถวายแก้วแหวนเงินทองต่อมือจำเภาะหน้า รักษาไว้ เอาใจไปยินดีด้วยแก้วแหวนเงินทองนั้นเปนอันขาดทีเดียว  แลให้พระราชาคณะเจ้าอธิการอันดับผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ประพฤติ์ตามสัตตาปริหานิยธรรม แลลงอุโบสถจงพร้อมกันทุกวันอุโบสถตามพุทธบัญญัติในพระอุโบสถขันธกะ  ให้รฤกบอกอาบัติอันหนักเบาร้ายดีให้แจ้ง โดยสยามภาษาไต่ถามพระบาฬีนิทานเทษ  ให้แจ้งเหตุจงทั่วกำชับว่ากล่าวกันให้กวดขันจงหนักหนา  จะให้สังฆการีธรรมการตรวจทุกอุโบสถ  จัดสันชำระมลทินโทษออกเสียจากพระสาศนา  ถ้าภิกษุเถรเณรรูปใดอารามใด ต้องอธิกรณถึงอันติมวัตถุเปนปาราชิกแล้ว ให้พระราชาคณะศึกเสีย แล้วบอกแก่สังฆการีธรรมการให้แจ้งด้วย  จะได้สักหน้าหมายไว้  อย่าให้ปลอมอุปสมบทสืบไป  ถ้ายังเปนข้อสงไสย  แต่ถ้าว่าโทษใหญ่ฉายาปาราชิกนั้นให้เร่งชุมนุมพระราชาคณะพระสงฆ์พิภาคษา  ควรเยียวยาได้ให้เยียวยารักษาชำระอาบัติจงบริสุทธิ์ในพระสาศนา  รงับอธิกรณให้สำเร็จแต่ในอารามนั้น  ถ้าเยียวยามิได้  จะมิให้อยู่ในหมู่ในคณะแล้ว  อย่าให้รับบับพาชนิยะกรรม  ต่อไปจะไปปลอมอยู่เข้าหมู่เข้าคณะด้วยพระสงฆ์อารามอื่นได้  ให้พระราชาคณะเจ้าอธิการบอกแก่สังฆการีธรรมการให้รู้จักตัวไว้ว่า ภิกษุสามเณรรูปนี้สอนยากไม่ให้เข้าหมู่เข้าคณะแล้ว

        อนึ่ง  รูปชีอย่าให้อยู่ในอารามใกล้อารามเปนอันขาดทีเดียว แลฝ่ายฆราวาศนั้นให้มูลนายบิดามารดาตรวจตราว่ากล่าว สัตรีภาพอันเปนบ่าวไพร่บุตรธิดาญาติ อย่าให้ไปคบสมณะสามเณร ปรฏิบัติด้วยความเสน่หารักในเมถุนธรรม ทำลายศีลสมณะสามเณรให้เปนปาราชิก  ทำลายพระสาศนาเปนอันขาด  ถ้าแลพระสงฆ์เถรเณรมีบิดามารดาญาติโยมอันเปนคณาญาติโดยแท้  มิได้เปนอาคันตุกะ  แต่ตัวผู้เดียวนั้น ก็ให้บิดามารดาคณาญาติรวังดูแลเอาใจใส่ว่ากล่าว แก่บุตรนัดดาลูกหลานพี่น้องซึ่งบวชเปนสงฆ์สามเณรนั้น ให้บริสุทธิ์ อย่าให้มีมลทินในพระสาศนานั้น เปนเหตุอันใดอันหนึ่งอันมิควรแก่สิกขาบทนั้น  ก็ให้เอามาว่ากล่าวโดยเหตุจงทุกประการ แลบิดามารดาญาติโยมภิกษุเถรเณรซึ่งทำผิดนั้น  จึ่งจะพ้นโทษด้วย  ถ้าแลบิดามารดาคณาญาติภิกษุเถรเณรที่กระทำผิดนั้นรู้เหนแล้วคิดว่าเปนลูกหลานว่านเครือของตัว กลัวจะเปนโทษชวนกันปิดบังเสีย  มิได้เอาเนื้อความมาว่ากล่าวให้อุลามกมลทินอยู่ในพระสาศนาเหมือนครั้งนี้  หากมีผู้อื่นรู้เอามาว่ากล่าว พิจารณาสืบสวนได้เนื้อความเปนสัตย  จะเอาบิดามารดาญาติพี่น้องภิกษุเถรเณรซึ่งเปนโจรอยู่ในพระสาศนานั้นเปนโทษด้วย

        ถ้าแลฝ่ายพระสงฆ์สมณะทั้งปวง มิได้กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้  แลละเมินเสียให้มีโจรปล้นพระสาศนาขึ้นดังครั้งนี้  เหนว่าหามีความกะตัญูกัตเวทีต่อพระสาศนาไม่  เปนใจความว่าสมณะสามเณรอันเปนโจรปล้นพระสาศนา  จะเอาโทษแต่พระราชาคณะลงมา  ทั้งเถรานุกรม  เจ้าอธิการ  มหาเถรานุเถระ อันดับ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย แลสามเณรอันมิได้รวังรไวตรวจตราว่ากล่าวนั้น เปนโทษเสมอด้วยโทษสมคบสมณะสามเณรอันเปนบาปลามกนั้น

        ฝ่ายฆราวาศทั้งปวง  ถ้าแลผู้ใดมิได้ทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้  ละเมินเสียให้หญิงอันเปนบ่าวไพร่ลูกหลานพี่น้องญาติอาตมาแลเพื่อนบ้าน เปนศีลเภทศีลสมณะสามเณรให้เปนปาราชิก  ทำลายพระสาศนาครั้งนี้  เหนว่าผู้นั้นอะกตัญูหารู้คุณพระสาศนาไม่ เปนใจด้วยหญิงอุบาทว์อยาบช้า  จะเอาโทษแต่มูลนายลงมาจนถึงบิดามารดาญาติพี่น้อง  เพื่อนบ้านใกล้กันที่ภอจะรู้เหนมิได้ห้ามปราม เอามาว่ากล่าวนั้นเปนโทษเสมอด้วยโทษสมณะคบหญิงศีลเภทอันเปนบาปอยาบช้านั้น  จะได้พร้อมกันช่วยกันรักษาพระสาศนาทั้งสองฝ่ายฉนี้  พระพุทธสาศนาจึ่งจะบริสุทธิ์ เปนที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวงสืบไป   กว่าจะถ้วน ๕๐๐๐ พระวะษา

        กฎให้ไว้ ณ วันพุธ  เดือนสาม  แรมสิบเบ็ดค่ำ  จุลศักราช  ๑๑๕๑  บีรกา  นักษัตรเอกศก

ฉบับ (๙)

        ۞  กฎให้ไว้แก่พระราชาคณะ  เจ้าอธิการ  ถานานุกรม  ในกรุงนอกกรุง  แขวง   จังหวัด  หัวเมือง  ๑-๒-๓-๔  ปากใต้  ฝ่ายเหนือทั้งปวงจงทั่ว  ด้วยสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกเอกพิบูลยสุนธรราชศรัทธาเปนอัคมหาสาศนุปถัมภกพระพุทธสาศนา  จำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระปริญัติแลปฏิปติสาศนาให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมใสยนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง  เสด็จออก  ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาพิมุข  พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาศ  สั่งว่า ณ วันเดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ  ปีขาน  นักษัตรฉศก  เวลาพลบค่ำ  มหาสินซึ่งเปนพระครูอยู่วัดนาคกลาง ปลอมเข้าไปหาอึ่งข้าหลวงในกรมสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร  จับตัวได้รับเปนสัตยว่ามหาสินได้เสพเมถุนธรรมด้วยอึ่งถึงชำเรา  แต่เดือนเจ็ด  ปีขาน  นักษัตรฉศก  มาหลายครั้งจนอึ่งมีท้องมีลูก  มหาสินขาดจากสิกขาบท เปนปาราชิกลามกในพระสาศนา มิได้เปนสมณะปติญาณตนว่า  เปนสมณะปิดความชั่วไว้แล้วเข้ากระทำสังฆกรรมอุโบสถกรรม อุปสมบทกรรม  เปนคู่สวดบวชพระสงฆ์ ๑๓ รูปนั้น เปนอาจิณกรรมมหันตโทษถึงอะเวจีมหานรก เพราะกระทำให้พระพุทธสาศนาเศร้าหมองเสื่อมสูญ มิควรหนักหนา

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ให้พระราชาคณะ ถานานุกรม เจ้าอธิการ เอาใจใส่ตรวจดูรู้เหนว่า พระอันดับนั้นติดพันธอยู่กับหญิงโยมอุปถากผิดพุทธวจนะอยู่แล้ว ก็ว่ากล่าวให้ปริวัตออกเสียจากพระสาศนา   อย่าให้เปนปาราชิกขึ้นได้ในพระสาศนาดุจหนึ่งอ้ายสินฉนี้  แลให้ประกาศแก่พระสงฆ์อันดับทุกวัดวาอารามจงทั่ว  ถ้าพระสงฆ์องค์ใดทำความชั่วลามกอยู่แล้ว ก็ให้ปริวัตออกเสีย   อย่าให้เปนมลทินอยู่ในพระสาศนา ทรงพระกรุณาหาเอาโทษไม่

        ถ้าแลพระสงฆ์องค์ใดปกปิดความชั่วไว้  ดุจหนึ่งอ้ายสินเปนมลทินอยู่ในพระสาศนาฉนี้ มีผู้ว่ากล่าวพิจารณาเปนสัตย จะเอาตัวเปนโทษถึง ๗ ชั่วโคตร แล้วจะให้ลงพระราชอาญาญาติโยม พระราชาคณะ ถานานุกรม เจ้าอธิการ พระสงฆ์อันดับซึ่งกระทำความผิด แลละเมินเสียมิรวังตรวจตรากัน ให้เปนลามกขึ้นในพระสาศนา แลให้พระราชาคณะ  เจ้าอธิการ ถานานุกรม พระสงฆ์อันดับ ทำตามกฎหมายรับสั่งนี้จงทุกประการ

        กฎให้ไว้ ณ วันศุกร  เดือนเก้า  แรมสี่ค่ำ จุลศักราช ๑๑๕๘ ปีขาน นักษัตรฉศก

ฉบับ (๑๐)

        ۞  กฎให้แก่เจ้าพระยาและพระยา พระ หลวง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน มหาดเลก ขอเฝ้าเจ้าต่างกรม ฝ่ายน่า ฝ่ายใน แลกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล แลกรมพระราชวังบวรสฐานภิมุขฝ่ายหลัง แลผู้รักษาเมือง ผู้รั้งกรมการหัวเมือง ๑-๒-๓-๔ ปากใต้ ฝ่ายเหนือ ทั้งปวงจงทั่ว ด้วยสมเด็จบรมนารถบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว  ผู้ทรงพระคุณธรรมอนันตาสัมภาราดิเรกเอกพิบูลยสุนธรราชศรัทธา   เปนอัคมหาสาศนุปถัมภกพระพุทธสาศนา จำเริญศรีสวัสดิ์ทั้งพระบริญัติและปฏิปติสาศนาให้ถาวรารุ่งเรืองไปเปนที่เลื่อมใสนมัศการบูชาแก่เทพยดามนุษยทั้งปวง  เสด็จออก ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาทโดยบูรพาพิมุข พร้อมด้วยอัคมหามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาโหราราชบัณฑิตยเฝ้าพระบาทบงกชมาส สั่งว่า ทรงตั้งพระไทยด้วยพระราชศรัทธาจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้บริบูรณไปด้วยรัศมีแก้วทั้งสาม กล่าวคือ พระพุทธรัตน พระธรรมรัตน พระสังฆรัตน ให้เปนเนื้อนาบุญอันประเสริฐแก่สัปุรุษยทายกทั้งปวง บัดนี้ พระสงฆ์อันนับเข้าในพระพุทธชิโนรส มิได้มีหิริโอตัปะคบหากันทำอุลามก เปนอะลัชชีภิกษุคือเสพสุรายาเมาน้ำตาลซ่มแลโภชนอาหารของกัดของเคี้ยวเวลาปัจฉาภัตร และในราตรีก็มีบ้าง ลางเหล่าเอาผ้าพาดบาตรเหล็กไปขายแลกเหล้าเล่นเบี้ยเสีย มิได้ครองไตรยจีวร กระทำจอมปลอมเหมือนสามเณร มิได้ปลงผมโกนหนึ่ง สองโกนบ้าง เที่ยวกลางวัน กลางคืนดูโขนดูหนังดูหุ่นดูลคอน เบียดเสียดอุบาศกสีกา พูดจาตลกคนองเฮฮาหยาบช้าทารุน ลางเหล่าเหนเด็กชายลูกข้าราชการอาณาประชาราษฎรรูปร่างหมดหน้าก็พูดจาเกลี้ยกล่อม ชักชวนไปไว้ แล้วกอดจูบหลับนอนเคล้าคลึง ไปไหนเอาไปด้วย แต่งตัวเด็กโอ่อวดประกวดกันเรียกว่าลูกสวาศ ลูกสุดใจ  ก็มีบ้างที่ช่วงชิงลูกสวาศ เกิดความหึงษาพยาบาทจนเกิดวิวาทตีรันกันตายด้วยไม้กระบองซั่น พิจารณาได้ตัวมารับเปนสัตยได้ไม้กระบองซั่นเปนหลายอัน ลางพวกเหนสลุบกำปั่นสำเภาจีนเข้ามา ก็ขึ้นเที่ยวบนสำเภา ซุกซนซื้อหาของเล่นอนละวนจีนจามฝรั่ง ให้เดียรัดถียนครณฐดูหมิ่นก็มีบ้าง ลางพวกก็เที่ยวซื้อผ้าแพรพรรณในพ่วงแพแลร้านแขกร้านจีน เอาไปเย็บย้อมเปนผ้าพาด ผ้าจีวร สบง สใบ รัดประคต  กราบพระ อังษะ กระทำเปนศรีแสดศรีชมภู นุ่งครอง ให้ต้องอาบัติเปนมหานิศสัคคีทุกครั้ง  ลางพวกก็นุ่งแดงห่มแดง ลางพวกก็นุ่งห่มเปนแต่ศรีกร้ำกรุ่นอำปลัง คาดรัดประคตบ้าง ไม่คาดรัดประคตบ้าง คลุมศีรษะ สูบบุหรี่ ดอกไม้ห้อยหู เดินกรีดกรายตามกันดุจฆราวาศ ลางจำพวกขึ้นพระพุทธบาท  เดินทางคาดกระตุด โพกประเจียก ถือดาบ ถือกระบี่ ถือกฤช ดุจพวกโจร ถึงพระพุทธบาทแล้ว คุมกันเปนพวก ๆ กลางวันเข้าถ้ำร้องลคอนลำนำหยอกสีกา กลางคืนก็คลุมศีษะตามกัน ตีวงร้องปรบไก่ดุจฆราวาศ ลางจำพวกเปนนักสวด สัปุรุษยทายกนิมนตสวดพระมาไลย  ไม่สวดต้องตามเนื้อความพระบาฬี  ร้องเปนลำนำแขก ญวณ จีน มอญ ฝรั่ง แล้วฉันสาคูเปียก แกงบวด เมี่ยงซ่ม เมี่ยงใบกล้วยอ้อย ก็มีบ้าง แลซึ่งพระสงฆ์สามเณรกระทำจลาจล เปนมหาโจรปล้นพระสาศนาดังนี้  เพราะพระสงฆ์ พระราชาคณะ ถานานุกรม เจ้าอธิการ ละเมินเสีย มิได้ดูกำชับห้ามปราม บัดนี้ ให้พระราชาคณะ ถานานุกรม สังฆการีธรรมการ ราชบัณฑิตยพร้อมกันชำระพระสงฆ์ซึ่งเปนอะลัชชีภิกษุ พิจารณารับเปนสัตย ให้พระราชทานผ้าขาวศึกออกเสียจากพระศาสนา เปนคน ๑๒๘ สักแขนเปนไพร่หลวง  ใช้ราชการที่หนักหวังมิให้ดูเยี่ยงอย่างกัน

        แต่นี้สืบไปเมื่อน่า ถ้าผู้ใดเหนพระสงฆ์กระทำอุลามกอะลัชชีภิกษุเสพสุรายาเมากินน้ำตาลซ่ม แลตลกคนอง เล่นเบี้ย ชนไก่ กระทำให้ผิดเพศสมณะไม่ต้องด้วยพระวินัยบัญญัติให้ว่ากล่าวตักเตือน ถ้ามิฟังให้ไปบอกเจ้าอธิการ  เจ้าคณะ

        อนึ่ง  ถ้าผู้ใดล้มตาย ห้ามอย่าให้เจ้าภาพนิมนตพระสงฆ์สวดพระมาไลย ให้นิมนตสวดแต่พระอภิธรรมและสวดสำรวดไปตามปรกติ อย่าให้ร้องเปนลำนำ แขก จีน ฝรั่ง ญวน แลให้เจ้าภาพปรปฏิบัติเปนแต่อัฐบาน น้ำชา ยาเสียง อย่าให้เลี้ยงสาคู แกงบวด เมี่ยงซ่ม เมี่ยงใบกล้วยอ้อย ของกัดของเคี้ยว เปนอันขาด ถ้าฆราวาศที่มาช่วยจะสวดพระมาไลยก็ตามเถิด แต่อย่าให้สวดเปนลำนำตลกคนอง

        ประการหนึ่ง ห้ามอย่าให้อาณาประชาราษฎรลูกค้าร้านแพแจกจีนไทยขายผ้าแพรพรรณ แก่พระสงฆ์สามเณรเปนอันขาดทีเดียว ถ้าผู้ใดมิฟังยังขืนคบหาพระสงฆ์สามเณรให้สวดพระมาไลยเล่นตลกคนอง แลขายผ้าแพพรรณแก่พระสงฆ์แก่สามเณร ดุจหนึ่งแต่หลัง จะเอาตัวเปนโทษจงหนัก

        แลให้พระสัศดีหมายบอกข้าทูลละอองธุลีพระบาทให้กรมพระนครบาล นายอำเภอประกาศป่าวร้องอาณาประชาราษฎร ลูกค้าวานิช พ่วงแพ  ร้านแขกจีนไทย แลให้มหาดไทย กะลาโหม กรมท่ามีตราไปถึงหัวเมืองทั้งปวงจงทั่ว

        กฎให้ไว้ ณ วันอังคาร เดือนเจ็ด แรมสิบสามค่ำ จุลศักราช ๑๑๖๓ ปีรกา นักษัตรตรีศก

กฎหมายพระสงฆ์นี้ประกาศใช้ในรัชกาลที่ ๑

จากหนังสือกฎหมายเมืองไทย เล่ม ๒ หน้า ๑๔๒  พุทธศักราช ๒๔๓๙