บทที่ ๕ การประชุม

บทที่  ๕

การประชุม

—————-

        ในบทนี้   ได้กำหนดเรื่องการประชุมเป็นแม่บท    เพราะพระสังฆาธิการและเลขานุการเจ้าคณะ  ต้องมีความผูกพันอยู่กับการประชุมเป็นอย่างมาก  จำเป็นต้องรู้การประชุมโดยถูกต้องชัดเจน  จนสามารถนำไปใช้ในการบริหารงานคณะสงฆ์ได้  เพราะการประชุมเป็นอุปกรณ์การบริหารงานโดยทั่วไป

        การที่บุคคลหลายคนประกอบกันเข้าเป็นคณะที่ประชุมเพื่อปรึกษาหารือ หรือพิจารณาปัญหาใด ๆ หรือเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ   ชื่อว่า “ที่ประชุม

        การที่คณะบุคคลซึ่งรวมกันเป็นที่ประชุม ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน   มีการเสนอญัตติ-อภิปราย  เป็นต้น  ชื่อว่า “การประชุม

        คำทั้ง ๒ นี้   ใช้อยู่ทั้งในทางราชการ หน่วยงานเอกชน และทางการคณะสงฆ์  โดยใช้รวมกันอยู่โดยตลอด  เช่น  ระเบียบวาระการประชุม  รายงานการประชุม  บันทึกการประชุม มติที่ประชุม    ผู้ศึกษาต้องตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ   เพราะทั้ง ๒ คำนี้มีความหมายและการใช้แตกต่างกันอยู่

        การประชุมเป็นงานที่สำคัญยิ่งต่อการบริหารราชการแผ่นดิน  การปกครองคณะสงฆ์และการบริหารงานอื่น ๆ ในอปริหานิยธรรมสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมะอันเป็นเหตุให้ถึงความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมไว้ ๗ ประการ  ก็ทรงแสดงเรื่องการประชุมไว้เป็นข้อแรก ขอเรียนถวายพอเป็นแนว ๗ ประเด็น คือ ลักษณะและวัตถุประสงค์  องค์ประชุม  การเตรียมการและวิธีประชุม  เอกสารการประชุม  ศัพท์ที่ใช้เฉพาะ และ แบบเกี่ยวกับการประชุม

Views: 14