ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๑

ระเบียบมหาเถรสมาคม

ว่าด้วยการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด

พ.ศ. ๒๕๔๑[1]

—————-

        อาศัยอาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาเถรสมาคมวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

        ข้อ ๑. ระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ เรียกว่า “ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๑”

        ข้อ ๒. ระเบียบมหาเถรสมาคมนี้  ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เป็นต้นไป

        ข้อ ๓. .ในระเบียบนี้

        “การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี” หมายความว่า การศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์”

        “โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งจัดให้มีการเรียนการสอนตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นตามเกณฑ์กำหนดในจังหวัดนั้น ๆ

        “ผู้จัดการ” หมายความว่า เจ้าอาวาสวัดซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดแห่งนั้น ๆ หรือพระภิกษุที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

        “อาจารย์ใหญ่” หมายความว่า พระภิกษุผู้บริหารการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด

        ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด ประกอบด้วยเจ้าคณะจังหวัด เป็นประธานคณะกรรมการ รองเจ้าคณะจังหวัด เป็นรองประธานคณะกรรมการ เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอของจังหวัดนั้น เป็นกรรมการ โดยมีเจ้าคณะใหญ่ เป็นประธานคณะที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เป็นคณะที่ปรึกษา

        ข้อ ๕ การจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด ให้ผู้จัดการยื่นหนังสือพรอมทั้งแบบขอจัดตั้งตามแบบของกรมการศาสนา เสนอคณะกรรมการการศึกษาพะรปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด พิจารณาให้เสร็จก่อนวันวิลาขบูชา แล้วนำเสนอแม่กองบาลีสนามหลวง เพื่อนำเสนอมหาเถรสมาคมอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้แก่กองบาลีสนามหลวงออกใบประกาศจัดตั้งบและแจ้งกรมการศานาทราบ

        ข้อ ๖ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด ประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

             ๖.๑ เป็นสำนักศาสนศึกษา ที่มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีนักเรียนส่งเข้าสอบและสอบได้ประโยคบาลีสนามหลวงติดต่อกัน ๓ พ.ศ. ขึ้นไป

             ๖.๒ เป็นสำนักศาสนศึกษา ที่มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี  ตั้งแต่ชั้นบาลีไวยากรณ์ ถึงชั้นเปรียญธรรม ๔ ประโยค

             ๖.๓ มีครู-อาจารย์ ผู้ดำเนินการสอนครบทุกชั้นประโยค

             ๖.๔ มีนักเรียนเจ้าสอบประโยคบาลีสนามหลวง ตั้งแต่ชั้นประโยค ๑-๒ ถึงชั้น เปรียญธรรม ๔ ประโยค ไม่น้อยกว่า ๒๐ รูป มีผลการสอบได้ของนักเรียนมากพอสมควร

             ๖.๕ มีอาคารเรียนเป็นสัปปายะ

             ๖.๖ มีบุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้จัดการ อาจารย์ใหญ่ ครู นักเรียน

        ข้อ ๗ ในจังหวัดเดียวกัน ถ้ามีสำนักศาสนศึกษาที่มีคุณสมบัติครบตามข้อ ๖ ให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด……………….แห่งที่ ๑ -๒ – ๓ ตามลำดับการจัดตั้ง

        ข้อ ๘ จังหวัดที่มีนักเรียนน้อย จะรวมกันหลายจังหวัดจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งเดียวกัน โดยชื่อว่าโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด (ใส่ชื่อจังหวัดทุกจังหวัดที่รวมกันจัดตั้งต่อท้าย) ก็ได้ โดยให้เจ้าอาวาสวัดที่โรงเรียนนั้นตั้งอยู่ หรือพระภิกษุที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นผู้จัดการ

        ข้อ ๙ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจังหวัดแห่งใด ที่มีจำนวนนักเรียนเข้าสอบ และผลการสอบได้ของนักเรียนลดต่ำลงเกินควรติดต่อกันเวลา ๓ ปี ให้ยกเลิกสถานะของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดแห่งนั้น โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม

        ข้อ ๑๐ โรงเรียนพระปริยัติธรรมประจำจังหวัด ที่ถูกยกเลิกสถานะแล้ว วัสถุ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้มาจากการจัดสรรหรืองบประมาณอุดหนุน ให้อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดดำเนินการ

        ข้อ ๑๑ เพื่อให้การดำเนินงาน และการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ ให้แม่กองบาลีสนามหลวงออกข้อบังคับ วางระเบียบ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ หรือประกาศมหาเถรสมาคม

        ประกาศ ณ วันที่ ๑ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

สมเด็จพระญาณสังวร

(สมเด็จพระญาณสังวร)

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม


[1] ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๓ :   ๒๕ มีนาคม  ๒๕๔๒

Views: 59