ข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสังฆสภา พุทธศักราช ๒๔๘๕

ข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสังฆสภา

พุทธศักราช ๒๔๘๕[1]

——————

       อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ สังฆสภาจึงตั้งข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี

หมวดที่ ๑
การเลือกประธานและรองประธานสังฆสภา

        ข้อ ๑ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชทรงเปิดประชุมตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์แล้ว ก่อนอื่นให้สมาชิกดำเนินการเลืกตั้งประธานชั่วคราว จนกว่าสมเด็ดพระสังฆราชจะไดทรงตั้งประธานและรองประธานตามมติของสภา

        ข้อ ๒ วิธีเลือกประธานนั้น ให้มีการสเสนอชื่อสมาชิกที่สมควรแก่ต่ำแหน่ง โดยมีสมาชิกรับรอง ๒ รูป ชื่อที่เสนอนั้นไม่จำกัดจำนวน และให้เลือกประธานจากชื่อเหล่านั้นโดยวิธีเขียนชื่อ เมื่อได้เลือกแล้ว ให้เลขาธิการประกาศคะแนนต่อที่ประชุม รูปไดได้คะแนนสูงสุด รูปนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้าได้คะแนนสูงสุดเท่ากันหลายชื่อ ให้เลือกใหม่เฉพาะชื่อที่ได้คะแนนเท่ากัน

        ในการนับคะแนนนั้น ให้เลขาธิการนิมนต์สมาชิกไม่น้อยกว่า ๒ รูปมาร่วมรู้เห็นด้วย

        ถ้ามีการแสดงชื่อประธานแต่ละรูป ให้รูปนั้นได้รับเลือกโดยมิต้องเขียนชื่อลงคะแนน

        ข้อ ๓ วิธีเลือกรองประธานนั้น ให้อนุโลมตามวิธีเลือกประธาน แต่ถ้าที่ประชุมลงมติให้มีรองประธานหลายรูป ให้เลือกรูปที่ ๑ ก่อน แล้วจึงเลือกรูปที่ ๒ ที่ ๓ ฯลฯ เป็นลำดับไป

หมวด ๒
หน้าที่และการดำเนินงานในสังฆสภา

        ข้อ ๔ ประธานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ

             ก. เป็นประธานในที่ประชุม

             ข. ดำเนินกิจการของสภาตามพระราชบัญญัตติคณะสงฆ์

             ค. บังคับการงานในสภา

             ง.เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก

        ข้อ ๕ หน้าที่ต่อไปนี้ ประธานอาจมอบไห้เจ้าหน้าที่กองเลขาธิการสภาเป็นผู้ปติบัติ คือ

             ก. นัดประชุมสมาชิก

             ข. แจ้งระเบียบและหนังลือทั้งปวงต่อที่ประชุมสมาชิก

             ค. จดรายงานการประชุมตามถ้อยคำที่อภิปรายทั้งสิ้น

             ง. รักษาสรรพเอกสารของสภา

        ข้อ ๖ รองประธาน ๑ ที่ มีหน้าที่ช่วยประธานในกิจกการทั่วไป เป็นผู้ทำการแทนประธานเมื่อตำแหน่งประธานว่างลง หรือเมื่อประธานไม่อยู่ และเป็นประธานในที่ประชุม เมื่อประธานมอนหมาย

        ถ้ารองประธาน ๑ ไม่อยู่ หรือไม่สามารถทำการแทนประธานได้ ก็ให้รองประธานรูปที่ ๒ ที่ ๓ ฯลฯ ทำหน้าแทนตามลำดับ

หมวดที่ ๓
การประชุม

        ข้อ ๗ การนัดประชุม ต้องออกหน้งสือนัด แต่ถ้าบอกนัดในที่ประชุมแล้ว ก็ให้ออกหน้งสือนัดเฉพาะผู้ที่มิได้มาประชุมในเวลานั้น

        โดยปกติให้นัดล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๓ วัน หากเป็นการด่วน จะนัดเร็วกว่านี้ก็ได้

        ข้อ ๘ การนัดประชุมนั้น ให้ส่งระเบียบว่าระแห่งการประชุมด้วย เว้นแต่เป็นการด่วน

        ข้อ ๙ สมาชิกที่มาประชุมต้องลงนามในสมุดชึ่งจัดไว้เมื่อมีสัญญานให้เข้าห้องประชุม ให้นั่งตามที่

        ข้อ ๑๐ โดยปกติประธานเป็นผู้สั่งปิดประชุม แต่เมื่อประธานลุกจากที่โดยมิได้มีคำสั่งอย่างใดแล้ว ให้ถือว่าปิดประชุม

        ข้อ ๑๑ เมื่อประธานมีเรืองที่ควรแจ้งให้ผู้ประชุมทราบก่อนเริ่มปรึกษาตามระเบืยบว่าระ ก็ให้แจ้งต่อที่ประชุม

        ข้อที่ ๑๒ การตั้งระเบียบว่าระนั้น โดยปกติให้ตั้งตามลำดับ ดังนี้

             ก. รับรองรายงานการประชุม

             ข. การด่วน

             ค. ญัตติร่างสังฆาณัติที่ค้าง

             ง. ญัตติร่างสังฆาณัติใหม่

             จ. ญัตติอื่น ๆ

        ข้อ ๑๓ โดยปกติให้ดำเนินการประชุมตามรเบียบวาระเว้นแต่ที่ประชุมจะตกลงเป็นอย่างอื่นในคราวนั้น

        ข้อ ๑๔ ถ้าประธานเห็นว่า ได้มีการประชุมกันเป็นเวลานาน สมควรจะหยุดพักเสียชั่วคราว ก็สั่งให้หยุดได้

        ข้อ ๑๕ รายงานการประชุมซึ่งคณะกัมมาธิการเจ้าหน้าที่ได้ตรวจแล้วนั้น ให้ทำสำเนาอย่างน้อย ๓ ฉบับ และวางให้สมาชิกตรวจดูได้ก่อนเวลาประชุมอย่างน้อย ๓ ชั่วโมง สมาชิกรูปได้ต้องการแก้ถ้อยคำของตน ต้องได้รับอนุญาตจากสภาก่อน

        ข้อ ๖ เมื่อสภาได้รับรองรายงานการประชุมนั้นแล้วให้ประธานหรือรองประธานลงนามไว้เป็นสำคัญ รายงานการประชุมของสภาสมัยก่อนซื่งยังไม่ได้รับรองให้ประธานสภาสมัยปัจจุบันเป็นผู้ลงนามรับรอง

หมวดที่ ๔
ข้อเสนอและญัตติ

        ข้อ ๑๗ ในที่ประชุมสภา สมาชิกย่อมตั้งข้อเสนอเกี่ยวแก่การดำเนินการประชุมของสภาได้ในกรณีต่อไปนี้ โดยมีสมาชิกรับรอง ๑รูป คือ

             ก. ข้อเสนอขอให้รับรองรายงานการประชุม

             ข. ข้อเสนอขอให้รับรองรายงานของกัมมาธิการ

             ค. ข้อเสนอขอให้ปรึกษาเป็นการด่วน หรือข้อเสนอที่ประธานเห็นว่าควรอนุญาต

             ง. ข้อเสนอดังที่ได้กำหนดไว้ในข้อ ๑๘

        ข้อ ๑๘ เมื่อที่ประชุมกำลังอภิปรายญัตติใดญัตติหนึ่ง ห้ามมิให้สมาชิกตั้งข้อเสนอจาก

             ก. ข้อเสนอขอแปรญัตติฉเพาะที่มิใช่สังฆาณัติ

             ข. ข้อเสนอขอให้ส่งปัญหาไปยังกัมมาธิการ

             ค. ข้อเสนอขออย่าเพิ่งลงมติในญัตตินั้น เพื่อให้อภิปรายกันต่อไป

             ฆ. ข้อเสนอขอให้เลื่อนการประชุม

             ง. ข้อเสนอขอให้ที่ประชุมลงมติ

             จ. ข้อเสนอขอให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา

        ถ้าที่ประชุมตกลงตามนี้ไซร้ ญัตติเดิมเป็นอันระงับไป

        ข้อที่ ๑๙ ญัตติร่างสังฆาณัตินั้น ต้องแบ่งเป็นมาตรา และให้มีบันทึกข้อความดังต่อไปนี้

             ก. หลักการของร่างสังฆาณัติ

             ข. คำชี้แจงแสดงเหตุผลว่า มีความจำเป็นอย่างไรจึงต้องบัญญติสังฆาณัตินั้น

        เมื่อประธานได้รับบัญญัติร่างสังฆาณัติที่เสนอมานั้น และตรวจเห็นถูกต้องตามข้อบังคับแล้ว ให้ส่งสำเนาแก่สมาชิกล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ วัน ก่อนวันนัดประชุม เว้นแต่เป็นการด่วน

        ข้อ ๒๐ ตามปรกติ ที่ประชุมจะต้องพิจารณาญัตติร่างสังฆาณัติเป็น ๓ วาระ

เมื่อคณะสังฆมนตรีหรือกระทรวงศึกษาธิการร้องขอ ที่ประชุมจะพิจารนาร่างสังฆาณัตินั้นทั้ง ๓ วาระรวดเดียวก็ได้

        ข้อที่ ๒๑ ในการพิจารณาวาระที่ ๑ ให้ที่ประชุมลงมติว่า ควรจะรับหลักการแห่งร่างสังฆาณัตินั้นไว้พิจารณาหรือไม่

        ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านในหลักการ หรือมีผู้คัดค้าน แต่ที่ประชุมลงมติไม่เห็นชอบตามคำคัดค้านนั้น ก็ให้ถือว่าที่ประชุมยอมรับร่างสังฆาณัตินั้นไว้ปรึกษาต่อไป ให้ประธานส่งต้นร่างสังฆาณัตินั้นไปให้คณะกรรมาธิการเจ้าหน้าที่พิจารโดยละเอียดและทำรายงานเสนอประธานภายในเวลาที่สภากำหนดให้ เว้นแต่ที่ประชุมจะตกลงเป็นอย่างอื่น

        ถ้ามีผู้เสนอว่า ญัตตินั้นเป็นการตีความพระธรรมวินัยตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัตติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ก็ดี เป็นการขัดกับพระธรรมวินัย ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัตตินั้นก็ดี ให้ที่ประชุมวินิจฉัยก่อนว่า ญัตตินั้นเป็นการตีความหรือขัดกับพระวินัยหรือไม่

        ข้อ ๒๒ ภายในเวลาที่สภากำหนดให้ สมาชิกรูปใดเห็นควรจะแก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตราใด ให้เขียนคำแก้ไขเพิ่มเติมเป็นแปรญัตติส่งมาเป็นมาตรา ๆ โดยมีสมาชิกรับรอง ๒ รูป ยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการเจ้าหน้าที่หรือผ่านทางเลขาธิการสภาก็ได้

        ข้อบังคับตามความในวรรคก่อน ห้ามมิให้ใช้แก่สังฆมนตรีหรือกระทรวงศึกษาธิการ

        การขอแปรญัตติในร่างสังฆาณัติซึ่งพิจารณารวดเดียวในในวาระที่ ๒ นั้น ไม่ต้องเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต้องมีสมาชิกรับรอง ๒ รูป

        ข้อ ๒๓ คณะกรรมาธิการเจ้าหน้าที่ต้องทำรายงานและบันทึกความเห็นแห่งร่างสังฆาณัติตามร่างเดิม และมาตราที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งสมาชิกส่งมายื่อต่อประธาน และให้ประธานส่งสำเนาร่างและรายงานนั้นแก่สมาชิก โดยปกติไม่น้อยกว่า ๓ วันก่อนวันนัดประชุม เว้นแต่เป็นการด่วน

        ประธานจะขอให้คณะกรรมาธิการเข้าประชุมในสภาด้วย เพื่อแถลงประกอบรายงานหรือแก้ข้อสงสัยต่าง ๆ ของสมาชิกเกี่ยวกับรายงานนั้นก็ได้

        ข้อ ๒๔ ในการพิจารณาในวาระที่ ๒ ให้ปรึกษาเรียงตามลำดับมาตรา เฉพาะมาตราที่มีคำแปรญัตติ หรือมีการแก้ไขเท่านั้น เว้นแต่ที่ประชุมจะลงมติเป็นอย่างอื่น

        ในระหว่างพิจารณาวาระที่ ๒ นั้น ถ้าความปรากฏขึ้นว่า มาตราใดที่ประชุมเห็มสมควรจะส่งให้คณะกรรมาธิการเจ้าหน้าที่ หรือคณะกรรมาธิการอื่นไปพิจารณาอีกก็ส่งได้เหมือนเป็นเช่นนี้ การพิจารณาเฉพาะมาตรานั้น ๆ เป็นอันระงับไป และถ้าไม่เป็นการขัดข้อง ก็ให้ที่ประชุมพิจารณามาตราอื่น ๆ ต่อไปจนกว่าจะจบร่าง

        เมื่อคณะกรรมาธิการได้ยื่นรายงานตามมาตราที่ได้ระงับไว้นั้นแล้ว ให้ประธานจัดการส่งสำเนารายงานนั้นแก่สมาชิกโดยปกติไม่น้อยกว่า ๓ วันก่อนวันนับประชุม

        อนึ่ง ในการประชุมต่อในวาระที่ ๒ ให้ที่ประชุมลงมติเฉพาะมาตราที่ระงับไว้นั้น ๆ จนสิ้น

        ข้อ ๒๕ ในการพิจารณาวาระที่ ๓ ให้ปรึกษาแต่ข้อเดียวว่า ร่างที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมตกลงแล้วนั้น สมควรจะออกเป็นสังฆาณัติได้หรือไม่

        ข้อ ๒๖ ญัตติได้ ๆ ที่สภาพิจารณาไม่เสร็จ  ถ้าเปลี่ยนคณะสังฆมนตรีใหม่ ให้เป็นอันระงับไป เว้นแต่คณะสังฆมนตรีใหม่จะยืนยันเสนอสภาพิจารณา

หมวดที่ ๕
การอภิปราย

        ข้อ ๒๗ สมาชิกรูปใดประสงค์จะกล่าวข้อความขอ้ใดข้อหนึ่งในที่ประชุม ก็ให้ยืนขึ้น ถ้ายืนพร้อมกับหลายรูป ให้ประธานอนุญาตแก่รูปที่ตนเห็นก่อนเป็นผู้พูด เมื่อประธานกล่าวอนุญาตแก่รูใดแล้ว รูปอื่นต้องนั่งลง

        คำพูดที่พูดในที่ประชุม ต้องเป็นคำพูดกับประธานเสนอ

        ประธานต้องให้โอกาสแก่ผู้เสนอ หรือแปรญัตติได้อภิปรายก่อน

        ข้อ ๒๘ เมื่อผู้เสนอหรือแปรญัตติได้อภิปรายแล้ว ให้ประธานถามที่ประชุม ว่าจะมีผู้ใดคัดค้านหรือไม่

        ถ้าไม่มีผู้คัดค้าน ก็ให้ประธานเสนอให้ที่ประชุมลงมติ

        ถ้ามีผู้คัดค้าน ก็ให้ประธานอนุญาตให้ผู้นั้นอภิปราย

        เมื่อผู้คัดค้านพูดจบแล้ว ให้ประธานถามที่ประชุมว่า จะมีผู้ใดประสงค์อภิปรายสนับสนุนหรือแปรญัตติหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ให้ประธานเสนอให้ที่ประชุมลงมติ ถ้ามีก็ให้ปฎิบัติอนุโลมตามความในวรรค ๓ และให้ประธานปฎิบัติการให้ผู้เสนอหรือแปรญัตติและผู้คัดด้าน ได้อภิปรายสลับกันไปโดยอนุโลมตามข้อความที่ได้กล่าวแล้ว บทบังคับดังกล่าวนี้มิให้ใช้แก่สังฆมนตรี หรือคณะกรรมาธิการเจ้าหน้าที่ นายกรัฐนมตรี รัฐนมตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทน ซึ่งเข้าฟังการประชุมตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔

        เมื่อประธานเห็นว่า ได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว จะเสนอให้ที่ประชุมลงมติก็ได้

        ข้อ ๒๙ ในเวลาที่กำลังอภิปรายอยู่นั้น ถ้าประธานเคาะกริ่งสัญญาน ให้สมาชิกที่กำลังพูดหรือจะขอพูด เงียบสงบฟังคำสั่ง

        ข้อ ๓๐ เมื่อประธานเตือนสมาชิกให้เข้าระเบียบ สมาชิกต้องกระทำตามทันที

        ข้อ ๓๑ ห้ามมิให้สมาชิกพูดนานเกินกว่า ๑๕ นาที่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากประธาน ประธานจะอนุญาตได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่าปัญหาที่อภิปรายนั้นมีความสำคัญ

        บทบังคับค้อน ห้ามมิให้ใช้แก่คนะสังฆมนตรี หรือคณะกัมมาธิการเจ้าหน้าที่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้แทน ซึ่งเข้าฟังการประชุมตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช ๒๔๘๔

        ข้อ ๓๒ สมาชิกจะต้องพูดเฉพาะเรื่องที่กำลังปรึกษากันอยู่ จะกล่าวข้อความซ้ำหรือนอกประเด็น และใช้ถ้อยคำผิดสมณสารูปไม่ได้ ถ้าไม่จำเป็น ห้ามมิให้ระบุนามบุคคลใด ๆ

        ข้อที่ ๓๓ เมื่อเห็นว่ามีผู้ทำผิดข้อบังคับ สมาชิกอาจร้องขอต่อประธานให้รักษาข้อบังคับ ก็ได้

        ข้อที่ ๓๔ คำสั่งของประธานในข้อที่ว่า ผิดข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาหรือไม่นั้นเป็นคำสั่งเด็ดขาด ห้ามมิให้ที่ประชุมอภิปราย

        ข้อที่ ๓๕ ผู้เสนอ ผู้ขอแปรญัตติ หรือผู้อภิปราย ย่อมขอถอนคำเสนอ คำแปรญัตติ หรือคำอภิปรายนั้นได้โดยไม่ต้องอภิปราย แต่ต้องขอถอนในที่ประชุม

บทที่ ๖
การลงมติ

        ข้อ ๓๖ วิธีลงมตินั้น ให้กระทำได้ ๓ วิธี คือ

             ก. ยืน ให้ประธานถามที่ประชุมว่า รูปใดเห็นด้วยให้ยืนขึ้น เมื่อพนักงานเลขาธิการสภาตรวจนับคะแนนเสร็จแล้ว ให้ประธานถามต่อไปว่า รูปใดไม่เห็นด้วย ให้ยืนขึ้นแล้วตรวจนับคะแนนตามวิธีที่กล่าวแล้ว

             ข.สอบถามมติสมาชิกเป็นรายรูป โดยขานชื่อ

             ค. ลงบัตร โดยปรกติ รูปที่เห็นด้วยให้ลงบตรสีเหลือง รูปที่ไม่เห็นด้วยให้ลงบัตรสีน้ำเงิน วิธีนี้ให้กระทำในเมื่อคณะสังฆมนตรี หรือกระทรวงศึกษาธิการ หรือสมาชิกเห็นร่วมกันไม่น้อยกว่า ๔ รูปร้องขอ ให้เรียกชื่อสมาชิกลงนามบัตรต่อหน้าประธาน

        ข้อ ๓๗ ถ้าปัญหามีความสลับซับซ้อนเป็นที่เข้าใจยาก ประธานหรือที่ประชุมอาจแยกออกลงมติเป็นตอน ๆ ก็ได้

        ข้อ ๓๘ เมื่อประธานถามข้อความใด ๆ ต่อที่ประชุมว่า จะคัดค้านหรือไม่ ถ้าไม่มีผู้คัดค้าน ให้ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบด้วย

        ข้อ ๓๙ เมื่อได้ลงมติแล้ว ประธานจะได้ประกาศคะแนนเสียงต่อที่ประชุม เป็นอันว่าการลงมตินั้นเสร็จแล้ว

หมวดที่ ๗
คณะกรรมาธิการ

        ข้อ ๔๐ เมื่อเปิดสมัยประชุมคราวหนึ่ง ให้ที่ประชุมเลือกตั้งคณะกรมาธิการสามัญประจำไว้เป็นแผนก มีจำนวนตามความต้องการแห่งกิจการของสภา

        ข้อ ๔๑ เมื่อมีกิจการพิเศษ ที่ประชุมอาจลงมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาหรือสอบสวนข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะก็ได้

        ข้อ ๔๒ การเลือกกรมาธิการตามควาในข้อ ๔๐ และ ๔๑ นั้น ต้องมีสมาชิกเสนอชื่อโดยมีสมาชิกอื่นรับรอง ๑ รูป การเลือกให้อนุโลมตามความในข้อ ๒

        ข้อ ๔๓ การนัดประชุมคณะกรรมาธิการ ให้เป็นหน้าที่ของเลขาธิการสภา

        ให้กรรมาธิการแต่ละคณะเลือกตั้งกันเอง เป็นประธานรูปหนึ่ง และเลขานุการรูปหนึ่งจากบรรดากรรมาธิการในคณะนั้น

        การประชุมคณะกรรมาธิการทุกคราว ต้องมีกรรมาธิการเข้าประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวน จึงเป็นองค์ประชุมได้

        คณะกรรมาธิการมีอำนาจนิมนต์พระภิกษุใด ๆ หรือเชิญผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ มาชี้แจงแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือพิจารณาอยู่นั้นได้

        ข้อ ๔๔ เมื่อประธาน คณะสังฆมนตรี หรือกระทรวงศึกษาธิการร้องขอ สภาอาจลงมติให้คณะกรรมาธิการดำเนินกิจการของสภานอกสมัยประชุมได้

        ข้อ ๔๕ สมาชิก สังฆมนตรีที่ไม่ได้เป็นสมาชิก หรือผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ มีสิทธิเข้านั่งฟังการประชุมของคณะกรรมาธิการได้ทุกเมื่อ

        ผู้มีสิทธิเข้านั่งฟังการประชุมนั้น ย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นได้ เมื่อคณะกรรมาธิการร้องขอ แต่ไม่มีสิทธิลงมติ

        ข้อ ๔๖ ผู้เสนอหรือแปรญัตติใด ๆ จะเป็นคณะสังฆมนตรีหรือสมาชิกก็ตาม ย่อมเข้าประชุมและชี้แจงแสดงความคิดเห็นในคณะกรรมาธิการได้ แต่ไม่มีสิทธิลงมติ

        เมื่อนัดประชุมคณะกรรมาธิการคราวใด ให้เลขาธิการสภาแจ้งต่อคณะสังฆมนตรี สมาชิกผู้เสนอหรือแปรญัตติ หรือผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ทราบล่วงหน้าด้วยทุกคราวไป

        ถ้าสมาชิกผู้แปรญัตติหรือผู้รับรองคำแปรญัตตินั้น มิได้ไปชี้แจงแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการ ห้ามมิให้ผู้แปรญัตติอภิปรายในคำแปรญัตตินั้นในสภา

หมวดที่ ๘
ความผิด

        ข้อ ๔๗ สมาชิกรูปไดกระทำดังต่อไปนี้ ชื่อว่าประพฤติผิดข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสังฆสภา คือ

             ก.แสดงกายกรรมหรือวจีกรรมอันไม่สมควรแก่ภาวะของสมณะในที่ประชุม

             ข.ขัดคำสั่งอันชอบของประธาน

        ข้อ ๔๘ ถ้าประธารขานชื่อกล่าวโทษสมาชิกผู้กระทำผิดข้อบังคับ ที่ประชุมอาจลงมติลงทัณฑกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

             ก. ตำหนิความผิดหรือภาคทัณฑ์

             ข. ให้ขอขมา

             ค. มิให้อภิปรายหรือตั้งข้อเสนอใดๆ ในที่ประชุมตลอดเวลาประชุมวันนั้น

        ข้อ ๔๙ ในกรณีนี้ที่สมาชิกต้องหาว่า กระทำการอันอาจเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติ์แห่งสังฆสภา หรือต้องหาในอธิกรณ์อันร้ายแรง ให้ที่ประชุมลงมติแต่เพียงว่า ควรให้ผู้ถูกกล่าวหาออกจากสมาชิกภาพหรือไม่

        ข้อ ๕๐ สมาชิกผู้ถูกกล่าวหา มีสิทธิจะแถลงในที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ

หมวดที่ ๙
เบ็ตเตล็ด

        ข้อ ๕๑ เมื่อมีปัญหาโต้เถียงเกี่ยวกับการประชุม และการปรึกษาซึ่งมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้ถือมติของที่ประชุมเป็นคำตัดสินเด็ดขาด

        ข้อ ๕๒ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ ตั้งแต่วันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป

        ข้อ ๕๓ ให้ประธานสังฆสภารักษาการตามข้อบังคับนี้โดยเคร่งครัดทุกประการ

        ประกาศ ณ วันที่ ๒๖  มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๔๘๕

สมเด็จพระวันรัต

ประธานสังฆสภา


            [1] ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๓๐ ภาคพิเศษ ฉบับที่ ๓ : ๑๕ สิงหาคม ๒๔๘๕ หน้า ๘-๒๒