ส่วนที่ ๕
ศัพท์ที่ใช้เฉพาะในการประชุม
——————-
ในการประชุมโดยทั่วไปนั้น มีศัพท์ที่ใช้ในการประชุมและมีความหมายอันแน่ชัด คือ :-
๑. ญัตติ หมายถึง ข้อเสนอของผู้เข้าประชุมเพื่อพิจารณาลงมติ
๒. ประเด็น หมายถึง ข้อความที่สำคัญ
๓. อภิปราย หมายถึง การปรึกษากันในที่ประชุม ซึ่งได้แก่การกล่าวสนับสนุนหรือโต้แย้งคัดค้านในประเด็นหรือในญัตติ
๔. แปรญัตติ หมายถึง การเสนอขอแก้ข้อความ ตัดทอน หรือเพิ่มในญัตติ
๕. มติ หมายถึง ข้อตกลงกันในญัตติใด ๆ โดยการออกเสียงลงคะแนน ซึ่งแบ่งเป็น ๒ วิธี คือ :-
๕.๑ การออกเสียงคะแนนเปิดเผย
๕.๒ การออกเสียงลงคะแนนลับ
มติที่ประชุมนั้น ตามปกติถือเสียงข้างมากเป็นมติ เว้นแต่จะมีข้อบังคับไว้เป็นอย่างอื่น
๖. มติวินิจฉัย หมายถึง เมื่อการลงมติแล้วมีคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานที่ประชุมจะลงคะแนนเพิ่มให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นั้นคือมติวินิจฉัย
๗. กระทู้ หมายถึง ข้อที่ตั้งถามในสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่คำถามที่สมาชิกสภา ผู้แทนคนใดคนหนึ่งตั้งถามรัฐมนตรีในข้อความใด ๆ จะเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อนโยบายอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรี แต่ในการประชุมทั่วไป มิได้ใช้คำนี้
๘. คณะกรรมาธิการ หมายถึง คณะกรรมการในฝ่ายนิติบัญญัติ
๙. คณะอนุกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการในฝ่ายบริหาร
๑๐. คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการทั่วไป
Hits: 53