โครงการเรื่องจัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการ
พ.ศ. ๒๕๑๒
—————-
เนื่องจากการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบันนี้ มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่ โดยทางการเมืองได้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ขึ้นไปและได้ออกกฎกระทรวง ตรากฎหมามหาเถรสมาคม วางระเบียบมหาเถรสมาคม และออกคำสั่งมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับกรณีต่าง ๆ อันเป็นส่วนประกอบของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นั้น นับว่าการแก้ไขปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ตามระบอบใหม่ได้เข้ารูปแล้วตามลำดับ
แม้ได้ปรับปรุงจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใหม่เช่นนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องสำคัญอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงควบคู่กันไปคือ การสร้างเสริมคุณสมบัติของผู้ปกครองวัดและผู้ปกครองคณะเพื่อให้สมบูรณ์ด้วยความรู้ ความฉลาด ความสามารถ และสุปฏิบัติ อันเหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ในการปกครอง วัด และการปกครองคณะ มิเช่นนั้นแล้วระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ที่ได้แก้ไขปรับปรุงใหม่ ก็ไม่อาจอำนวยประโยชน์แก่การคณะสงฆ์และการพระศาสนาโดยสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ จึงสมควรจัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์ขึ้น โดยวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ
(๑) อบรมวิชาการปกครองคณะสงฆ์แก่พระสังฆาธิการทั้งหลายให้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ คือ ความรู้ ความฉลาด ความสามารถ และสุปฏิบัติอันเหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่
(๒) สอนวิชาการปกครองคณะสงฆ์แก่ภิกษุทั้งหลายให้มีความรู้เหมาะสมแก่การที่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการ
ทั้งนี้ โดยมีหลักการและวิธีการดำเนินการดังต่อไป
๑. หลักการ
ข้อ ๑ โรงเรียนพระสังฆาธิการที่ตัดตั้งตามโครงการนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
(๑) โรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง
(๒) โรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค
ข้อ ๒ รงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง ตั้งขึ้นตามมติมหาเถรสมาคม มีกรรมการอำนวยการคณะหนึ่ง เรียกชื่อย่อว่า “คณะกรรมการ อ.ร.ก.” ประกอบด้วยประธาน รองประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๕ ซึ่งมหาเถรสมาคมจะได้แต่ตั้งขึ้นกับเจ้าคณะภาคทุกภาคเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และมีเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่การเลขานุการตามที่คณะกรรมการจะได้แต่งตั้งขึ้น
คณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น นอกจากมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาในโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง ให้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาคด้วย
สถานที่ตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง สุดแต่มหาเถรสมาคมจะกำหนด
ข้อ ๓ โรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค จังหวัดจัดตั้งขึ้นโดยอนุมัติ ของกรรมการอำนวยการโรงเรียนพระสังฆาธิการ ส่วนกลางมีเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นผู้อำนวยการโดยตำแหน่ง และมีกรรมการจัดการคณะหนึ่ง เรียกชื่อย่อว่า “คณะกรรมการ จ.ร.ถ.” ประกอบด้วยเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธาน รองเจ้าคณะจังหวัดเป็นรองประธาน เจ้าคณะอำเภอและรองเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดนั้นเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ถ้าเป็นการสมควรจะให้มีพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน ๕ รูป ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ โดยเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น และมีเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่การเลขานุการ ตามที่คณะกรรมการจะได้แต่งตั้งขึ้น
สถานที่ตั้งโรคงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค สุดแต่เจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดจะกำหนด
ข้อ ๔ การประชุมกรรมการตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการในคณะนั้น ๆ และการตกลงมติข้อปรึกษาในที่ประชุมกรรมการดังกล่าวนี้ ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
ข้อ ๕ กรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งตาม ข้อ ๒ และข้อ ๓ อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ข้อ ๖ โรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง แบ่งการศึกษาออกเป็น ๒ แผนก คือ
(๑) แผนกศึกษาอบรม
(๒) แผนกศึกษาเล่าเรียน
ข้อ ๗ แผนกศึกษาอบรมตามข้อ ๖ มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ให้การศึกษาอบรมแก่พระสังฆาธิการตามหลักสูตรระยะสั้น มีกำหนดเวลาตามที่โรงเรียนกำหนด โยเปิดการอบรมพระสังฆาธิการในระดับชั้นเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และรองเจ้าคณะอำเภอ
(๒) อบรมพระภิกษุซึ่งไดรับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการในระดับชั้นเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และรองเจ้าคณะอำเภอ
ข้อ ๘ แผนกศึกษาเล่าเรียนตามข้อ ๖ มีหน้าที่สอนนักศึกษาตามหลักสูตรระยะยาว มีกำหนดเวลาไม่ต่ำกว่า ๑ ปี โดยรับพระภิกษุซึ่งมีพื้นที่ความรู้และคุณสมบัติตามที่จะได้กำหนดไว้
ข้อ ๙ โรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค มีหน้าที่ดังนี้
(๑) ให้การศึกษาอบรมแก่พระสังฆาธิการตามหลักสูตรระยะสั้น มีกำหนดเวลาตามที่โรงเรียนกำหนด โดยเปิดการอบรมพระสังฆาธิการในระดับชั้นเจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และผู้ช้วยเจ้าอาวาส
(๒) อบรมพระภิกษุซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการในระดับเจ้ารคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส เว้นกรณีที่พระภิกษุซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมีตำแหน่งสูงกว่าเจ้าอาวาสอยู่แล้ว
ข้อ ๑๐ หลักสูตรการศึกษาและวิธีการจัดการศึกษาในโรงเรียนพระสังฆาธิการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลางกำหนดขึ้น โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ข้อ ๑๑ ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลางแผนกศึกษาเล่าเรียนให้ได้รับประกาศนียบัตร ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน พระสังฆาธิการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแผนกสึกษาอบรมให้ได้รับวุฒิบัตร
๒. วิธีการดำเนินการ
ข้อ ๑๒ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ให้จัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง และเปิดแผนกศึกษาอบรมขึ้นก่อน เพื่ออบรมพระสังฆาธิการตามข้อ ๗ (๑) โดยคัดเลือกและจัดแบ่งพระสังฆาธิการจากหน ภาค และจังหวัดต่าง ๆ ออกเป็นรุ่น แต่ละรุนมีจำนวนพอสมควร
ข้อ ๑๓ จังหวัดใดมีพระสังฆาธิการ ซึ่งได้รับการอบรมตาม ข้อ ๑๒ มีจำนวนพอสมควรแล้ว จึงให้ตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดนั้น เพื่ออบรมพระสังฆาธิการตามข้อ ๙ (๑) โดยคัดเลือกและจัดแบ่งพระสังฆาธิการจากอำเภอ ตำบล และวัดต่าง ๆ ในจังหวัดนั้น ออกเป็นรุ่น แต่ละรุ่นมีจำนวนพอสมควร
ข้อ ๑๔ ในการอบรมพระภิกษุ พึงจะได้รับแต่ตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการตามข้อ ๗ (๒) และข้อ ๙ (๒) มีกำหนดเปิดอบรมไม่เกินปีละ ๒ ครั้ง ก่อนเวลาที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ
ข้อ ๑๕ โรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง เมื่อเปิดแผนกศึกษาอบรมแล้ว และถึงเวลาอันสมควร จึงเปิดแผนกศึกษาเล่าเรียนตามข้อ ๘ โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม
ข้อ ๑๖ ค่าใช้จ่ายของโรงเรียนพระสังฆาธิการ ได้รับอุดหนุนจากงานงบประมาณศาสนสมบัติกลาง และเงินที่มีผู้ศรัทธาบริจาค
ข้อ ๑๗ ให้จังหวัดทุกจังหวัด จัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการตามข้อ ๑๓ เริ่มแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ถ้าจังหวัดใดยังไม่พร้อมที่จะจัดตั้งได้ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ ก็ให้จัดตั้งในปีถัดไป แต่ต้องไม่เกิน พ.ศ. ๒๕๑๕
ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวข้างต้น จังหวัดใดควรจะจัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการก่อนหรือหลัง ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด
——————–
Views: 12