ส่วนที่ ๑ ลักษณะและวัตถุประสงค์

ส่วนที่ ๑

ลักษณะและวัตถุประสงค์

—————————-

        การประชุมนั้น  แม้จะมีมากก็ตาม  แต่พอสรุปโดยลักษณะเป็น  ๖  คือ

                   ) ประชุมปรึกษาหารือหรือพิจารณาหรือเพื่อรับทราบ

                   ) ประชุมชี้แจง  สั่งการ  มอบงานหรือนโยบาย

                   ) ประชุมอบรมหรือประชุมเชิงวิชาการ หรือเชิงปฏิบัติการ

                   ) ประชุมสัมมนา

                   ) ประชุมปฏิบัติภารกิจ

                   ) ประชุมสังสรรค์หรือสร้างสรรค์ความสามัคคี

        การประชุมทั้ง ๖ ลักษณะนี้  เฉพาะลักษณะที่ ๑ เป็นเรื่องที่จะเรียนถวายในส่วนที่ ๒ เป็นต้นไป  ส่วน ๕ ลักษณะหลัง   ขอชี้แจงประกอบเพียงความหมาย

        ๑) ลักษณะที่ ๒  หมายถึง  การประชุมที่จัดขึ้น

               (๑)  เพื่อแนะนำชี้แจงเรื่องที่ควรแนะนำชี้แจง

               (๒)  เพื่อสั่งการในเรื่องที่ควรสั่งการ

               (๓)  เพื่อมอบงานใด ๆ  ให้รับไปปฏิบัติ

               (๔)  เพื่อให้รับทราบนโยบาย

        ๒) ลักษณะที่ ๓  หมายถึง  การประชุมผู้ใต้บังคับบัญชาหรือกลุ่มชนอื่น

               (๑)  เพื่ออบรมให้ได้รับความรู้ในเชิงวิชาการ

               (๒)  เพื่อฝึกอบรมให้เกิดทักษะในการปฏิบัติการ

        ๓)  ลักษณะที่ ๔  หมายถึง  การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งที่อยู่ในวงงานรับผิดชอบหรือเรื่องโดยทั่วไปเพื่อหาข้อสรุป แต่ผลของการประชุม  เป็นเพียงข้อเสนอแนะ   ผู้เกี่ยวข้องจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้

        ๔)  ลักษณะที่ ๕   หมายถึง การประชุมเพื่อร่วมกันกระทำกรณียกิจ  ทั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบ ทั้งในกรณียกิจทั่วไป

        ๕)  ลักษณะที่ ๖  หมายถึง  การประชุมพบปะสังสรรค์ เพื่อ

               (๑)  เพื่อให้เกิดความสนิทสนมกลมเกลียวกัน

               (๒)  เพื่อให้เกิดพลังแห่งความสมัครสมานสามัคคี

        การประชุมทุกลักษณะ  ย่อมมีวัตถุประสงค์เป็น  ๖  คือ

                   ) เพื่อยุติหรือชี้ขาดปัญหาใด ๆ

                   ) เพื่อรับทราบนโยบาย คำชี้แจง  คำสั่ง  หรือแนวการปฏิบัติงาน

                   ) เพื่อพัฒนาทางวิชาการและการปฏิบัติ

                   ) เพื่อวิจัยข้อมูลและหาข้อสรุป

                   ) เพื่อดำเนินภารกิจในความรับผิดชอบ

                   ) เพื่อสร้างสรรค์ความสามัคคี

        แต่เมื่อย่นให้สั้นลง  คงได้ ๒ คือ

                   ) เพื่อป้องกันความเสื่อม                        ๒) เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า

Hits: 0