กฏมหาเถรสมาคม
ฉบับที่ ๘ ( พ.ศ. ๒๕๐๖ ) [1]
ว่าด้วยการแต่งตั่งถอดถอนไวยาวจักร
———————-
อาศัยอำนาจตามความตามในมาตรา ๑๘ และมาตรา๒๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๑๕๐๕ มหาเถรสมาคมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎมหาเถรสมาคมนี้ เรียกว่า กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๐๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร”
ข้อ ๒ กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในกฎมหาเถรสมาคมนี้ “ไวยาวัจกร” หมายถึง คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต และมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินของวัด ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ
หมวด ๑
การแต่งตั้งไวยาวัจกร
ข้อ ๕ คฤหัสถ์ผู้จะดำรงตำแหน่งไวยาวัจกร ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) เป็นชาย มีสัญชาติไทย นับถือพระพุทธศาสนา
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์
(๓) เป็นผู้มีหลักฐานมั่นคง
(๔) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ไวยาวัจกรได้
(๕) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ
(๖) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีโรคเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี เช่นมีความประพฤติเสเพล เป็นนักเลงการพนัน เสพสุราเป็นอาจิณ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
(๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกจากราชการ หรือองค์การค้าของรัฐบาลหรือบริษัทห้างร้านเอกชน ในความผิดหรือมีมลทินมัวหมองในความผิดเกี่ยวกับการเงิน
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
ข้อ ๕ ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัดใด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามความในข้อ ๔ เมื่อมีมติเห็นชอบในคฤหัสถ์ผู้ใด ก็ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ
ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรตามความในวรรคต้น เพื่อความเหมาะสม จะแต่งตั้งไวยาวัจกรคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
ในกรณีที่มีไวยาวัจกรหลายคน ให้เจ้าอาวาสมอบหมายการงานแก่ไวยาวัจกรแต่ละคนเป็นหนังสือ
หมวด ๒
การพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไวยาวัจกร
ข้อ ๖ ไวยาวัจกร ย่อมพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เจ้าอาวาสผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
(๔) ขาดคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ ๔
(๕) ให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่
(๖) ถูกถอดถอนออกตำแหน่งหน้าที่
ข้อ ๗ ไวยาวัจกรผู้ใดประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ย่อมทำได้ เมื่อเจ้าอาวาสสั่งอนุญาตแล้ว จังเป็นอันพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ และให้เจ้าอาวาสรายงานเจ้าคณะอำเภอทราบ
ข้อ ๘ ไวยาวัจกรผู้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามความในข้อ ๖ (๓) ให้รักษาการในตำแหน่งหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งใหม่
ข้อ ๙ ไวยาวัจกรผู้ขาดคุณสมบัติตามความในข้อ ๖ (๔) ให้เจ้าอาวาสสั่งให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ แล้วรายงานเจ้าคณะอำเภอทราบ
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ไวยาวัจกรหย่อนความสามารถด้วยเหตุใด ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อเจ้าอาวาสเห็นสมควรให้ออกจากตำแหน่งหน้าที่ ก็สั่งให้ออกได้ โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ
ข้อ ๑๑ การถอดถอนไวยาวัจกรออกจากตำแหน่งหน้าที่ จะทำได้เมื่อไวยาวัจกรประพฤติมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ทุจริตต่อหน้าที่
(๒)ไม่ปฏิบัติหน้าที่จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
(๓) ขัดคำสั่งของเจ้าอาวาสซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบแบบแผนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่วัดอย่างร้ายแรง
(๔) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่วัดอย่างร้ายแรง
(๕) ความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าอาวาสสั่งถอดถอนไวยาวัจกรผู้นั้นออกจากตำแหน่งหน้าที่โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ไวยาวัจกรพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามความในข้อ ๖ (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ไวยาวัจกรผู้นั้นจะพ้นจากความรับผิดชอบในหน้าที่ ต่อเมื่อได้มอบหมายการงานพร้อมด้วยทรัพย์สินและหลักฐานต่าง ๆ ซี่งอยู่ในความรับผิดชอบของตน แก่ผู้เข้ารับตำแหน่งหน้าที่แทนตามตนเรียบร้อยแล้ว
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ตำแหน่งไวยาวัจกรว่างลง ถ้าเจ้าอาวาสเห็นสมควร จะสั่งแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกรเป็นการชั่วคราวก็ได้
ผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกร ให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับไวยาวัจกร
หมวด ๓
เบ็ดเตล็ด
ข้อที่ ๑๔ เมื่อมีการแต่งตั้งไวยาวัจกร หรือผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกรหรือเมื่อไวยาวัจกรพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ด้วยเหตุใด ๆ
(๑) ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ให้เจ้าอาวาสแจ้งไปยังกรมการศาสนา
(๒) ในจังหวัดอื่น ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่นายอำเภอ เพื่อรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมการศาสนา
ข้อ ๑๕ คำสั่งของเจ้าอาวาสในการแต่งตั้งไวยาวัจกร หรือผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกรก็ดี ในการให้ไวยาวัจกรหรือผู้รักษาการในตำแหน่งไวยาวัจกรพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ก็ดี ให้กระทำเป็นหนังสือ
ตราไว้ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคน พ.ศ.๒๕๐๖
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
หมายเหตุ :
เหตุผลในการประกาศใช้กฎมหาเถรสมาคมฉบับนี้ คือ เนื่องจากตำแหน่งไวยาวัจกร เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด อันเป็นกิจการสำคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนได้เสียของวัดและพระศาสนา นอกจากนี้ ยังมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่งด้วย
ฉะนั้น ในการแต่งตั้งไวยาวัจกร จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติและความประพฤติอันเหมาะตับตำแหน่งหน้าที่ และสมควรกำหนดลักษณะความผิดและความบกพร่องไว้เป็นหลักในการควบคุมและถอดถอนไวยาวัจกร ทั้งนี้ เพื่อให้การดูแลรักษาและจัดผลประโยชน์ของวัดได้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย
ส่วนวิธีการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกรนั้น ควรมอบให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ
[1] ประกาศแถลงการณ์ณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๕๑ ภาค ๑๒ ตอนที่ ๒ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖