ตอนที่ ๒
คำขึ้นต้นสรรพนามและคำลงท้าย
————–
การร่างหนังสือราชการหรือหนังสือการคณะสงฆ์ นอกจากจะใช้ถ้อยคำในข้อความ ให้เหมาะสมแล้ว ยังจะต้องใช้คำขึ้นต้น คำลงท้าย สรรพนามให้เหมาะสมกับเจ้าของหนังสือ คือผู้ลงนามและผู้รับ
๑. สำหรับคฤหัสถ์หรือหน่วยราชการใช้



๒. สำหรับพระภิกษุสามเณร

๓. สำหรับพระภิกษุหรือหน่วยงานคณะสงฆ์

ในการใช้คำขึ้นต้น สรรพนาม และคำลงท้ายนั้น บางครั้งใช้ตรงตามตาราง บางครั้งอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
๑. ตามบัญชีหมายเลข ๑ สำหรับคฤหัสถ์และส่วนราชการทำหนังสือติดต่อ บางครั้งหากระบุส่วนราชการจะเหมาะสมกว่า ก็ระบุส่วนราชการ เช่น กรม กระทรวง และสำหรับพระราชวงศ์ที่มีคำนำหน้าพระนาม ตั้งแต่ชั้นพระวรวงศ์เธอขึ้นไป ถ้าจะใช้ตอบรับว่า ได้รับหนังสือแล้ว ใช้ว่า ได้รับลายพระหัตถ์แล้ว เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ใช้ว่า พระราชหัตถเลขา
๒. ตามบัญชีหมายเลข ๒–๓ สำหรับพระภิกษุ หรือหน่วยงานคณะสงฆ์ ใช้ทำหนังสือติดต่อ
๒.๑ กราบทูล ใช้ในกรณีที่ผู้รับหนังสือมีพรรษาสูงกว่าเจ้าของหนังสือ ทูล ใช้ในกรณีที่ผู้รับหนังสือมีพรรษาต่ำกว่าเจ้าของหนังสือ
๒.๒ กราบเรียน ใช้ในกรณีที่ผู้รับหนังสือมีพรรษาสูงกว่าเจ้าของหนังสือ เรียน ใช้ในกรณีที่ผู้รับหนังสือมีพรรษาต่ำกว่าเจ้าของหนังสือ
๒.๓ กรณีที่ผู้รับหนังสือเป็นสมเด็จพระราชาคณะ จะใช้ว่า ขอประทานกราบเรียนแทนคำว่า กราบเรียนหรือ ขอประทานเรียน แทน คำว่า เรียน ก็ได้
๒.๔ บัญชีหมายเลข ๓ (๑) ไม่ปรากฏว่าพระภิกษุสามเณรหน่วยงานการคณะสงฆ์ทำหนังสือขอถวายพระพหรโดยตรง
๒.๕ บัญชีหมายเลข ๓ (๕) ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม
๒.๖ การใช้สรรพนาม ในหนังสือการคณะสงฆ์ หากระบุหน่วยงานจะเป็นการเหมาะสมกว่า ก็ให้ระบุหน่วยงาน เช่น หน ภาค จังหวัด