คำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง กำหนดเขตอภัยทานในที่วัด พ.ศ. ๒๕๓๘

คำสั่งมหาเถรสมาคม

เรื่อง กำหนดเขตอภัยทานในที่วัด

พ.ศ. ๒๕๓๘[1]

—————-

        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเต็มโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่๒ ) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาเถรสมาคมจึงได้ออกคำสั่งไว้ดังต่อไปนี้

        ข้อ ๑ คำสั่งมหาเถรสมาคมนี้เรียกว่า  คำสั่งมหาเถรสมาคมเรื่องกำหนดเขตอภัยทานในพื้นที่วัด พ.ศ. ๒๕๓๘

        ข้อ ๒  คำสั่งมหาเถรสมาคามนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป

        ข้อ ๓ ตั้งแต่วันใช้คำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ ให้ยกเลิกคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง กำหนดเขตอภัยทานใมนพื้นที่วัด พ.ศ. ๒๕๒๗

        ข้อ ๔ การกำหนดเขตอภัยทานขึ้นไว้ โดยความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยขอสัตว์บก สัตว์น้ำ ตลอดถึงปักษีทวิชาติที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยได้อาศัยด้วยความร่มเย็นเป็นสุ้ขปราศจากการถูกเบียดเบียน หรือรบกวนด้วยประการใดๆ

        ข้อ ๕ การกำหนดเขตอภัยทาน ให้กำหนดในเขตสังฆาวาสและพุทธาวาสหรือในเขตที่อยู่จำพรรษาที่ทางวัดประกาศกำหนดไว้ เป็นเขตรับอรุณในเวลาเข้าพรรษา

        ข้อ ๖ ให้เป็นหน้าที่ของวัดหรือเจ้าอาวาสจะจัดทำป้ายบอกเขตอภัยทานซึ่งมทีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า ๓๐ เซ็นติเมตร และมีขนาดความยาวไม่ต่ำกว่า ๗๐ เซ็นติเมตร และที่แผ่นป้ายนั้นให้มีหนังสือถาวรบอกให้ชัดเจนว่า เขตอภัยทาน

        ข้อ ๗ ในวัดที่ไม่มีแม่น้ำลำคลองผ่านพื้นที่ของวัด ให้ติดแผ่นป้าไว้สุดเขตพื้นที่ตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๔  ทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก หรือทางทิศเหนือ ทิศใต้ สุดแต่ทางวัดจะพิจารณาเห็นว่าทิศใดบ้างเป็นทางสัญจรไปมา ของประชาชน ให้ติดป้ายไว้เพียง ๒ ป้ายก็พอ แต่ถ้าทางวัดเห็นว่าควรจะติดป้ายไว้ทั้ง ๔ ทิศ ก็ย่อมกระทำได้

        ข้อ ๘ ในวัดที่มีแม่น้ำลำคลองผ่านพื้นที่ของวัด ทางหน้าวัดและทางข้างวัด ให้ติดแผ่นป้ายไว้ที่เขตหน้าวัดและหรือเขตข้างวัด แล้วแต่กรณี ไม่ตำกว่า ๒ แผ่นป้าย และให้ติดแผ่นป้ายในเขตบนบกอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะเป็นจำนวนแผ่นป้ายเดียวหรือสองแผ่นป้ายสุดแต่ทางวัดจะพิจารณาเห็นสมควร

        ข้อ ๙ ให้ติดแผ่นป้ายไว้ที่เสาที่ต้นไม้หรือที่อื่นใดอันมั่นคง ไม่สูงเกิน ไม่ต่ำเกิน มีความสูงต่ำพอที่ประชาชนจะเห็นได้โดยสะดวก

        ข้อ ๑๐  เขตอภัยทานบนฝั่งแม่น้ำลำคลอง เป็นเครื่องหมายบอกบ่งให้รู้ว่าภายในแมน้ำลำคลองตลอดเขตอภัยทานนั้น นับจากตลิ่งหรือฝั่งออกไปไม่เกิน ๓ วา ( อุทกเขป) จะเป็นที่อยู่อย่างปลอดภัยของฝูกปลามัจฉาชาตินานาพันธุ์ จะไม่ถูกเบียดเบียนรบกวนด้วยประการใดๆ จากประชาชน  นอกจากนั้น  ยังอาจได้อาศัยอาหารหากินจากผู้มีเมตตากรุณา คือภิกษุสามเณรและประชาชนผู้ใจบุญทั้งหลายตามสมควร

        ข้อ ๑๑ ให้เป็นหน้าที่ของวัดนั้นๆ จะแนะนำชักชวนขอร้องประชาชนในหมู่บ้านนั้น ตำบลนั้นหรือแม้ในที่อื่น ให้เห็นความสำคัญของเขตอภัยทานแล้วให้ความสนับสนุนโดยไม่รบกวนเบียดเบียนสัตว์บกสัตว์น้ำหรือหมู่นกที่อาศัยอยู่ในเขตอภัยทาน

        ข้อ ๑๒ วัดใดที่เขตอภัยทานอยู่บนฝั่งแม่น้ำลำคลอง และมีฝูงปลาอาศัยอยู่ ให้วัดนั้นรายงานไปยังเจ้าคณะตำบลเจ้าสังกัด โดยแจ้งชื้อวัด ตำบล อำเภอ จังหวัด และถ้าจะสามารถแจ้งประเภทปลาแต่ละชนิดได้ให้รายงานด้วย

        เมื้อเจ้าคณะตำบลได้รับรายงานจากเจ้าอาวาสแล้ว ให้จัดทำบัญชีรายชื่อวัดที่ได้รับรายงานนั้นส่งเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัด ให้เจ้าคณะอำเภอส่งบัญชีรายชื่อวัดนั้นไปยังเจ้าคณะเจ้าสังกัด เจ้าคณะจังหวัด ส่งบัญชีนั้นไปยังเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด  และให้รวมไว้ที่เจ้าคณภาค เพื่อประโยชน์แก่การสถิติ

        อนึ่ง การส่งบัญชีวัดไปยังเจ้าคณะภาคเงจ้าสังกัด ถ้าวัดใดในปีต่อๆมามีฝูงปลาอาศัยอยู่ในเขตอภัยทานบนฝั่ง ให้วัดนั้นรายงานตามลำดับจนถึงเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด มิให้เกินเดือนมีนาคมของปีถัดไป

        ข้อ ๑๓ ให้เจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามคำสั่งมหาเถรสมาคมนี้มนการที่จะชี้แจงแนะนำสั่งการแก่เจ้าคณะเจ้าอาวาสในสังกัด หากมีปัญหาในตัวบทหรือในทางปฏิบัติตามคำสั่งมหาเถรสมาคมนี้ให้นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อพิจารณา

        สั่ง ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

(สมเด็จพระญาณสังวร)

สมเด็จพระสงฆราช สกลมหาสังฆปิณายก

ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม


[1]  ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๓ :  ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๘