สังฆาณัติ
กำหนดเขตภาค พ.ศ.๒๕๐๓ [1]
——————-
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
บัญญัติไว้ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓
—————–
โดยที่สังฆสภาลงมติว่า สมควรกำหนดเขตภาคเสียใหม่ เพื่อสะดวกแก่การบริหารการคณะสงฆ์ ตามความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
จึงมีพระบัญชาให้บัญญัติสังฆาณัติรับไว้คำแนะนำของสังฆสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ สังฆาณัตินี้ให้เรียกว่า “สังฆาณัติกำหนดเขตภาค พ.ศ. ๒๕๑๓”
มาตรา ๒ ให้ใช้สังฆาณัตินี้ ถัดจากวัดประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ตั้งแต่วันใช้สังฆาณัตินี้ ให้ยกเลิกสังฆาณัติกำหนดเขตภาค พุทธศักราช ๒๔๘๕ และสังฆาณัติกำหนดเขตภาค พุทธศักราช ๒๔๘๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๘๖ และสังฆาณัติกำหนดเขตภาค พุทธศักราช ๒๔๘๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๒ และให้ยกเลิกกฎ อาณัติสงฆ์ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นในสังฆสภาที่มีบัญญัติไว้แล้วในสังฆาณัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทสังฆาณัติแห่งสังฆาณัตินี้
มาตรา ๔ ให้รวมจังหวัดเป็นภาค ดังนี้
ภาค ๑ มีจังหวัดรวม ๗ จังหวัด คือ จังหวัดพระนคร จังหวัดธนบุรี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม
ภาค ๒ มีจังหวัด รวม ๔ จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสตูล
ภาค ๓ มีจังหวัด รวม ๕ จังหวัด คือ จังหวดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎ์ธานี
ภาค ๔ มีจังหวัด รวม ๕ จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดกระปี่
จังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง
ภาค ๕ มีจังหวัดรวม ๖ จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดกาญจนบุรี
ภาค ๖ มีจังหวัด ๖ จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี
ภาค ๗ มีจังหวัดรวม ๘ จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดจาก และจังหวัดเพชรบูรณ์
ภาค ๘ มีจังหวัดรวม ๗ จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาค๙ มีจังหวัดรวม ๕ จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลย จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสกลนคร
ภาค ๑๐ มีจังหวัดรวม ๕ จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดนครพนม
ภาค ๑๑ มีจังหวัดรวม ๕ จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ
ภาค ๑๒ มีจังหวัดรวม ๗ จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดตราด และจังหวัดนครนายก
มาตรา ๕ ภาคหนึ่ง ๆ ให้มีเจ้าคณะตรวจการประจำองค์การนั้น ๆ
มาตรา ๖ ให้เจ้าคณะตรวจการมีเลขานุการรูปละหนึ่งรูป
มาตรา ๗ ให้เจ้าคณะตรวจการมีอำนายจหน้าที่ตามที่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช ๒๔๘๔
มาตรา ๘ เจ้าคณะตรวจการ ให้ขึ้นตรงต่อสังฆมนตรีแห่งองค์การนั้น ๆ
มาตรา ๙ ให้สังฆนายก รักษาการตามสังฆาณัตินี้
ผู้รับสนองพระบัญชา
สมเด็จพระมหาวีรวงค์
สังฆนายก
หมายเหตุ ได้ยินว่าให้สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองรักษาการทั้ง
๑๒ ภาค มิได้แต่งตั้งเจ้าคณะตรวจการประจำองค์การนั้น ๆ
จนถึงยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๘๔ ธ.ว.ธ.
[1] ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๔๙ ภาค ๒ : ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔
Hits: 0