ระเบียบ
บริหารงานในหน้าที่กรรมการคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๔๘๘ [1]
——————
ด้วยเห็นเป็นการสมควรที่จะวางระเบียบบริหารงาน ในหน้าที่อันจะพึงปฏิบัติในองค์การต่าง ๆ ในระหว่างกรรมการคณะสงฆ์จังหวัดและกรรมการสงฆ์อำเภอ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ในการบริหารคณะสงฆ์ตามระบอบปัจจุบันยิ่งขึ้น คณะสังฆมนตรีจึงได้ลงมติให้วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้ ให้เรียกว่า “ระเบียบบริหารงานในหน้าที่กรรมการสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๘”
ข้อ ๒ ตั้งแต่วันใช้ระเบียบนี้ ให้ยกเลิกบรรดากฏข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งอื่น ในส่วนที่ได้วางไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งแย้งกับระเบียบนี้
ข้อ ๓ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๔ คำว่า “กรรมการสงฆ์” ในระเบียบนี้ หมายถึงคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดหรืออำเภอ และกรรมการสงฆ์จังหวัดหรืออำเภอประจำองค์การ
ข้อ ๕ หน้าที่กรรมการสงฆ์ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนดังนี้
(๑) หน้าที่คณะกรรมการสงฆ์จังหวัดหรืออำเภอ
(๒) หน้าที่กรรมการสงฆ์จังหวัดหรืออำเภอประจำองค์การ
คณะกรรมการสงฆ์จังหวัด
ข้อ ๖ คณะกรรมการสงฆ์จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) มีอำนาจหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในกฏหมาย สังฆาณัติ กติกาสงฆ์ กฏองค์การ ระเบียบหรือคำสั่งทางคณะสงฆ์ ซึ่งกำหนดไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสงฆ์
(๒) กิจการอย่างใด แม้ได้ระบุไว้ ว่าเป็นหน้าที่ของกรรมการสงฆ์ประจำองค์การใดโดยเฉพาะ แต่ว่ากิจการนั้นมีลักษณะสำคัญเช่นเป็นงานใหม่ก็ดี เป็นกิจการที่จะพึงให้ถือเป็นระเบียบเดียวกันก็ดี เป็นกิจการเกี่ยวกับการได้การเสียแก่คนหมู่มากก็ดี หรือเป็นกิจการเกี่ยวกับนโยบายก็ดี ต้องนำเข้าปรึกษาในที่ประชุมคณะกรรมการสงฆ์ก่อน
(๓) การพิจารณาเรื่องที่ขออนุมัติ เพื่อเบิกจ่ายเงินของวัดในส่วนภูมิภาค (เว้นจังหวัดพระนครและธนบุรี) หากมิใช่เป็นการรีบด่วน ก็ให้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสงฆ์พิจารณา แม้อนุมัติไปด้วยความรีบด่วน ก็ให้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสงฆ์รับทราบ
(๔) ขวนขวายเพื่อจัดตั้งสำนักศาสนาศึกษาปริยัติธรรม ให้พอเหมาะแก่ท้องถิ่นนั้นๆ
(๕) พิจารณาการขอบรรจุครูสอนพทระปริยัติธรรมในสำนักต่างๆ ในเขตปกครองของตน
(๖) พิจารณาเรื่องกำหนดสถานที่สอนธรรมบาลี
(๗) รายงานการสอบไล่ และการตรวจข้อสอบธรรมประจำปี
(๘) จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสงฆ์ เป็นคราวๆ จะเป็นเดือนละครั้งหรือสองสามเดือนต่อครั้ง ก็สุดแต่ที่ประชุมจะกำหนดและทุกคราวที่มีการประชุม ต้องทำรายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐานและประธานในที่ประชุมต้องลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญในเมื่อที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมแล้ว
(๙) พิจารณาแบ่งเงินค่าเครื่องเขียนให้อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดของตน
(๑๐) กิจการใดที่มิได้รวมไว้ในที่นี้ ถ้ามีลักษณะเกี่ยวเนื่องกันในระหว่างองค์การ ให้เป็นหน้าที่ของคณกรรมการสงฆ์พึงปฏิบัติ
กรรมการสงฆ์จั้งหวัดประจำองค์การ
๑. องค์การปกครอง
ข้อ ๗ เจ้าคณะจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) มีอำนาจตามที่ระบุไว้ในกฏหมาย สังฆาณัติกติกาสงฆ์ กฏองค์การ ระเบียบ หรือคำสั่งทางคณะสงฆ์ ซึ่งมีกำหนอไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าคณะจังหวัด
(๒) ตรวจตราดูแลภิกษุสามเณรในเขตจังหวัดของตน ให้ปฏิบัติตามธรรมวินัย กฏหมายสังฆาณัติ กฏิกาสงฆ์กฏองค์การ ระเบียบ หรือคำสั่งทางคณะสงฆ์
(๓) ควบคุมดูแลให้วัดทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติในศาสนกิจ และกิจวัตรด้วยดี
(๔) จัดทำบัญชีสำรวจภิกษุสามเณรประจำปีส่งตามระเบียบ
(๕) ลงลายมือชื่อในใบรับรองนักธรรมตามระเบียบ
(๖) ลงลายมือชือในหนังสือสุทธิ รับรองการสอบไล่นักธรรมบาลีได้ในสนามหลวง
๒. องค์การศึกษา
ข้อ ๘ ศึกษาจังหวัด มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจตราส่งเสริมสำนักศาสนศึกษาให้ดำรงอยู่ด้วยดี และให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
(๒) ขวยขาวยในการจัดหาครูให้สำนักนั้น ๆ ตามสมควร
(๓) จัดการอบรมศึกษาอำเภอ และอบรมครูเป็นคราว ๆ
(๔) ตรวจตราครูและนักเรียน ให้ได้มีการสอนการเรียนเป็นกิจลักษณะ
(๕) แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เกี่ยวกับการศึกษา
(๖) จัดทำบัญชีขอเข้าสอบความรู้ธรรมบาลีในสนามหลวงส่งตามระเบียบ
(๗) จัดทำทะเบียนสำมะโนครัวนักธรรม และธรรมศึกษาเพื่อส่งและเก็บรักษาไว้ตามระเบียบ
(๘) รับนักธรรม-บาลีเข้าบัญชีทะเบียน
(๙) รายงานการศึกษาปริยัติธรรมประจำปี
(๑๐) จัดทำบัญชีสำรวจครูนักเรียนและโรงเรียนปริยัติธรรมประจำปีส่งตามระเบียบ
(๑๑) กิจการใดที่มิได้ระบุไว้ในที่นี้ ถ้ามีลักษณะเกี่ยวกับการศึกษา ให้เป็นหน้าที่ของศึกษาจังหวัดพึงปฏิบัติ
๓. องค์การเผยแผ่
ข้อ ๙ เผยแผ่จังหวัด มีหน้าที่ดังนี้
(๑) อบรมภิกษุสามเณรให้มีสมณสัญญา และอบรมในเรื่องจรรยามรรยาท ตลอดถึงการปฏิบัติอันเกี่ยวกับพิธีหรือแบบอย่างต่าง ๆ
(๒) อบรมการทำวัตรสวดมนต์ ให้เป็นไปโดยระเบียบเรียบร้อย
(๓) หาอุบายวิธีให้ได้ยินได้ฟังโอวาทคำสั่งสอนหรือคำแนะนำที่เป็นประโยชน์
(๔) แนะนำสั่งสอนประชาชนให้เข้าใจในศาสนพิธีและการปฏิบัติ
(๕) เทศนาสั่งสอนอบรมประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม และให้ได้ยินได้ฟังเรื่องที่เกี่ยวกับพระศาสนาโดยถูกต้อง
(๖) หาอุบายวิธีสะกดกั้นสัทธรรมปฏิรูปมิให้เกิดขึ้น หรือบำบัดที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปโดยทางที่ชอบ
(๗) ขวนขวายเพื่อให้ศิษย์วัดมีความรู้ในเรื่องพระศาสนาและอบรมในทางศีลธรรม มีการไหว้พระสวดมนต์เป็นต้น
(๘) ขวนขวายจัดตั้งห้องสมุด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาธรรม-บาลี หรือเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน หรือขวนขวายจัดหาหนังสือที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปบ้าง ที่เกี่ยวกับไหว้พระสวดมนต์บ้าง ที่เกี่ยวกั้บศีลธรรมบ้าง ที่เกี่ยวกับประวัติพระบ้าง เพื่อให้ผู้รักษาศีลฟังธรรมตามวัดต่าง ๆ ได้ท่อง ได้อ่าน ได้ฟัง ตามควรแก่สถานที่และโอกาส
(๙) ขวนขวายจัดหาเครื่องอุปกรณ์ในการเรียนภาษาไทยบางประเภทสำหรับชั้นประถมขึ้นไว้ เพื่อให้เด็กที่ขัดสนยืมใช้ในการเรียน
(๑๐) กิจการใดที่มิได้ระบุไว้ในที่นี้ ถ้ามีลักษณะเกี่ยวกับการเผยแผ่ ให้เป็นหน้าที่ของเผยแผ่จังหวัดพึงปฏิบัติ
๔. องค์การสาธารณูปการ
ข้อ ๑๐ สาธารณูปการจังหวัด มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ตรวจตราดูแลวัดในเขตจังหวัดของตน เห็นส่วนใดยังไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ก็ควรแนะนำให้จัดให้ทำให้เรียบร้อย
(๒) และนำให้ทำให้แก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้องสุขลักษณะ ให้เป็นไปถูกต้องตามสุขลักษณะ
(๓) แนะนำให้สนใจที่จะทำสิ่งซึ่งไม่สามารถจะทำได้ในทันที ในโอกาสที่สามารถ
(๔) ช่วยเหลือแนะนำควบคุมแบบแปลน แผนผัง และการก่อสร้างของวัดตามแบบสาธารณูปการ
(๕) ช่วยเหลือแนะนำในการจัดทำแผนผังของวัด
(๖) ตรวจตราแนะนำในเรื่องบัญชีรับ-จ่ายเงินผลประโยชน์ของวัด หรือเงินการกุศลเป็นคราว ๆ ให้เป็นไปโดยถูกต้อง
(๗) ต้องสอดส่องดูและผลประโยชน์ของวัด อันเกิดจากที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ ให้เป็นไปโดยเหมาะสม และตรวจที่วัดและที่ธรณีสงฆ์หรือที่วัดร้างว่า ควรจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง
(๘) ช่วยเหลือแนะนำในการทำบัญชีครุภัณฑ์ลหุภัณฑ์ของวัดขึ้นไว้เป็นหลักฐาน
(๙) ช่วยเหลือแนะนำในการที่จะจัดให้มีโฉนดที่ดินของวัดขึ้นไว้เป็นหลักฐาน
(๑๐) วัดใดจะมีงานเป็นการประจำปีก็ดี เป็นการพิเศษก็ดี ต้องสอดส่องกวดขันอย่าให้มีการเล่นที่อุจจาดลามกหรืออบายมุข เช่น การพนันเข้าแทรกแซงเป็นอันขาด
(๑๑) กิจการใดที่มิได้ระบุไว้ในที่นี้ ถ้ามีลักษณะเกี่ยวกับสาธารณูปการ ให้เป็นหน้าที่ของสาธารณูปการจังหวัดพึงปฏิบัติ
คณะกรรมการสงฆ์อำเภอ
ข้อ ๑๑ หากมิได้มี่ข้อกำหนดเป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการสงฆ์อำเภอปฏิบัติ ตามอำนาจหน้าที่คณะกรรมการสงฆ์จังหวัด โดยอนุโลม
กรรมการสงฆ์อำเภอประจำองค์การ
ข้อ ๑๒ หากมิได้มีข้อกำหนดเป็นอย่างอื่น ให้กรรมการสงฆ์อำเภอประจำองค์การ ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่กรรมการสงฆ์จังหวัดประจำองค์การโดยอนุโลม
หมวดเบ็ดเตล็ด
ข้อ ๑๓ หนังสือราชการของกรรมการสงฆ์ โดยปรกติให้ออกในนามของคณะกรรมการสงฆ์ ส่วนการลงชื่อในหนังสือนั้น โดยปรกติ ถ้าเป็น
(๑) กิจการในหน้าที่คณะกรรมการสงฆ์ หรือในหน้าที่องค์การปกครอง เจ้าคณะจังหวัดหรือเจ้าคณะอำเภอลงชื่อ แล้วแต่กรณี
(๒) กิจการในหน้าที่กรรมการสงฆ์ประจำองค์การอื่น กรรมการสงฆ์ประจำองค์การนั้นแล้วแต่กรณี และให้ผู้ลงชื่อนั้นบอกตำแหน่งและบอกว่าลงชื่อแทน
ข้อ ๑๔ ให้เจ้าคณะตรวจการจัดการมอบหมายหน้าที่การงานตามระเบียบนี้ ให้เสร็จสิ้นภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันประกาศใช้ระเบียบนี้เป็นต้นไป และให้ควบคุม สั่งการ แนะนำชี้แจงวิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘
พระเทพเวที
สังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่
รักษาการแทนสังฆนายก
[1] ลงในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๓๓ เดือนเมษายน – มิถุนายน ๒๔๘๘